ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

10 วิธีเลือกยางชะลอความเร็ว ให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมจราจร

Placeholder image

 

     

           การขับขี่ยวดยานพาหนะด้วยความเร็วสูงย่อมสร้างความเสี่ยงที่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุก ๆ คนจะเกิดอันตรายได้เป็นอย่างมาก แต่แม้ว่าจะมีการออกกฎระเบียบ หรือทำป้ายเตือนเอาไว้แล้ว ก็ยังมีผู้ใช้รถใช้ถนนหลายคนฝ่าฝืนกฎระเบียบอยู่ การนำอุปกรณ์ที่ช่วยชะลอความเร็วอย่าง ยางชะลอความเร็ว มาใช้จึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก แต่เพื่อให้การติดตั้งอุปกรณ์ชะลอความเร็วเหล่านี้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ สามารถลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่ที่ใช้ความเร็วในการบังคับยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ชะลอความเร็วที่มีคุณภาพ โดย ร้านไทยจราจร ขอแนะนำวิธีการเลือกอุปกรณ์ชะลอความเร็วตามมาตรฐานทางวิศวกรรมจราจรตามรายละเอียดต่อไปนี้
1. แนวโค้งของอุปกรณ์ชะลอความเร็ว เนื่องจากความโค้งของอุปกรณ์ชะลอความเร็วจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการลดความเร็วของยานพาหนะได้มากที่สุด ดังนั้นตามหลักการวิศวกรรมจราจรจึงกำหนดให้ส่วนโค้งมีลักษณะการโค้งทรงพาราโบล่ารูปแบบ Watts profile hump ไม่โค้งเป็นลูกคลื่น แต่จะต้องมีแนวระนาบที่ด้านบนเพื่อลดแรงกระแทกในระหว่างที่รถขับเคลื่อนผ่านไปได้
2. ความกว้างและความยาวของอุปกรณ์ที่เพียงพอ ความกว้างและความสูงของ ยางชะลอความเร็ว นอกจากจะเป็นส่วนประกอบที่ทำให้รถราใช้ลดความเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังส่งผลต่อแรงกระแทกที่รถราต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับเมื่อขับเคลื่อนผ่านได้อีกด้วย โดยความกว้างของยางที่ใช้ชะลอความเร็วที่ดีคือ 30 เซนติเมตร และความสูงที่ 50 - 120 มิลลิเมตร
3. อุปกรณ์ปิดหัวท้ายของอุปกรณ์ชะลอความเร็ว เพื่อให้อุปกรณ์ชะลอความเร็วมีความปลอดภัยต่อผู้สัญจรเดินทาง ควรมีอุปกรณ์สำหรับปิดหัวท้ายของอุปกรณ์ชะลอความเร็วเอาไว้ด้วย โดยอุปกรณ์ปิดหัวและท้ายของอุปกรณ์ชะลอความเร็วนั้นจะต้องพอดีกับตัวอุปกรณ์ด้วย ทั้งในส่วนของความสูงและความกว้างของอุปกรณ์
4. ความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์ เนื่องจาก ยางชะลอความเร็ว จะต้องมีการเตรียมตามความยาวที่กำหนดเอาไว้กับผู้ใช้งาน ซึ่งต้องสัมพันธ์กับหน้ากว้างของพื้นผิวถนนบริเวณที่ต้องการติดตั้ง ซึ่งความคลาดเคลื่อนในการเตรียมความยาวของยางชะลอความเร็วตามที่มาตรฐานกำหนดเอาไว้คือความยาวที่ไม่เกิน + 3 % ผู้ใช้งานจึงควรเลือกใช้บริการจากแหล่งจำหน่ายที่ใส่ใจต่อคุณภาพของอุปกรณ์เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนที่น้อยที่สุด ส่งผลให้การใช้งานอุปกรณ์ชะลอความเร็วสอดคล้องตามที่มาตรฐานวิศวกรรมจราจรกำหนด
5. เนื้อยางมีคุณภาพที่เหมาะสม นอกจากองค์ประกอบด้านความยาว ความกว้าง และความสูงจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว เนื้อยางเองก็ส่งผลต่ออายุการใช้งาน และสัมผัสที่ยืดหยุ่นในขณะที่ยวดยานพาหนะกำลังขับเคลื่อนได้โดยตรง ดังนั้นเนื้อยางที่ดีไม่ควรมีฟองอากาศอยู่ในเนื้อยาง ไม่มีรอยฉีกขาด รูหรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ในเนื้อยางนั่นเอง
6. ลักษณะการยุบตัวในขณะที่รถขับเคลื่อนผ่าน คุณสมบัตินี้แสดงถึงความทนทานและความสามารถในการรองรับน้ำหนักของอุปกรณ์ชะลอความเร็วนั้น ๆ ซึ่งตามมาตรฐานกำหนดให้อุปกรณ์ชะลอความเร็วควรมีลักษณะของการยุบตัวเมื่อรองรับน้ำหนักของยวดยานพาหนะไม่เกิน 40 % นั่นเอง
7. ความทนทานต่อสภาวะอากาศต่าง ๆ การทดสอบความทนทานต่อสภาวะอากาศของอุปกรณ์ชะลอความเร็วนั้นจะมีการดำเนินการตามหลักการที่เรียกว่าเกรย์สเกล ซึ่งเป็นวิธีที่จะเร่งภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กับวัสดุอุปกรณ์ที่นำไปทดสอบ จากนั้นมีการนำไปวัดค่าตามหลักการที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ถูกเร่งในห้องทดสอบนั้นต้องไม่น้อยกว่าระดับที่ 3 ของการทดสอบ
8. ความแข็งของเนื้อยาง ความแข็งของเนื้อยางนั้นจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของเนื้อยางที่หากมากเกินไปก็จะทำให้รถที่ขับเคลื่อนผ่านอุปกรณ์ชะลอความเร็วเกิดแรงกระแทกจนส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ และผู้โดยสารที่อยู่ในรถโดยตรง ดังนั้นความแข็งของเนื้อยางควรอยู่ในระดับที่มาตรฐานทางวิศวกรรมกำหนด โดยอยู่ที่ 60 – 80 ตามหน่วยวัดของ Shore A และจะต้องผ่านการตรวจวัดอย่างน้อย 3 ตำแหน่งของอุปกรณ์ชะลอความเร็วแต่ละเส้น
9. ความยืดเมื่อขาด เพื่อให้ทราบว่ายางที่ใช้สำหรับลดความเร็วมีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมหรือไม่ หากถูกรถที่มีน้ำหนักมาก ๆ จะมีโอกาสฉีกขาดหรือไม่ อันถือเป็นมาตรฐานสำคัญที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของยางที่ใช้ชะลอความเร็ว และสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทุก ๆ คน โดยยางที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานวิศวกรรมจราจรที่ดีควรมีความยืดเมื่อขาดไม่น้อยกว่า 200% ของยางชั้นบน และ 100% ของยางชั้นล่าง
10. การเร่งการเสื่อมอายุ สภาวะการเสื่อมอายุของอุปกรณ์ชะลอความเร็วนั้นจะมีผลต่อเนื้อยางหลายลักษณะทั้งลักษณะของเนื้อยางที่แข็งขึ้น ความต้านแรงดึงที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ความยืดเมื่อขาดที่มักจะลดน้อยลง และมอดูลัสแรงกดอัดหรือความสามารถในการรับแรงกดอัดของเนื้อยางที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยการทดสอบเนื้อยางที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานทางวิศวกรรมจราจรนั้นความแข็งของเนื้อยางต้องเปลี่ยนแปลงไม่เกิน + 5 Shore A ในกรณีของยางชั้นบน และไม่เกิน + 10 Shore A ในกรณีของยางชั้นล่าง ความต้านแรงดึงเปลี่ยนแปลงไม่เกิน + 25% ความยืดเมื่อขาดเปลี่ยนแปลงไม่เกิน + 50%และมอดูลัสแรงกดอัดเปลี่ยนแปลงไม่เกิน + 20%
ซึ่งหากผู้ซื้อไม่ทราบมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถพิจารณาเลือกจากแหล่งจำหน่ายที่มีมาตรฐานรับรองมาแสดงให้เห็นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อได้ ซึ่ง ร้านไทยจราจร หวังว่าการเลือก ยางชะลอความเร็ว ที่ได้มาตรฐานจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 





white_paper