ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

5 เหตุผล ทำไมแผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ ป้องกันรถเสียหายจากการชน ?

Placeholder image

 


เรามักคุ้นเคยกับแผงกั้นจราจรทั่วไปที่เห็นตามท้องถนน โดยแผงกั้นจราจรที่คุ้นตามักจะเป็นแผงกั้นที่ทำด้วยเหล็ก แต่จริง ๆ แล้ววัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการจราจรนั้นได้ถูกออกแบบและผลิตแผงกั้นจราจรออกมาหลากหลายแบบมาก

วันนี้ร้านไทยจราจรจะพาเพื่อนผู้อ่านไปรู้จักกับแผงกั้นจราจรที่สามารถบรรจุน้ำลงไปได้ ซึ่งมันมีชื่อเรียกว่า แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ เมื่อพูดชื่อภาษาไทยของมัน หลายคนคงพยายามนึกหน้าตาของเจ้าสิ่งนี้แต่คงนึกไม่ออก แต่หากบอกว่ามันคืออุปกรณ์เดียวกับที่อุปกรณ์ที่เราคุ้นหูว่า แบริเออร์ (Barrier) แบบนี้คงทำให้นึกหน้าตากันออกง่ายขึ้นกว่าเดิมแล้วใช่ไหมครับ?

สำหรับแผงกั้นดังกล่าวนี้ โดยมากจะเป็นอุปกรณ์ที่มีสีบอดี้หรือพื้นผิวเป็นส้มหรือสีแดงสะท้อนแสง มีสีขาวตัดบางช่วง เหตุผลที่เลือกใช้สีโทนสดนี้ก็เพราะต้องการให้มันถูกมองเห็นได้ชัดเจนทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน วัสดุที่นำมาผลิตคือพลาสติกโพลีเอทิลีน (Polyethylene, PE) จุดเด่นสำคัญของวัสดุตัวนี้คือมีความคงทนแข็งแรง เหนียวแน่น แตกหักได้ยาก มีความคงทนต่อทุกสภาพอากาศ เมื่อย้อนกลับไปที่ชื่ออุปกรณ์ คือ แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ นั่นหมายความว่าเราสามารถบรรจุน้ำหรือบางคนก็เลือกบรรจุทรายในปริมาณเหมาะสมเพื่อเสริมความแข็งแรง เป็นการเพิ่มน้ำหนักและช่วยลดอันตรายจากอุบัติเหตุได้อย่างดีเยี่ยม

มีคนส่งคำถามเข้ามาที่ร้านไทยจราจรเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องแผงกั้นตัวนี้ว่าทำไมมันถึงช่วยป้องกันอุบัติเหตุหรือลดแรงกระแทกกรณีรถชนได้ดี ดังนั้นจึงขอสรุปเหตุผลออกมาให้ทั้งหมด 5 ประเด็น คือ แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ สามารถป้องกันการเสียหายของรถยนต์จากการพุ่งเข้าชนหรือกระเด็นมาชนได้อย่างดีเยี่ยม

1. ลดอัตราความเสียหายจากการโดนชน – เพราะมันถูกผลิตจากวัสดุประเภทโพลีเอทิลีน ด้วยจุดเด่นของวัสดุประเภทนี้ที่ช่วยในเรื่องการรองรับแรงกระแทกได้อย่างดี เนื่องจากส่วนประกอบหลักทำมาจากเม็ดพลาสติก มีความคงทน เหนียว ไม่แตกหักเสียหายง่าย มีความยืดหยุ่นในตัว ส่งผลให้เมื่อได้รับแรงกระแทกแรง ๆ ตัวรถยนต์ที่เข้ามากระแทกจะไม่เกิดการพังเสียหาย หากเทียบกับการเข้ามากระแทกกับวัสดุที่ทำจากเหล็ก , คอนกรีต , สแตนเลสหรือไม้ รับรองได้เลยว่ามันคนละเรื่องกันอย่างแน่นอน

2. เพิ่มความแข็งแรงด้วยการบรรจุน้ำหรือทรายเข้าไป – กรณีที่รถยนต์พุ่งมาด้วยความเร็วสูงหากอุปกรณ์รองรับไม่มีความแข็งแรงมากพอ ทั้งน้ำหนักรถและแรงพุ่งของรถย่อมทำให้อุปกรณ์นั้นกระเด็นหรือพังเสียหายได้ง่าย เมื่อกระเด็นไปแล้วนั่นหมายถึงตัวรถไม่มีอะไรรองรับหรือไม่มีอุปกรณ์ใดเป็นตัวช่วยเบรครถ ก็มีโอกาสไถลพุ่งไปไกลเรื่อย ๆ จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงมากกว่าเดิม แต่เมื่อเราเอาน้ำหรือทรายใส่เข้าไปใน แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสม ด้วยน้ำหนักที่เพิ่มเข้าไป มันจึงเปรียบเสมือนเป็นฐานมั่นที่ช่วยจับรถที่กำลังหลุดการบังคับให้หยุดลง เมื่อรถกระเด็นมาถูกเจ้าแผงกั้นจราจรตัวนี้ก็จะไม่พังเสียหายหรือเคลื่อนที่ไปไหนไกล มันจะช่วยรับแรงกระแทกจากรถได้เต็ม ๆ รถก็เสียหายน้อยลง รวมทั้งเป็นการช่วยหยุดรถไม่ให้ไปสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นกับรถคันอื่น ๆ ด้วย

3. การตั้งเรียงตามแนวโค้งหักมุมเพื่อช่วยลดแรงกระแทก – เราสามารถเอาแผงกั้นจราจรประเภทนี้มาตั้งตามแนวทางโค้งหรือแนวทางหักศอกได้ เมื่อเราเอามาตั้งในบริเวณนี้หากรถคันไหนเลี้ยวผิดจังหวะ แรงสะบัดหรือแรงเหวี่ยงที่เกิดกับตัวรถ ทำให้ตัวรถเซไถล เมื่อรถมาชนกับแบริเออร์นี้จะไม่ทำให้กระเด็นไปไกล รถก็ไม่เกิดความเสียหายอะไรมากมาย เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ชนิดอื่นที่ทำแบบนี้ไม่ได้ พอจังหวะโค้งหรือโค้งหักศอกแล้วเกิดการเหวี่ยง จะทำให้รถไถลไปไกลจนเกิดความเสียหายง่าย

4. ทรายและน้ำช่วยลดแรงกระแทก – เหตุผลข้อนี้ ร้านไทยจราจร บอกก่อนนะครับว่ามันต่างจากข้อ 2 เพราะอันนั้นเราใส่น้ำกับทรายเพื่อให้ตัวแบริเออร์แข็งแรงรองรับแรงกระแทก แต่เหตุผลข้อนี้จะพูดถึงมวลของน้ำและทรายที่เหมือนมีแรงดันพร้อมความยืดหยุ่นในตัว น้ำหนักเบา เมื่อเวลาเกิดอะไรมากระแทกกับตัวแผงกั้นมันจะช่วยดันสะท้อนกลับไปคล้ายเป็นแรงต้าน ส่งผลให้แรงกระแทกที่เกิดขึ้นน้อยลง รถเกิดความเสียหายน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้จริงหากเทียบกับการใช้วัสดุอื่น ๆ เข้ามาใส่ เช่น ดิน , หิน ซึ่งหากเกิดแรงกระแทก ของพวกนั้นมีความแข็งตัวสูง แม้ช่วยให้แบริเออร์แข็งแรงได้จริง แต่ทว่าเมื่อกระแทกเข้าไปแรง ๆ ก็ทำให้รถเสียหายได้ด้วยเหมือนกัน

5. รูปทรงของแผงกั้นรองรับแรงกระแทกโดยเฉพาะ – หากสังเกตรูปทรงให้ดี แผงกั้นตัวนี้จะมีลักษณะเป็นโค้ง ๆ จากฐานมาถึงปลายด้านบน พร้อมกับออกแบบให้มีช่องว่างบาง ๆ ไว้บนแนวแผงกั้น การออกแบบลักษณะนี้ถือเป็นการออกแบบเพื่อช่วยลดแรงในขณะที่รถกระเด็นได้อย่างดี หากเป็นแผงตรง ๆ ไม่มีส่วนเว้าโค้งเลย เมื่อรถพุ่งมา จะกระแทกเข้าเต็ม ๆ แต่การเว้าแบบนี้ บางส่วนมันกระแทกก่อนเมื่อบางส่วนของรถสัมผัสกับแบริเออร์ก่อนมันจะช่วยผ่อนให้เบาลงได้

เหล่านี้คือเหตุผลที่บอกว่า แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ สามารถลดความรุนแรงของอุบัติเหตุรวมถึงช่วยป้องกันไม่ให้รถเกิดความเสียหายจากการชนได้จริง อีกทั้ง ร้านไทยจราจร ยังเชื่ออีกว่าเมื่อรถเกิดความเสียหายน้อยลงคนที่อยู่ในรถเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยลงด้วยเช่นกัน เรียกว่าไม่ใช่แค่ทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เสียหายน้อยลง แต่มันยังช่วยชีวิตคนที่ติดในรถให้มีโอกาสรอดหรือบาดเจ็บน้อยลงกว่าเดิมด้วย

white_paper