ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

10 วิธีตรวจสอบว่า ลูกน้องคุณขับรถปลอดภัยหรือไม่

Placeholder image

 

     

           
          ความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะ คือหัวใจหลักสำคัญของการใช้รถใช้ถนน เพราะหากผู้ขับขี่หลงลืมหรือละเลยถึงเรื่องความปลอดภัย นั้นหมายถึงความเสี่ยงของการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของตัวเองและเพื่อนร่วมทาง แต่ในปัจจุบันยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่มองไม่เห็นความสำคัญของเรื่องความปลอดภัย มักคิดแค่เพียงว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด แต่คงลืมคิดไปว่าอะไรที่กำลังจะเกิดก็สามารถห้ามไม่ให้มันเกิดได้ หากรู้จักวิธีการป้องกัน ซึ่งหากผู้ขับขี่ทุกคนรู้จักวิธีการและปฏิบัติตาม อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด และนอกจากจะป้องกันแล้ว ยังช่วยให้มีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยอีกด้วย
ซึ่งเรื่องความมีวินัยและการตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ของทุกองค์กรธุรกิจ ที่จำเป็นต้องปลูกฝั่งให้กับพนักงานทุกคน ยิ่งโดยเฉพาะพนักงานที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการขับขี่ยานพาหนะ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่นายจ้างจะทราบถึงพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัวบนท้องถนนของลูกจ้างเมื่ออยู่ภายนอกองค์กรได้อย่างไร หากใครยังหาวิธีการตรวจสอบลูกจ้างไม่ได้ วันนี้ ร้านไทยจราจร จะมาบอกเคล็ดลับ 10 วิธีตรวจสอบพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของลูกน้อง ดังนี้
1. ติดตั้งเครื่องมือติดตามกับตัวรถ
ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ผู้ประกอบการยุค 4.0 จึงควรนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ GPS TRACKER คืออุปกรณ์ติดตามเชื่อมต่อกับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถทำให้นายจ้างรับรู้และทราบทุกความเคลื่อนไหวของลูกจ้างตลอดเวลา หากขับรถเร็วเกินกำหนด หรือเฉี่ยวชนกับคันอื่น อย่างไรก็ไม่มีทางหลุดรอดสายตาของนายจ้างได้อย่างแน่นอน
2. ติดกล้องบันทึกภาพหน้ารถ
ไม่ว่าลูกจ้างของคุณจะขับรถเร็วยิ่งกว่าม้า หรือขับช้าเหมือนเต่าคลาน กล้องบันทึกภาพที่ติดอยู่หน้ารถจะสามารถช่วยตรวจสอบพฤติกรรมเหล่านั้นได้ ทั้งยังดีในกรณีฉุกเฉินหากไปเฉี่ยวชนรถของคันอื่น หรือมีรถคันอื่นมาเฉี่ยวชน ก็จะสามารถนำภาพในกล้องมาเป็นหลักฐานได้ด้วย
3. ตรวจเช็คสภาพรถภายนอก
หากรถขาวสะอาดใหม่เอี่ยม ไม่ปรากฏรอยขูดขีดสีถลอกหรือตัวรถบุบแต่อย่างไร นั้นหมายความว่าลูกน้องของคุณค่อนข้างให้ความใส่ใจในการขับขี่ยานพาหนะเป็นอย่างมาก แต่หากพบริ้วรอยอันไม่พึงประสงค์ ก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่า ลูกน้องของคุณต้องนำรถไปเกิดอุบัติเหตุมาอย่างแน่นอน
4. หมั่นเช็คประวัติรถจากบริษัทประกันภัย
กรณีที่ลูกน้องนำรถไปเกิดอุบัติเหตุแต่หลีกเลี่ยงที่จะไม่แจ้งให้นายจ้างทราบ กว่าที่นายจ้างจะทราบเรื่องก็ต้องรอให้ถึงกำหนดระยะเวลาต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย ถึงเวลานั้นเบี้ยประกันก็คงขึ้นมาไม่ใช่น้อย การขอเช็คประวัติก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเสียเท่าไร เพียงติดต่อไปที่นายหน้าที่หรือตัวแทนเท่านี้ก็ทราบเรื่องแล้ว
5. ตรวจเช็คตารางรายงานการดูแลรถ
รถที่มีคนขับอย่างปลอดภัยมักจะต้องเป็นรถที่มีผู้ดูแลอย่างดี ลองไปหยิบบันทึกการดูแลรักษารถของลูกน้องแต่ละคนมาดู หากสภาพรถหรืออุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ มีความแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมใช้งาน นั้นแสดงว่าลูกน้องต้องเป็นคนขับรถที่ใส่ใจในเรื่องของความปลอดภัยอย่างแน่นอน
6. ตรวจเช็คประวัติใบสั่ง
บางครั้งที่ลูกจ้างกระทำผิดกฎจราจรโดยฝ่าฝืนป้ายจราจรและโดนใบสั่งจากตำรวจตามกฎหมาย แต่ยอมที่จะเสียเงินจ่ายชำระด้วยตัวเอง โดยไม่แจ้งให้นายจ้างรับทราบ เพื่อปกปิดความผิดพลาดหรือการกระทำนั้น นายจ้างสามารถขอตรวจสอบเอกสารใบสั่งจากกรมการขนส่ง หรือสถานีตำรวจได้ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยในการตรวจสอบพฤติกรรมของลูกน้องได้เป็นอย่างดี
7. ตรวจเช็คตารางงานวิ่งรถในแต่ละวัน
พฤติกรรมการรับงานที่มากขึ้น ก็ถือเป็นอีกเรื่องที่ผิดสังเกต เนื่องด้วยธุรกิจบางประเภทพนักงานขับรถจะได้ค่าตอบแทนตามจำนวนเที่ยวที่วิ่ง หากวิ่งได้มากเท่าไรก็จะได้ค่าตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่การวิ่งที่มากขึ้น นั้นหมายความว่าพนักงานต้องเร่งรีบในการขับรถ เพื่อทำเวลาในการส่งสินค้า ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมาก
8. เช็คสภาพร่างกายพนักงานขับรถ
หากพนักงานขับรถไม่มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ถือเป็นความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ฉะนั้น ก่อนนำรถออกวิ่งงานในแต่ละเที่ยว นายจ้างควรตรวจเช็คสภาพร่างกายของพนักงานให้มีความสมบูรณ์และมีสติพร้อมเสียก่อนจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่ใช่อันตรายที่อาจจะเกิดกับลูกน้องแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถ และค่ารักษาพยาบาลพนักงานขับรถอีกด้วย
9. สอบถามจากพนักงานที่ไปด้วยกัน
ไม่ค่อยมั่นใจว่าวิธีการนี้จะได้ผลมากน้อยเท่าไร เพราะหากพนักงานที่นั่งรถไปกับคนขับมีความสนิมสนมกับคนขับมาก คงไม่ยอมบอกหรือพูดถึงพฤติกรรมที่แท้จริงหรอก อาจต้องใช้วิธีการให้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจ หรือที่เรียกว่า ติดสินบนนั้นแหละ ฟังดูแล้วอาจจะไม่ค่อยดี แต่ถ้าทำแล้วได้ผลก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุได้อีกวิธีหนึ่งเลยทีเดียว
10. นายจ้างนั่งไปกับพนักงานขับรถด้วยเลย
วิธีการสุดท้าย หาวันว่างสักวันลองนั่งไปส่งสินค้ากับพนักงานขับรถด้วยเลย อาจจะทำให้เห็นพฤติกรรมการขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร หรือขับรถเร็วเกินกว่าอัตรากำหนด หรือกระทำการฝ่าฝืนป้ายจราจร หรืออาจจะไม่เห็นพฤติกรรมด้านลบเลย เพราะพนักงานเกิดความเกร็งและเกรงใจจนไม่กล้ากระทำผิดใด ๆ ให้เห็นก็ได้
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเรื่องของความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญ ทุกองค์กรจึงควรให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าเรื่องของการหารายได้และผลประกอบการ เพราะหากลูกจ้างหรือพนักงานขาดจิตสำนึกหรือการตระหนักถึงเรื่องนี้แล้วละก็ นอกจากจะไม่มีรายได้เข้าองค์กรแล้ว ยังจะทำให้เกิดรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ด้วยความปรารถนาดีจากเราร้านไทยจราจร ผู้จำหน่ายป้ายจราจรคุณภาพสูง

 








white_paper