ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

10 ขั้นตอนการทาสีกันลื่น COLD PLASTIC ให้มีคุณภาพ

Placeholder image

 

     

   สีกันลื่นหรือ cold plastic เป็นหนึ่งในวัสดุการช่างและการจราจรที่ช่วยลดอุบัติเหตุในการเดิน ทำกิจกรรม ขับขี่รถยนต์ มอเตอร์ไซด์และจักรยานได้ ซึ่งในวันนี้ “ร้านไทยจราจร” จะขอแนะนำวิธีการทาสีกันลื่นให้ได้คุณภาพอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่คุณสามารถนำไปทำตามได้ โดยง่าย ดังนี้
1. ในระหว่างการเตรียมพื้นที่ทำความสะอาดก่อน¬การทาสีกันลื่น ควรสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น เสื้อจราจรสะท้อนแสง หมวกนิรภัย ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย ฯลฯ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและป้องกันการสูดหายใจฝุ่นละออง สารเคมีเข้าไปในร่างกาย
นอกจากนี้ รอบบริเวณที่จะทำการปรับปรุงควรต้องติดอุปกรณ์เตือนภัยและป้องกันไม่ให้ผู้ที่สัญจรไปมาเดินเข้ามาในโซนที่เราได้ทำความสะอาดไปแล้ว ซึ่งทางที่ดีที่สุดควรล้อมพื้นที่ด้วยอุปกรณ์ด้านการจราจร อย่าง ธงราวขาวแดง กรวยจราจร แผงกั้นจราจร ฯลฯ ตั้งแต่การเริ่มต้นจนการทาสีกันลื่นเสร็จเรียบร้อย
2. ก่อนการทาสีกันลื่น เราจำเป็นต้องทำการเตรียมพื้นถนนที่จะทาให้ปราศจากสิ่งสกปรกเพื่อให้สีกันลื่นสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวถนนไว้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยการนำแปรงทางมะพร้าว หรือแปรงกวาดแบบพลาสติกด้ามยาวมาขัดตรงพื้น เพื่อเอาคราบน้ำมัน คราบดินโคลน ฯลฯ ออกไปให้หมด
และหากพื้นผิวที่มีอยู่เดิมมีการทาสีหรือเคลือบฟิล์มใด ๆ อยู่ เราแนะนำให้สวมหน้ากากนิรภัยป้องกันฝุ่นละอองแบบพิเศษด้วย เพื่อให้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในฟิล์มรวมถึงสารควบคุมอย่างตะกั่ว แคดเมียม ที่มักมีในสีถูกดูดซึมซับเข้าร่างกายในปริมาณน้อยที่สุด (สารเหล่านี้มีฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินหายใจและอาจสะสมทำให้เป็นโรคมะเร็งได้)
3. หากที่พื้นมีตะไคร่น้ำสีเขียวจับอยู่ การใช้น้ำยาขัดเป็นสิ่งจำเป็นและควรใช้การฉีดน้ำด้วยเครื่องอัดฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดตามคราบและร่องตามพื้นปูน คอนกรีต ซีเมนต์ ยางมะตอย ฯลฯ เพื่อลดปัญหาการลอกร่อนของสีกันลื่นในภายหลัง
ทั้งนี้ หากพื้นที่ที่จะทาสีกันลื่นมีความเปียกชื้น ควรปล่อยให้แห้งสนิทด้วยแสงแดดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งการมีรังสียูวีเข้มข้นจากแสงอาทิตย์ยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคในตะไคร่ และเชื้อราได้ดีขึ้นด้วย
4. เมื่อผิวถนนแห้งดีแล้ว ให้ทำการเช็คว่ามีรอยแยก รอยแตกตรงจุดใดบ้าง หากพบรอยขนาดเล็กให้ทำการอุดด้วยสีโป๊ว ลักษณะเดียวกับการแต้มสีซ่อมแซมผิวรถยนต์ หรือผนังบ้าน แต่ หากมีรอยมากก็ต้องผสมปูนฉาบตามหลุมที่ปรากฏแล้ว รอให้การฉาบแห้งสนิทดีก่อนจึงค่อยเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
5. นำเทปกระดาษกาวมาติดเป็นแนวกรอบที่จะทาสี โดยเริ่มจากกรอบวงนอกสุด เช่น ขนาดพื้นที่ 3 x 4 เมตร แล้วจึงทำการติดซอยย่อยพื้นที่ในกรอบใหญ่ เพื่อการลงสีสลับ หรือมีการเว้นวรรคช่องสีให้มีช่องว่างของพื้นที่บ้างตามที่ดีไซน์มาในแบบ ทั้งนี้ มีหลักง่าย ๆ ว่าจุดใดต้องการทาสีกันลื่นก็ปล่อยพื้นว่างไว้ แต่จุดใดต้องการลงสีที่แตกต่าง เช่น ทำเป็นรูปรถจักรยาน รูปลูกศรเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาหรืออื่น ๆ ก็ต้องติดเทปกาวที่พื้นให้เป็นรูปนั้นไว้ก่อน
6. เมื่อติดเทปกาวเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าสู่การทาสีรองพื้น หรือ primer ซึ่งเป็นสีเคมี epoxy ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำหรือเรียกว่า water-based ซึ่งควรใช้ลูกกลิ้งหรือแปรงทาเป็นแนวเดียวกัน ไม่ซ้อนทับสีกันไปมา เพราะจะทำให้ความหนาไม่สม่ำเสมอและเสียความเนียนเรียบของผิวหน้าถนนด้วย
7. ปั่นส่วนผสมของสีกันลื่นเข้าด้วยกันเป็นเวลา นาน 2 - 3 นาที เพื่อให้ส่วนประกอบหลักที่แตกต่างจากสีทั่วไปอย่าง สาร PMMA หรือ poly methyl methacrylate (มีคุณสมบัติเป็นสารยึดเกาะสร้างความแข็งแรงแก่พื้นผิว) และสาร Benzoly peroxide (เป็นสารที่ทำให้น้ำสีแข็งตัวขึ้นได้) เข้าด้วยกัน และป้องกันไม่ให้มีตะกอนของส่วนผสมเหล่านี้ตกค้างอยู่ที่ก้นถังด้วย
ทั้งนี้ ขอแนะนำให้เติมผงสีขาวซึ่งเป็นสารเร่งการแข็งตัว (สาร Benzoly peroxide ที่กล่าวไปแล้ว )ในสัดส่วนหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสีกันลื่น เช่น สีกันลื่นหนึ่งกระป๋องมีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม ก็ต้องใส่สาร BP 250 กรัม เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนการผสมนี้ควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษ โดยใช้เวลาราวครึ่งนาทีก็เพียงพอแล้ว
8. เมื่อสีผสมเข้าด้วยกันดีแล้ว ให้ทำการเทกระป๋องราดสีกันลื่นลงบนพื้นผิวถนนที่เตรียมไว้แล้วเรียบร้อย และใช้คราดยางทำการเกลี่ยสีให้กระจายทั่วพื้นที่ และทำให้มีความหนาเท่า ๆ กันทั่วบริเวณ
ในกระบวนการนี้ควรระมัดระวังไม่ให้มีคนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในพื้นที่ โดยตรวจดู อุปกรณ์จราจรที่กั้นเขตอย่าง ธงราวขาวแดง กรวยจราจร แผงกั้นจราจร ฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพปกติไหม
9. หลังจากการทาสีกันลื่นไปรอเวลาราวครึ่งชั่วโมง สีก็จะแห้ง ซึ่งหากต้องการเพิ่มความหนาเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกันลื่น ก็สามารถทาสีกันลื่นซ้ำที่ตำแหน่งเดิมได้อีก โดยไม่ ต้องทาสีรองพื้นอย่างรอบแรกแล้ว
10. หลังการทาสีกันลื่นได้ความหนาและเงางามตามที่ต้องการแล้ว สามารถเพิ่มความสะดุดตาป้องกันอุบัติภัยยามค่ำคืนได้ด้วยลูกแก้วสะท้อนแสงขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้โรยถนนโดยเฉพาะ เมื่อสีแห้งสนิทดีแล้วก็แกะเทปกาวที่พื้นออกถือว่าเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการทาสีกันลื่น

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับวิธีการทาสีกันลื่นทั้งสิบข้อที่เราได้แนะนำไปจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปที่จะทำได้ด้วยตัวท่านเอง หรือหากต้องใช้ช่างก็เป็นงานที่ไม่ยุ่งยากอย่างงานช่างถนนอีกหลายชนิด โดยสามารถใช้พื้นผิวถนนได้ทันทีหลังการทาสีกันลื่นเสร็จเรียบร้อย
หากท่านต้องการผลิตภัณฑ์สีกันลื่นที่มีคุณภาพและสินค้าด้านงานจราจรอื่น เชิญชมสินค้าของเราได้ที่ www.trafficthai.com “ร้านไทยจราจร” ยินดีให้บริการ

 

 








   

white_paper