ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

สูญเสียไปเท่าไหร่แล้ว?? กับการไม่ได้เตรียมตัววางแผนไฟไหม้

Placeholder image

 

     

            อัคคีภัยหรือไฟไหม้ เป็นสถานการณ์ที่สร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างอเนกอนันต์ อย่างที่เราทุกคนเห็นกันอยู่แล้วตามสื่อต่าง ๆ หลายครั้งก็มีผู้ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ลุกลามบานปลาย เพราะไม่สามารถควบคุมไว้ได้ตั้งแต่ต้น จึงทวีความรุนแรงมากเกินกว่าที่จะรับมือได้

                    ร้านไทยจราจรเห็นว่าการทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยของบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ ให้ห่างไกลจากอัคคีภัย มีความสำคัญเช่นเดียวกับที่กระทรวงมหาดไทยกำชับกับทุกหน่วยงานให้มีมาตรการแผนป้องกันอัคคีภัย จึงได้ทำการสรุปไว้ ดังนี้


            1. หากเป็นอาคารเช่าหรืออยู่กันหลายครอบครัวแบบคอนโดมิเนียม ตลอดจนออฟฟิศและห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ควรมีมาตรการป้องกันอัคคีภัยที่ชัดเจนและควรแสดงไว้ในพื้นที่สังเกตได้ชัด เช่น บอร์ดข่าวสารและซักซ้อมการหนีไฟทุก 1 เดือน เพื่อลดอาการตื่นตระหนกหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้จริง

            2. ควรมีการสาธิตและทำ workshop การใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในเหตุการณ์อัคคีภัย เช่น ถังดับเพลิง ไซเรนมือหมุน เพราะหลายครั้งที่เหตุการณ์เพลิงไหม้ลุกลาม แต่ก็ใช้อุปกรณ์ไม่เป็นเนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ 

            3. การมีป้ายบอกตำแหน่งของถังดับเพลิง หรือที่เรียกว่า ป้ายตั้งถังดับเพลิง เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นจุดสังเกตที่สำคัญในการจะหยิบใช้ถังดับเพลิงได้อย่างรวดเร็วยามฉุกเฉิน

            4. การมีทางหนีไฟที่มีมาตรฐาน ไม่เป็นคอขวดหรือมีทางบีบแคบที่ทำให้กรเคลื่อนย้ายคนภายในอาคารทำได้ยากและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยซ้ำซ้อน เช่น เกิดการล้มและเหยียบซ้ำระหว่างช่วงชุลมุน

            5. การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉินในจุดต่าง ๆ สำคัญต่อการเคลื่อนคนออกจากอาคารได้ทันเวลา โดยจะใช้แบบติดตั้งกับฝ้าเพดาน แบบแขวน หรือแบบกรอบรูป ก็ได้ประโยชน์จากการที่มีหลอดไฟ LED แบบประหยัดไฟอยู่ภายใน ทำให้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนตลอด 24 ชั่วโมง

            6. มีบันไดทางหนีไฟที่มีมาตรฐานตามกฎหมาย ไม่แคบและชัน และต้องป้องกันการลื่นล้มด้วยการติดเทปกันลื่นในทุกขั้นบันได เพื่อให้เรืองแสงและเพิ่มแรงเสียดทานในการขึ้นลงบันไดช่วงชุลมุน โดยเฉพาะเมื่อมีไฟไหม้ยามวิกาลที่ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี 

            7. การกำหนดจุดปลอดภัยสำหรับรวมพลเมื่อมีเหตุการณ์ไฟไหม้ เช่น บริเวณลานจอดรถที่เป็นที่โล่งแจ้งอากาศถ่ายเทสะดวก หรือบริเวณสนามกีฬา สนามหญ้าที่ใกล้เคียง โดยควรแสดงสัญลักษณ์เป็นป้ายกล่องไฟที่มีข้อความว่า พื้นที่ปลอดภัย หรือจุดรวมคน เพื่อให้ทุกคนมุ่งสู่ปลายทางเดียวกันเวลาหนีไฟ

            8. ในการเตือนภัยของอาคารใหญ่ หรือมีอาณาบริเวณกว้างหลายช่วงตึก ควรใช้สัญลักษณ์เตือนภัยทั้งทางเสียงและแสง อย่างไฟหมุนพร้อมไซเรนเสียง ที่ไม่ว่าจะอยู่จุดใดในระยะ 500 เมตรก็ต้องได้เห็นและได้ยินสัญญาณอย่างแน่นอน

            9. หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือย่านที่มีความแออัดจอแจเสียงดังมาก ควรมี ไซเรนเสียงขนาดใหญ่แบบออโต้ ใช้งานง่ายและให้พลังเสียงรอบพื้นที่ในรัศมี 0.8 กิโลเมตร ทำให้สามารถเตือนภัยและเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของมีค่าได้รวดเร็ว ลดความรุนแรงของเหตุไฟไหม้ในย่านชุมชนหนาแน่นได้ดียิ่งขึ้น

            10. การเคลียร์บริเวณพื้นที่ทางหนีไฟ และบริเวณใกล้ประตูหนีไฟให้โล่ง สังเกตได้ง่ายอยู่เสมอ หากมีกล่องลังเอกสารหรือกองสินค้าต่าง ๆ อยู่บริเวณนั้น ควรทำความสะอาดพื้นที่และจัดบริเวณเสียใหม่ เพื่อให้มีสิ่งกีดขวางประตูและบันไดหนีไฟให้น้อยที่สุด

            11. นอกจากทางหนีไฟต้องมีความโล่งสะดวกต่อการอพยพคนแล้ว ยังต้องไม่มีการล็อคประตูด้วย เพราะไม่มีใครอาจทราบได้ว่าไฟไหม้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หลายครั้งที่มีการล็อคประตูทำให้คนเข้าออกไม่ได้ จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตอยู่ภายในจากไฟคลอกหรือสูดหายใจควันไฟมากเกินไปจนเสียชีวิต

            12. ควรมีการติดต่อท่อน้ำ ที่สามารถเชื่อมต่อกับสายยางหรือเป็นการสำรองน้ำให้แก่หน่วยดับเพลิงได้ง่าย 

            13. การออกแบบตำแหน่งจัดวางและการติดตั้งระบบท่อน้ำต่าง ๆ ของอาคารทุกแห่ง ไม่ว่าที่พักอาศัยหรือห้างสรรพสินค้า ควรปรึกษาผู้มีความชำนาญ เช่น วิศวกรโยธาที่มีประสบการณ์สูง โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่ หรือต้องรองรับการใช้งานของคนจำนวนมาก เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายเมื่อมีเหตุการณ์อัคคีภัย เช่น ท่อน้ำแตกหรือรั่ว ซึ่งจะทำให้หน่วยดับเพลิงขาดน้ำสำรองเพื่อดับไฟ

            14. ถังดับเพลิงที่มีอยู่ควรเช็คสภาพว่าพร้อมใช้งานอยู่เสมอ อย่างน้อยทุกหกเดือนต้องมีการบันทึกลง log book เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการตรวจสอบด้านความปลอดภัย

            15. การติดไฟฉุกเฉินตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะกลางอาคารที่มีทางเดินแคบและยาว บริเวณใกล้ทางออกฉุกเฉินและบันไดหนีไฟ เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะเหตุไฟไหม้มักมาพร้อมกับไฟดับ หรือหากเกิดในยามวิกาลจะทำให้การเคลื่อนย้ายคนและของมีค่าเป็นไปอย่างยากลำบาก ระบบไฟสำรองของไฟฉุกเฉินจะช่วยให้เห็นทั้งสิ่งกีดขวางและเส้นทางออกจากอาคารได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


                    ร้านไทยจราจรหวังว่า 15 แนวทางการปฏิบัติข้างต้น จะช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการปรับปรุงมาตรการด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคารต่าง ๆ เพื่อให้ลดระดับความรุนแรงและลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์อัคคีภัยได้ตลอดไป หากท่านสนใจยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยต่อเหตุไฟไหม้ ไม่ว่าอาคารบ้านเรือนหรือองค์กรหน่วยงานต่าง ๆ เชิญชมสินค้าพร้อมรายละเอียดได้ที่ www.trafficthai.com 

 




white_paper