ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

สีเทอร์โมพลาสติกคืออะไร หน้างานใดที่ควรใช้และไม่ควรใช้


Placeholder image

 

                    ในการตีเส้นบนพื้นถนน จำเป็นต้องใช้สีที่มีคุณสมบัติเฉพาะและมีความแตกต่างจากสีชนิดอื่น เพราะสภาพของถนนที่จะต้องถูกล้อรถบดอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังอยู่กลางแดดร้อน วันนี้ ร้านไทยจราจร จะพาทุกท่านไปรู้จักกับหนึ่งในสีที่ใช้ในงานจราจร นั่นก็คือ สีเทอร์โมพลาสติก

สีเทอร์โมพลาสติกคืออะไร
เทอร์โมพลาสติกเป็นพลาสติกที่สามารถหลอมได้ในอุณหภูมิสูงและจับตัวเป็นของแข็งในอุณหภูมิที่เย็นลง มันจึงเป็นพลาสติกชนิดที่สามารถนำมาหลอมและขึ้นรูปได้ใหม่ สำหรับสีเทอร์โมพลาสติก ก่อนใช้จะต้องต้มสีที่อุณหภูมิ 160-180 องศาเซลเซียสเพื่อให้สีอยู่ในสภาพของเหลว เมื่อทาสีแล้วจะต้องปล่อยให้สีเย็นตัวลงที่ประมาณ 32 องศาเซลเซียส จากนั้นสีจะอยู่ในสภาพของแข็งเกาะนูนขึ้นมาจากพื้นถนนประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อต้องการลบเส้น ก็สามารถกะเทาะออกเป็นแผ่นๆ ได้เลย

คุณสมบัติของสีเทอร์โมพลาสติก
1. มีความคงทน สีเทอร์โมพลาสติกเป็นสีชนิดซีดจางหรือลบเลือนได้ยาก มักติดแน่นทนนานจนหมดอายุการใช้งาน เพราะในสีเทอร์โมพลาสติกผสมสารเกาะยึดเอาไว้ และต้องใช้ความร้อนสูงเกือบ 200 องศาเซลเซียส ในการทำให้สีคลายการเกาะยึด
2. มีคุณสมบัติสะท้อนแสง ในการเลือกซื้อสีเทอร์โมพลาสติก คุณควรตรวจเช็คข้างถุงเสมอว่าสีนั้นผสมลูกแก้วสะท้อนแสงแล้วหรือยัง ถ้ายัง ในขณะทาสีถนนจะต้องโรยลูกแก้วลงไปด้วย โดยตามมาตรฐาน มอก. 543-2549 กำหนดไว้ว่าจะต้องมีลูกแก้วโรยอยู่ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อที่เมื่อไฟหน้ารถฉายมากระทบเส้นบนถนนในเวลากลางคืน แสงจะสะท้อนกลับมา ทำให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นเส้นได้
3. อายุการใช้งาน สีเทอร์โมพลาสติกส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ดังนั้นจึงต้องมีการตีเส้นบนถนนใหม่หรือทาทับทุกๆ 2 ปี
4. ระยะเวลาแข็งตัว สีเทอร์โมพลาสติกโดยทั่วไปมีระยะเวลาแข็งตัวที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส ในระยะเวลาประมารณ 2-4 นาที
5. กำลังซ่อนแสง กำลังซ่อนแสง คือ กำลังของสีที่จะปิดทับให้ไม่เห็นพื้นด้านล่าง สีเทอร์โมพลาสติกเป็นสีที่มีกำลังซ่อนแสงสูงกว่าสีประเภทอื่นเพราะพิกเม้นท์ของสีหลักมีความแตกต่างจากสีแบบอื่น สำหรับสีเทอร์โมพลาสติกสีขาวมักใช้ไททาเนียมไดออกไซด์เป็นพิกเม้นท์สีหลัก ทำให้มีกำลังซ่อนแสงสูง

ส่วนประกอบของสีเทอร์โมพลาสติก
1. พิกเม้นท์หลัก คือ เนื้อสีหรือเม็ดสีหลัก พิกเม้นท์หลักจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของสี ไม่ว่าจะเป็นกำลังซ่อนแสง หรือการดูดกลืนแสงขาว (ความเสถียรต่อแสงยูวี) เป็นต้น
2. พิกเม้นท์ประกอบ คือ สารที่นำมาเติมเต็มสี ช่วยเพิ่มกำลังซ่อนแสง ทำให้สีมีความทนทาน ช่วยให้ทาสีเรียบไม่ขรุขระ ทนต่อการเสียดสีและการขัดถู พิกเม้นท์มีส่วนประกอบหลายชนิด เช่น แมกซีเนียม ซิลิเกต, แคลเซียมคาร์บอเนต และไชน่าเคลย์
3. สารยึดเกาะ คือสารที่ทำให้สียึดเกาะกับถนนได้ดี อีกทั้งยังทำให้สียึดเกาะกับลูกแก้วสะท้อนแสงได้ดีอีกด้วย สารยึดเกาะที่ใช้ทั่วไป คือ เรซิ่น โดยเรซิ่นที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น เมธิลเมธาไครเลต, โพลีไวนิลอะซีเตต-ลาเท็กซ์ และอะคริริคเรซิ่น 100%
4. ตัวทำละลาย ตัวทำละลายคือสารที่ทำให้สีอยู่ในรูปแบบของของเหลว เมื่อทาเสร็จแล้วต้องปล่อยให้ตัวทำละลายระเหยออกไป สีจึงจะติดกับพื้นผิว ตัวทำละลายมีหลายแบบอาจเป็น แอมโมเนีย, เมทานอล, แอมโมเนียและเอทานอล
5. สารเติมแต่ง เป็นสารที่เติมเข้าไปในสีเพื่อขจัดปัญหาบางประการ เช่น สารป้องกันการแข็งตัว สารป้องกันการตกตะกอน และสารที่ช่วยให้สีไม่เกิดฟองในระหว่างการผสมสี แต่ไม่ควรมีสารเติมแต่งจะอยู่ในสีมากกว่า 5%

สีเทอร์โมพลาสติกเหมาะกับหน้างานใด
สีเทอร์โมพลาสติกเหมาะกับการทาสีบนถนน ทั้งถนนลาดยางมะตอย ถนนคอนกรีต และตัวหนอน หน้างานที่เหมาะกับสีเทอร์โมพลาสติกคืองานทาสีบนพื้นถนนเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการตีเส้นแบ่งเลนส์จราจร ตีเส้นทางม้าลาย ตีเส้นกั้นช่องจอดรถ วาดเครื่องหมายจราจรลงบนพื้นถนน ตีเส้นบนพื้นที่ห้ามจอด และอื่นๆอีกมากมาย

สีเทอร์โมพลาสติกไม่เหมาะกับหน้างานใด
สีเทอร์โมพลาสติกไม่เหมาะกับพื้นที่ไม่ทนความร้อนหรือผุผังง่าย เช่น พื้นไม้ พื้นกระเบื้องยาง
หากถนนของคุณมีพื้นผิวที่ไม่สามารถทาสีเทอร์โมพลาสติกได้ เช่น ถนนดินแดง คุณอาจใช้อุปกรณ์อื่นๆ แทนได้ ไม่ว่าจะเป็น ยางทางม้าลายสำเร็จรูป ยางชะลอความเร็วแทนลูกระนาดทาสี นอกจากนี้ในการทาสีเทอร์โมพลาสติก คุณต้องเรียกใช้บริการผู้ที่รับทาสี ไม่สามารถทำเองได้ เพราะต้องมีเครื่องต้มและเครื่องทาสี เนื่องจากต้องต้มไปทาไป คุณจึงอาจเลือกใช้เทปติดถนนสะท้อนแสงกับถนนเอกชนของคุณแทนได้
นอกจากนี้สีเทอร์โมพลาสติกมักมีเพียงสองสี คือ สีเหลือง และสีขาว จึงไม่สามารถตีเส้นขาวแดงบนขอบบาทวิถีได้ หากต้องการตีเส้นขอบบาทวิถีจึงควรใช้สีอะคริลิค อีนาเมลที่มีสีให้เลือกมากกว่า โดยสีอะคริลิคเป็นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย แม้แห้งช้ากว่าแต่ไม่นูนหนาขึ้นจากพื้น ทำความสะอาดง่ายและสวยกว่า นอกจากตีเส้นบนพื้นถนนได้แล้ว ยังใช้ทาขอบบาทวิถีได้อีกด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ คิดว่าคุณผู้อ่านคงรู้จักสีเทอร์โมพลาสติกหนึ่งในสีที่ใช้กับงานจราจรบ้างแล้ว ร้านไทยจราจร ของเรารับตีเส้นจราจร ตีเส้นลูกศร ทาสีถนนและขอบบาทวิถีด้วยสีเทอร์โมพลาสติกและสีอะคริลิค อีนาเมลคุณภาพสูง หากคุณสนใจติดต่อเราได้ที่ https://trafficthai.com ได้เลยนะคะ



 

 


 

white_paper