ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

7 วิธี ช่วยคนประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน

Placeholder image

 

      เมื่อพบผู้ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บบนท้องถนน แม้ว่าจะไม่ใช่คู่กรณีของผู้ขับขี่โดยตรง แต่ด้วยหลักมนุษยธรรมก็ควรให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อลดความสูญเสียบนท้องถนน แต่การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุนั้น ไม่สามารถทำได้หากผู้ช่วยเหลือไม่ทราบวิธีการที่ถูกต้อง การช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุแบบผิดวิธีจะส่งผลร้ายมากมายได้อย่างคาดไม่ถึง ร้านไทยจราจรขอแนะนำวิธีการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุที่ถูกต้องตามรายละเอียดต่อไปนี้
      1. แจ้งเตือนรถคันที่ขับตามหลังมา เมื่อคุณจำเป็นต้องจอดรถช่วยผู้ที่กำลังประสบอุบัติเหตุ ไม่ควรจอดรถเอาไว้เฉย ๆ แต่ควรให้สัญญาณกับรถคันที่ขับตามหลังมาด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุในสภาวะอากาศที่ขมุกขมัว หรือในสภาพอากาศตอนกลางคืน การจอดรถเข้าช่วยเหลือเฉย ๆ อาจเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้ ดังนั้นผู้ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุควรติดตั้งสัญญาณเตือนด้วย ป้ายสามเหลี่ยมตั้งพื้นสะท้อนแสง เอาไว้ที่ท้ายรถ ห่างจากตัวรถอย่างน้อย 50 เมตร รวมถึงใช้ กรวยจราจร ร่วมด้วย
      2. การประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้า แม้ว่าคุณจะอยากช่วยเหลือผู้ประสบเหตุมากเพียงใดก็ตาม ก็ต้องไม่ลืมที่จะประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบด้วย หากพบว่าเกินกำลัง หรือผู้ได้รับบาดเจ็บอาจมีอันตรายจากการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกวิธีก็ควรติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉิน อย่างโรงพยาบาล หน่วยกู้ภัย หรือตำรวจ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นเข้ามาให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม แต่หากประเมินเหตุแล้วพบว่าไม่รุนแรงก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทันที
      3. การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุ การเข้าปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุควรทำอย่างระมัดระวังและเหมาะสม เพราะบางครั้งผู้ประสบอุบัติเหตุอาจมีภาวะที่กระดูกชิ้นสำคัญกำลังหัก หรือร้าวได้ การเคลื่อนย้ายหรือสัมผัสผู้ประสบเหตุอย่างผิดวิธีอาจส่งผลร้ายมากกว่าผลดี ดังนั้นจึงควรปฐมพยาบาลอย่างระมัด กรณีเลือดออกมาก ควรหาผ้าสะอาดมาปิดปากแผลเอาไว้ จากนั้นหาสายยางหรือผ้าอีกชิ้นมารัดแน่น ๆ บริเวณเหนือปากแผลเพื่อเป็นการห้ามเลือด กรณีกระดูกหัก หรือมีข้อต่อหลุด ควรหาอุปกรณ์แข็ง ๆ มาทำการเข้าเฝือกชั่วคราวให้ผู้ประสบอุบัติเหตุ เพื่อไม่ให้แผลมีการเคลื่อนย้ายให้บาดเจ็บมากขึ้น กรณีหัวใจหยุดเต้นให้วางผู้ป่วยนอนราบลงกับพื้น ปั๊มหัวใจโดยวางมือบริเวณกลางหน้าอกใต้ลิ้นปี่แล้วออกแรงกดสลับปล่อยประมาณ 30 ครั้ง หากไม่ได้ผลอาจใช้การเป่าปากช่วย ทำต่อเนื่องจนกว่าผู้ประสบเหตุจะรู้สึกตัว
      4. การแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นมีหลายหน่วยงานด้วยกัน อาทิเช่น ศูนย์นเรนทร 1669, สถานีวิทยุ จส.100 1808, สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน 1677, สถานีวิทยุ สวพ. 91 1644 และศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทุกชนิด 191 ไม่ว่าจะปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บบนท้องถนนดีเพียงใดก็ตาม ผู้ช่วยเหลือก็ควรประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับผิดชอบส่งตัวผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้กับผู้เชี่ยวชาญได้ดูแลและพิจารณาอาการอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง และในระหว่างการเคลื่อนย้ายควรหา กรวยจราจร มาป้องกันการทำงานของเจ้าหน้าที่เอาไว้ด้วย
      5. การปลอบประโลมผู้ได้รับบาดเจ็บ ในบางกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บอาจไม่มีอาการรุนแรงจนหมดสติ ยังคงรู้สึกตัวอยู่ ผู้เข้าช่วยเหลือควรพยายามหาเรื่องชวนพูดคุยในระหว่างที่กำลังรอการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้ผู้ได้รับบาดเจ็บรู้สึกคลายความกังวล ลดความเครียด หรือแม้แต่ลืมความเจ็บปวดทางร่างกายให้ลดน้อยลงได้ อาจเริ่มจากบทสนทนาการแนะนำตัว และชวนผู้บาดเจ็บพูดคุยเรื่องต่าง ๆ แต่หากผู้บาดเจ็บไม่สามารถโต้ตอบแต่ยังรับรู้ได้ ก็อาจเป็นการกล่าวปลอบขวัญและให้กำลังใจแทนได้
      6. การตรวจสอบสถานการณ์โดยรอบ นอกจากผู้บาดเจ็บที่ผู้ช่วยเหลือพบเจอแล้ว ผู้ช่วยเหลือยังควรสำรวจบริเวณโดยรอบอีกครั้ง ว่ายังมีผู้ประสบเหตุคนอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เพราะบางกรณีหากเป็นการเฉี่ยวชนกันระหว่างรถคันเล็กกับรถคันใหญ่ ก็อาจมีผู้ที่ไถลตกลงไปยังบริเวณข้างทางได้ เมื่อให้การช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับผู้ที่บาดเจ็บเบื้องหน้าแล้ว จึงควรตรวจสอบบริเวณโดยรอบอีกครั้ง หากเป็นเวลากลางคืนสามารถใช้ ไฟฉาย LED Zoom ได้มาช่วยเพิ่มระยะการมองเห็นด้วย
      7. การเตรียมข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ แน่นอนว่าเมื่อมีผู้บาดเจ็บ หรือหากร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ก็ย่อมต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาสอบปากคำและเก็บพยานหลักฐานเพิ่มเติมในที่เกิดเหตุ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจผู้ให้การช่วยเหลือ จึงควรรอให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วน ยิ่งในกรณีที่ผู้ช่วยเหลือมีการบันทึกภาพขณะเผชิญเหตุด้วยกล้องหน้ารถ หรืออุปกรณ์มือถือก็จะยิ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้เป็นหลักฐานหาตัวผู้กระทำผิด หรือสรุปสาเหตุของความเสียหายได้อย่างถูกต้อง
การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เป็นวิธีที่ช่วยลดอัตราการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบอุบัติเหตุได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีร้านไทยจราจร เห็นว่า การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุควรคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ให้การช่วยเหลือเป็นสำคัญด้วย การหยุดรถเพื่อเข้าช่วยเหลือควรมีการให้สัญญาณแจ้งเตือนแก่ผู้ขับรถคนอื่น ๆ อย่างป้ายสามเหลี่ยมตั้งพื้นสะท้อนแสง ผ้าสีแดงหรือสีสว่าง หรือแม้แต่กิ่งไม้ข้างทางก็สามารถนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แจ้งเตือนได้ หรือในกรณีผู้ขับขี่เป็นผู้หญิงตัวคนเดียว การลงไปยังท้องถนนเพียงลำพังเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุก็อาจเป็นเรื่องที่อันตราย ควรอยู่ในตัวรถและล็อกประตูไว้ก่อนจะดีที่สุด แล้วรีบโทรแจ้งหน่วยงานช่วยเหลือและรอให้การเพื่อความปลอดภัยแทนก็ได้

white_paper