เป็นเรื่องน่าตกใจมาก ๆ ว่าในประเทศไทยของเรามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนติดอันดับต้น ๆ ของโลก แม้จะมีการรณรงค์ในโครงการต่าง ๆ หรือพยายามนำเสนอถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุเหล่านี้รวมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ยังพบว่าหลาย ๆ คนไม่ได้ใส่ใจหรือสนใจที่จะทำตามเท่าใดนัก กระนั้นเราทุกคนสามารถช่วยกันลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้หากรู้วิธีอันถูกต้องรวมถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้องเองก็ต้องให้ความช่วยเหลือด้วย บทความนี้ ร้านไทยจราจร จะมาบอกถึง 6 เทคนิคสำคัญในการช่วยให้คนไทยปลอดภัยเมื่อต้องใช้รถใช้ถนน
1. ตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับขี่ก่อนเดินทางรวมถึงปฏิบัติตนให้เหมาะสมระหว่างขับขี่ – ปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งมาจากความไม่พร้อมของสภาพร่างกายผู้ขับขี่ ดังนั้นสิ่งแรกที่ง่ายและใกล้ตัวมากที่สุดจำเป็นต้องเช็คให้ดีรวมถึงเมื่อขับขี่แล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมด้วย เช่น หากต้องขับรถระยะไกลควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชม., มีการหยุดพักรถเพื่อป้องกันความล้าของสายตาและร่างกายทุก ๆ 2 ชม. หรือทุก ๆ 200 กม. ไม่ใช้อุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ระหว่างการขับขี่, ไม่มีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายระหว่างขับขี่ อาทิ เปิดเพลงเสียงดัง, แต่งหน้า, ดูทีวี เป็นต้น
2. ตรวจสอบความพร้อมของรถยนต์อยู่เสมอก่อนออกเดินทาง – หลังจากเช็คสภาพร่างกายของตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้วลำดับต่อมาก็คือเรื่องของตัวรถยนต์อันเป็นยานพาหนะสำหรับใช้ในการเดินทาง โดยผู้ขับขี่ทุกคนควรมีการตรวจสอบความพร้อมในทุก ๆ ด้านของรถยนต์ให้พร้อมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากตัวรถยนต์ระหว่างเดินทาง โดยการตรวจสอบรถยนต์ประกอบไปด้วย การตรวจสอบล้อรถยนต์และยาง, ระบบทำความเร็วและเบรกต่าง ๆ , เครื่องยนต์, ของเหลว ฯลฯ หากตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหาก็พร้อมลุยกันได้เลย
3. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดรวมถึงมีน้ำใจในการใช้รถใช้ถนน – การขับขี่โดยปฏิบัติตามกฎจราจรจะช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุได้จริง เริ่มต้นจากการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อเดินทาง, ปฏิบัติตาม ป้ายจราจร ที่ระบุไว้, ใช้ความเร็วอย่างเหมาะสมตามกฎหมายกำหนด ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนจนเกินไป ส่วนการมีน้ำใจให้กับผู้ร่วมถนนก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น หากเห็นว่ารถที่จะออกจากซอยข้างหน้ายื่นออกมาเยอะแล้วก็เบรกเพื่อให้รถคันดังกล่าวไปก่อน, หากมีการขับปาดหน้าโดยไม่ได้ตั้งใจควรยกมือขอโทษ เป็นต้น
4. หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเส้นทางหรือถนนก็ต้องเอาใจใส่ด้วย – นอกจากการเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่แล้วบรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง ก็ต้องดูแลรักษาสภาพถนนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงมีการติดตั้งอุปกรณ์จราจรบางอย่างเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ด้วย เช่น มีการติดตั้ง หมุดถนนสะท้อนแสง ให้กับถนนที่ไม่ได้มีราวหรือขอบปูนกั้นระหว่างเลนตรงกับเลนสวน, ติดตั้ง ป้ายเชฟร่อน ในบริเวณทางโค้งอันตรายหรือในจุดมืด มองไม่ค่อยเห็นทาง, ติดตั้ง เป้าสะท้อนแสง ไว้ในจุดทางโค้ง, ราวสะพาน และอื่น ๆ ตามเหมาะสมเพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็นชัดเจน เป็นต้น
5. ระหว่างขับขี่หากพบปัญหาไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือตัวรถต้องรีบจอดพร้อมขอความช่วยเหลือทันที – บางครั้งเวลาที่ขับขี่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ แม้ผู้ขับขี่เองจะเช็คทั้งสภาพร่างกายตนเองและสภาพรถมาเรียบร้อยแล้ว แต่เรื่องฉุกเฉินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อยู่ดี ๆ ก็รู้สึกแน่นหน้าอก, หายใจไม่ค่อยออก, มือชา ขาชา หรือรถอยู่ดี ๆ ก็เกิดการกระตุก, เร่งไม่ขึ้น, มีควันออกมาจากกระโปรงหน้ารถ เป็นต้น หากเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ควรรีบหยุดรถพร้อมขอความช่วยเหลือโดยทันทีเพื่อไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรงกับคนอื่นตามมา เช่น ขับอยู่ดี ๆ ล้มฟุบรถหักไปชนคันข้าง ๆ , อยู่ดีเบรกเหยียบไม่ติดแล้วพุ่งไปชนคันหน้ากลายเป็นอุบัติเหตุ เป็นต้น
6. มีการตรวจสอบเส้นทาง เช็คสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย – เรื่องสุดท้ายที่จะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้คือมีการตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินทางก่อนเสมอ เช่น สภาพถนนที่จะเดินทางเป็นอย่างไร รถยนต์คันที่ขับไปเหมาะสมหรือไม่, สภาพดินฟ้าอากาศระหว่างทางฝนตก แดดออก มากน้อยแค่ไหน, เส้นทางที่จะขับไปมีไฟทางหรือเป็นถนนสายหลัก สายรอง ฯลฯ การศึกษารายละเอียดเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถขับรถได้อย่างมั่นใจมากขึ้นต่อให้ไม่คุ้นชินเส้นทางดังกล่าวแต่การมีความรู้เบื้องต้นจะทำให้เราปลอดภัยจากการขับขี่ โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็น้อย เรียกว่าสบายใจมากขึ้น
เทคนิคต่าง ๆ ที่ ร้านไทยจราจร ได้บอกมาทั้งหมดนี้เชื่อว่าจะเป็นอีกแนวทางให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนได้รับความปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมแน่ ๆ ดังนั้นก่อนออกเดินทางทุกครั้งไม่ว่าใกล้หรือไกลควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำเหล่านี้ให้ดี อย่ามองว่าเป็นเรื่องเสียเวลาหรือเรื่องไร้สาระเพราะหากเกิดอุบัติเหตุ มีความสูญเสียขึ้นแล้วยังไงก็ไม่คุ้มค่าแน่ ๆ กันไว้ดีกว่าแก้ดีกว่าต้องมานั่งเสียใจในช่วงเวลาที่สายเกินไปไม่สามารถย้อนกลับไปปรับปรุงอะไรได้แล้ว