การปั่นจักรยาน เป็นเทรนด์สุขภาพและการออกกำลังที่มาแรงในปี 2018 ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็มีกลุ่มผู้บุกเบิกการใช้พลังงานสีเขียวที่เดินทางไปทำงานด้วยการปั่นจักรยานอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมในกรุงเทพเท่าที่ควร เนื่องจากประเทศไทยเรายังขาดสิ่งอำนวยด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้จักรยาน ซึ่งแตกต่างจากหลายประเทศในทวีปยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น
แต่อย่างไรก็ตาม ร้านไทยจราจร ก็เชื่อมั่นว่าในอนาคต การปั่นจักรยานจะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยมากขึ้น ทั้งนี้เราได้รวบรวม 10 อุปกรณ์สำคัญที่นักปั่นมือใหม่ และมืออาชีพควรให้ความสำคัญเพื่อความปลอดภัยในการใช้จักรยาน
1. หมวกกันน็อคจักรยาน หรือ cycling helmet
มีความสำคัญมากอันดับต้นที่นักปั่นทุกคนควรสวมใส่ เนื่องจากมีการวิจัยมาแล้วว่าช่วยลดความรุนแรง เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่ทำจากวัสดุโฟมโพลิสไตรีน (polystyrene foam) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับแรงกระแทกได้ดี แต่หากเกิดรอยร้าว ก็จะแตกได้ง่าย จึงต้องหมั่นตรวจสอบความสมบูรณ์ของหมวกอยู่เสมอ
2. กระจกมองหลังของจักรยาน
ไม่ใช่เรื่องง่ายในการเลือกซื้อทั้งยี่ห้อและรูปทรง เนื่องจากกระจกอาจหลอกตา คือ หากรถยนต์ขับชิด ๆ อยู่ด้านหลัง เมื่อมองจากกระจกเหมือนอยู่ไกล แต่จริง ๆ แล้วรถยนต์อยู่ใกล้กว่าภาพที่เห็น ทำให้เสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง จึงควรลองกระจกหลาย ๆ แบบ และต้องใช้กับจักรยานให้คุ้นเคยกับการกะระยะเสียก่อนออกถนนจริง เพื่อป้องกันอุบัติภัยร้ายแรงที่จะตามมาได้
3. ไฟหน้าส่องสว่าง ดวงสีขาว
เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการขี่จักรยานยามเช้าตรู่หรือยามค่ำมืดที่ผู้ขับขี่รถไม่สามารถสังเกตเห็นจักรยานได้ถนัด โดยเฉพาะเมื่อมองจากกระจกด้านข้าง หรือแม้แต่การปั่นจักรยานในก๊วนเพื่อนกันเอง หากเป็นช่วงกลางคืนแล้วไม่ทันสังเกตเห็นไฟเวลาหันมามองด้านหลัง ก็จะเกิดการเกี่ยวชนจักรยานกันได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากหากเสียหลักล้ม แล้วมีรถยนต์ขับรถตามมา
4. ไฟกระพริบ
สำหรับติดท้ายรถจักรยาน เป็นดวงไฟสีแดงจากหลอด LED จะทำให้รถที่ขับตามมาจากด้านท้ายสังเกตเห็นผู้ขี่จักรยานได้ดีกว่าการใช้ไฟสว่างนิ่ง โดยควรเลือกที่มีคุณภาพดี ให้แสงที่คมชัด หากสว่างได้ไกลกว่า 1.5 กิโลเมตรได้ยิ่งดี เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องซ้อมปั่นจักรยาน (เพื่อการเล่นกีฬา) ในช่วงกลางคืน จะป้องกันอันตรายจากรถชนท้ายได้ดี
5. สปอตไลท์ LED
เรียกได้ว่าเป็นไฟฉายรุ่นใหม่ที่ให้กำลังแสงสว่างสูง เหมาะสำหรับการติดไว้ประจำรถจักรยาน เผื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เช่น ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือหรือใช้แทนไฟหน้าเป็นครั้งคราวได้ สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ขั้นต่ำ 3 ชั่วโมง (หลังการชาร์จ 6 ชั่วโมง) สามารถทนกับแรงกระแทกหรือการสะเทือนจากการปั่นจักรยานทางไกลบนถนนขรุขระ ได้ดีกว่าการใช้ไฟฉายแบบดั้งเดิม
6. กระดิ่ง หรือแตรไฟฟ้า
เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากใช้เป็นสัญญาณเตือนให้คนที่สัญจรระวังรถจักรยานหรือ เตือนรถยนต์ไม่ให้เข้ามาในเลนที่จักรยานกำลังปั่นอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีหลายรูปแบบ หลากดีไซน์ มีความคงทน ความถนัดมือในการกด และที่สำคัญคือเสียงที่ต้องมีพลังตามความเหมาะสม เช่น ไม่ควรต่ำกว่า 75 เดซิเบล สำหรับการกดกริ่งบน Bike lane ใกล้ทางเท้า และควรมากกว่า 95 เดซิเบล สำหรับการส่งสัญญาณเตือนรถยนต์บนถนน
7. เสื้อสะท้อนแสง
เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากการปั่นจักรยาน เราจะไม่สามารถหันหน้าและระวังหลังได้ตลอดเวลา การสวมเสื้อที่มี แถบสะท้อนแสง หรือ เสื้อจราจร สะท้อนแสง จะช่วยให้ผู้ขับขี่รถ หรือแม้แต่ผู้ที่เดินสัญจรสวนไปมาสามารถสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของแถบสีที่สะดุดตาได้อย่างชัดเจน ทำให้ลดอุบัติเหตุได้มาก
8. กรวยจราจรแบบพับได้
นอกจาก กรวยจราจร จะจำเป็นต่อรถยนต์ที่แนะนำว่าควรติดแถบสะท้อนแสงด้วยเพื่อความชัดเจนในยามกลางคืน จะเป็นอุปกรณ์ที่ลดอุบัติเหตุได้อย่างมากกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดอุบัติเหตุจักรยานล้ม , ยางรถรั่ว (ต้องหยุดสูบลมฉุกเฉิน) หรือแม้แต่จำเป็นต้องจอดแวะทานข้าว , ต้องพิงจักรยานข้างทาง ซึ่งอาจเป็นจุดอับสายตา การตั้งกรวยให้ห่างจากรถจักรยานไปทางด้านหลังอย่างน้อย 150 เมตร จะช่วยให้รถยนต์ที่ขับตามมาสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนและป้องกันอุบัติเหตุรถชนได้เป็นอย่างดี
9. เสาล้มลุก
เป็น เสาจราจร ประเภทหนึ่งที่เรามักเห็นจากภาพสารคดีท่องเที่ยวต่างประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่นที่มีการพัฒนาอุปกรณ์และติดตั้งตามพื้นที่สาธารณะ หรือ Bike lane เพื่อเสริมความปลอดภัยให้นักปั่นจักรยานอย่างสมบูรณ์แบบโดยตัวเสาจะทำจากวัสดุประเภทยูรีเทน เรซิน ( Urethane Resin) ที่มีความเหนียวและทนทาน และสามารถติดสติกเกอร์หรือข้อความสั้น ๆ ตามตำแหน่งที่ติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้
10. ที่จอดจักรยาน
เป็นอุปกรณ์ที่หน่วยงานของภาครัฐและบริษัทชั้นนำเอกชนสามารถติดตั้งบนพื้นถนนเพื่อเป็นการสนับสนุนให้พนักงานปั่นจักรยานไปทำงานหรือออกกำลังกายได้ เนื่องจากการมีโซนหรือพื้นที่จอดจักรยานเฉพาะ จะทำให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ขี่จักรยานและป้องกันการสูญหายได้ดียิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้กับเครื่องล็อกจักรยานได้ ซึ่งในปัจจุบันมีดีไซน์ที่หลากหลายและเหมาะกับพื้นที่ขนาดต่าง ๆ เช่น ที่จอดจักรยานรูปตัวยู (U), รูปตัว W , แบบครีบฉลาม , แบบทรงกลม , แบบแผงหรือตะแกรง 3 – 7 ช่องสำหรับจอดได้หลายคัน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการปั่นจักรยานให้ปลอดภัย ไม่สามารถใช้เพียงทักษะการปั่นที่คล่องแคล่ว เนื่องจากเราต้องใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น อุปกรณ์ทั้ง 10 ชนิดที่กล่าวมาจึงมีความสำคัญต่อนักปั่นจักรยานทุกคน หากท่านสนใจอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของการขับขี่จักรยานและรถยนต์ สามารถชมสินค้าและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ร้านไทยจราจร www.trafficthai.com ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง