ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

10 ขั้นตอนขออนุญาต อยากติดป้ายบอกสถานที่ของคุณ บนถนนหลวง!


Placeholder image

 

         การเดินทางไปยังอาคาร หน่วยงาน องค์กร ห้างร้าน คอนโด และโรงแรมที่พักต่าง ๆ หากมีป้ายบอกทางติดตั้งไว้ให้สังเกตได้โดยง่าย ก็จะช่วยให้ผู้ขับขี่ที่ไม่คุ้นเส้นทาง สามารถเดินทางไปถึงที่หมายได้อย่างง่ายดาย ไม่เสียเวลาขับอ้อม ขับวน เพราะหลงทาง และช่วยให้เกิดความรู้สึกสะดวกกว่าการจะต้องมาคลำเส้นทางเอาเองจากการดูหรือฟังข้อมูลจากแผนที่นำทางหรือคนรู้จัก วันนี้ร้านไทยจราจรจึงขอนำขั้นตอนการยื่นขออนุญาตติดตั้งป้ายบอกทางบนถนนหลวง เพื่อให้ผู้คนสามารถค้นหาและเข้าถึงสถานที่ของคุณได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เชิญไปติดตามพร้อม ๆ กัน

1. ดูว่าสถานที่ของเราเข้ากฎเกณฑ์หรือไม่

การจะขออนุญาตติดตั้งป้ายบอกทางบนถนนหลวงนั้น มีกฎเกณฑ์และเงื่อนไขกำหนดไว้อยู่ หากสถานที่ของคุณเป็นสถานที่ราชการ หรือสถานที่เอกชนที่มักจะมีผู้คนเข้ามาติดต่อในเรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้เป็นการติดต่อธุระที่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็ถือว่าเข้าเงื่อนไขไปส่วนหนึ่ง แต่สำหรับสถานที่เอกชนนั้น ถูกกำหนดไว้ให้เป็นสถานที่ในประเภทดังต่อไปนี้

- นิคมอุตสาหกรรม

- คอนโด หมู่บ้านจัดสรร

- สถานศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย

- โรงพยาบาล

- องค์กรการกุศล

- แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก

- ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP

- สำนักงานของพรรคการเมือง

2. ต้องการขอติดตั้งป้ายอะไร

เมื่อทราบแล้วว่าสถานที่ของเราเข้าหลักเกณฑ์การขอติดตั้งป้ายบอกทาง เราก็ต้องมากำหนดว่าเราต้องการขอติดตั้งป้ายประเภทไหน โดยทางกรมทางหลวงจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง ป้ายชี้ทาง และป้ายแหล่งท่องเที่ยว

3. ค้นหาหลักเกณฑ์การตั้งป้ายบอกจุดหมายปลายทาง

ในกรณีที่ต้องการขอป้ายจราจรเพื่อเป็นป้ายบอกจุดหมายปลายทาง จะมีการกำหนดขนาดและความสูงของป้าย รวมถึงสีพื้น และสีของตัวอักษรเอาไว้ โดยป้ายติดตั้งข้างทางจะถูกกำหนดให้ใช้พื้นสีขาว อักษรสีดำ ส่วนป้ายแขวนสูง จะใช้พื้นสีเขียว ทั้งในกรณีของสถานที่ราชการและสถานที่เอกชน ซึ่งกรมทางหลวงกำหนดให้ติดตั้งป้ายประเภทนี้ก่อนถึงทางแยกที่จะเชื่อมเส้นทางต่อไปยังสถานที่นั้น ๆ ราว 25-150 เมตร

4. ค้นหาหลักเกณฑ์การตั้งป้ายชี้ทาง

ในกรณีที่ต้องการขอป้ายจราจรเพื่อเป็นป้ายชี้ทาง นอกจากขนาดและความสูงของป้ายที่ถูกกำหนดไว้แล้ว สีพื้นและสีตัวอักษรระหว่างสถานที่ราชการและสถานที่เอกชนก็แตกต่างกันออกไปด้วย โดยป้ายชี้ทางของสถานที่ราชการ จะถูกกำหนดให้ใช้พื้นสีขาว ตัวอักษรสีดำ และสถานที่เอกชนจะถูกกำหนดให้ใช้พื้นสีน้ำตาล ตัวอักษรสีขาว

5. ศึกษาค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตั้งป้าย

แม้ว่าหน้าที่ที่จะพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องของป้ายและสถานที่ติดตั้งป้ายนั้นจะเป็นของกรมทางหลวง แต่ผู้ที่ขออนุญาตติดตั้งป้าย (ยกเว้นหน่วยงานราชการ) ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

- ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับป้ายชี้ทาง 6,000 บาท ต่อ 1 ตำแหน่ง

- ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับป้ายติดตั้งข้างทาง 10,000 บาท ต่อ 1 ตำแหน่ง

- ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับป้ายแขวนสูงแบบเสาเดียว 50,000 บาท ต่อ 1 ตำแหน่ง

6. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอติดตั้งป้าย

โดยปกติแล้ว ทุกคนจะสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มยื่นคำขออนุญาตติดตั้งป้ายได้จากเว็บไซต์ของกรมทางหลวง เมื่อกรอกเอกสารและเตรียมเอกสารทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ก็จะนำไปยื่นที่หมวดการทาง หรือแขวงการทาง หรือสำนักงานบำรุงทาง แล้วแต่ว่าหน่วยงานไหนดูแลพื้นที่นั้นอยู่

7. เตรียมแบบแปลนแสดงที่ตั้งป้าย

หนึ่งในเอกสารประกอบการขออนุญาตที่ต้องเตรียม ก็คือ แบบแปลนสังเขปเพื่อแสดงเส้นทางถนนหลวงและที่ตั้งของสถานที่ที่จะขออนุญาต โดยมาตราส่วนจะต้องไม่ต่ำกว่า 1:500

8. เตรียมแบบป้ายที่ต้องการขอติดตั้ง

ในข้อนี้ท่านสามารถปรึกษากับทางร้านไทยจราจรได้โดยตรง เนื่องจากร้านไทยจราจรรับทำป้ายจราจรตามต้องการด้วยเช่นกัน โดยแบบป้ายนั้นจะต้องแสดงรูปแบบป้าย ขนาดกว้างxยาวxสูง ข้อความ และสัญลักษณ์ (ถ้ามี)

9. เตรียมเอกสารอื่น ๆ ให้ครบถ้วน

เอกสารอื่น ๆ ที่มักจะต้องใช้ยื่นประกอบไปพร้อมกัน ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล ต้องใช้สำเนาหนังสือจดทะเบียนรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ประทับตราบริษัท รวมทั้งใบมอบอำนาจจากนิติบุคคล ในกรณีที่ผู้มีอำนาจลงนามไม่มายื่นขอด้วยตนเองแต่ให้บุคคลอื่นมายื่นขอแทน โดยแนบท้ายด้วยสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ อย่างไรก็ตามเอกสารทั้งหมดที่เตรียมไว้ ควรถ่ายสำเนาแยกเป็น 4 ชุด และติดอากรแสตมป์ 10 บาทลงบนใบมอบอำนาจฉบับแรกด้วย

10. ยื่นเอกสารที่สำนักงานกรมทางหลวงที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งป้าย

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็สามารถเข้าไปยื่นเอกสารขออนุญาตติดตั้งป้ายได้ที่สำนักงานกรมทางหลวงของพื้นที่นั้น ๆ ในวันและเวลาทำการได้เลย หรือหากมีข้อสงสัย ก็สามารถติดต่อ call center ของกรมทางหลวง 1586 เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนได้

 

หลังจากติดตั้งป้ายจราจรเพื่อบอกทางไปยังสถานที่ของคุณแล้ว การดูแลรักษาและรับผิดชอบในความเสียหายก็จะยังคงเป็นของคุณ นั่นหมายความว่า หากเกิดการชำรุดหรือพังเสียหาย คุณจะต้องเป็นฝ่ายออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด และกรมทางหลวงเองก็มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกการอนุญาตให้ติดตั้งป้ายเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องชี้แจงความจำเป็นใด ๆ ให้กับคุณได้ทราบเช่นกัน ดังนั้นจึงควรศึกษากับผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน เพื่อให้ป้ายบอกทางเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อร้านไทยจราจรได้ที่เว็บไซต์ https://trafficthai.com ทีมงานของเราพร้อมให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่



white_paper