ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

10 การออกแบบบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ

Placeholder image

 

     

                      ร่างกายผู้สูงวัยไม่เหมือนคนหนุ่มสาว อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อยภายในบ้านอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น สะโพกหัก ศีรษะแตก หรือบาดเจ็บร้ายแรงอื่น ๆ ทว่าอุบัติเหตุภายในบ้านป้องกันได้ด้วยการจัดบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย ร้านไทยจราจรจึงนำ 10 วิธีออกแบบบ้านให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุมานำเสนอให้กับทุกท่านได้นำไปใช้ ดังนี้

  1. พื้นที่ในการเดิน

สิ่งสำคัญในการจัดบ้านที่มีผู้สูงอายุ คือ จะวางข้าวของเกะกะไม่ได้เด็ดขาด ในทางตรงกันข้ามควรที่จะจัดพื้นที่ให้โล่ง ไม่มีข้าวของบนพื้น เฟอร์นิเจอร์ควรที่จะสูงกว่า 40 เซนติเมตรขึ้นไป เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม ในกรณีที่พื้นที่บางแห่งอาจมีของเกะกะบางช่วงบางคราว เช่น ห้องนั่งเล่นที่เด็กนำของเล่นมาเล่นบนพื้น ควรจัดหาอุปกรณ์กั้นพื้นที่นั้นออกจากพื้นที่ส่วนอื่น โดยคุณอาจใช้เป็นแผงกั้นพลาสติกยืดได้หดได้ เมื่อเด็กเลิกเล่นและเก็บของเสร็จก็เปิดแผงกั้นออกเป็นพื้นที่ห้องนั่งเล่นปกติ

  1. ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ

เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีสายตาผ้าฟาง มองเห็นในที่ที่มีแสงน้อยได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเวลาค่ำหรือในเวลาโพล้เพล้ แสงสว่างจึงเป็นสิ่งจำเป็น ภายในบ้านควรใช้หลอด Daylight ที่ให้แสงสว่างแบบเป็นธรรมชาติสบายตา ส่วนรอบนอกตัวบ้าน อาจใช้เป็นโคมไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ที่นอกจากจะประหยัดเพราะไม่ต้องใช้ไฟฟ้าแล้ว ยังให้แสงที่ถูกสุขลักษณะของสายตาผู้สูงอายุอีกด้วย

  1. ห้องนอนและเตียง

ผู้สูงอายุไม่ควรเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ เพราะอาจพลัดตกได้ง่าย จึงควรจัดห้องนอนเอาไว้ที่ชั้นล่าง ภายในห้องนอนควรมีโถปัสสาวะเพราะผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องเดินเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน นอกจากนี้ภายในห้องนอนควรมีโคมไฟหัวเตียงที่ผู้สูงวัยสามารถเอื้อมเปิดปิดได้เอง ไม่ควรจัดให้มีโทรทัศน์ในห้องนอนเพราะการดูโทรทัศน์มากเกินไปทำให้นอนไม่หลับ สำหรับเตียงควรมีพื้นที่ว่างโดยรอบอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อให้สามารใช้เครื่องช่วยเดินได้ดีและป้องกันการหกล้มฟาดเตียง

  1. จัดการบันไดให้มีความปลอดภัย

แม้จะจัดห้องนอนไว้ชั้นล่างแล้ว แต่เป็นไปได้ว่าท่านอาจจะขึ้นลงบันไดในบางโอกาส บันไดที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ลูกนอนควรมีความกว้าง 30 เซนติเมตร ลูกตั้งควรสูง 15 เซนติเมตร หากไม่มีราวบันไดจะต้องติดตั้งราวจับ และจะต้องหุ้มด้วยแผ่นปิดจมูกบันไดกันลื่นเสมอ

  1. การจัดห้องครัว

หากพื้นห้องครัวเป็นกระเบื้องควรปูแผ่นกันลื่น ควรมีกล่องเก็บมีดเป็นสัดส่วนและไม่วางหมิ่นเหม่จนผู้สูงอายุอาจเกี่ยวตกจากชั้นวางได้ ตู้หรือเคาน์เตอร์ภายในห้องครัวควรออกแบบเป็นบิ้วอินติดผนัง ไม่ควรวางเก้าอี้หรือเฟอร์นิเจอร์ไว้กลางห้อง เพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุเฉี่ยวชนได้

  1. ประตูและหน้าต่าง

ประตูห้องนอนสำหรับผู้สูงอายุ หากเป็นประตูบานเปิดควรมีที่ว่างหน้าประตู 1.50 x 1.50 เมตร และไม่ควรเป็นแบบลูกบิดเพราะเปิดยาก อาจทำให้เสียหลักล้มขณะเปิด แต่ควรใช้เป็นแบบคันโยกแทน ส่วนประตูห้องน้ำควรเป็นแบบบานเลื่อน ความกว้างสุทธิ 90 เซนติเมตรขึ้นไป ทั้งห้องนอนและห้องน้ำควรติดหน้าต่างบานกระจกหรือกระจกฝ้าเพื่อให้คนที่อยู่นอกห้องมองเข้าไปเห็นว่าเกิดอุบัติเหตุอะไรกับผู้สูงอายุหรือไม่

  1. ห้องนั่งเล่น

ควรใช้เก้าอี้แบบมี 4 ขา ไม่ควรเป็นเก้าอี้ที่มีแกนเดียวแล้วแยกเป็น 4 ขา หรือ 4 ล้อ เพราะอาจพลาดหกล้มได้ง่าย ควรจัดสายไฟ สายเคเบิ้ล สายแลน และสายต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ หรือหายางป้องกันสายเคเบิ้ลมาเก็บสายให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม ไม่ควรติดกระจกใสและตู้โชว์ที่เป็นกระจกใส เพราะอาจทำให้ผู้สูงวัยมองไม่เห็นและเดินชนได้ง่าย

  1. ห้องน้ำ

ห้องน้ำควรมีขนาดกว้าง มีวงรอบในการหมุนตัว 1.5 เมตร ควรออกแบบห้องน้ำให้มีม้านั่งบิ้วอินสำหรับนั่งอาบน้ำ หรือวางม้านั่งยาวไว้ในห้องน้ำ ภายในห้องน้ำควรมีแผ่นกันลื่นวางไว้เสมอ ควรหุ้มเหลี่ยมมุมต่าง ๆ ด้วยยางหุ้มเสา ที่อาจลดอันตรายจากการล้มชนเหลี่ยมปูนลงได้ ที่สำคัญจะต้องไม่มีขอบปูนที่ต้องยกเท้าก้าวข้ามไป นอกจากนี้ยังควรจัดวางสบู่แชมพูบนชั้นวางติดผนังให้เป็นระเบียบอีกด้วย

  1. พื้นที่พักผ่อน

พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของผู้สูงอายุที่ควรมีในบ้านคือสวนหย่อม เพราะนอกจากจะทำให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้ว ยังเป็นพื้นที่ให้ผู้สูงอายุออกกำลังเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกด้วย ข้อควรระวังคือพื้นที่ระหว่างชานบ้านสู่สวน โดยมากมักเป็นยกพื้นหรือบันไดเตี้ย ๆ 2-3 ขั้น ผู้สูงอายุหลายคนไม่อาจยกเท้าสูง ๆ จึงอาจสะดุดบันไดหรือยกพื้นดังกล่าวได้ จึงควรทำเป็นทางลาดเอาไว้ข้างบันไดและติดเทปกันลื่นบนทางลาดเสมอ

  1. จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

แม้จะออกแบบหรือจัดบ้านเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ภายในบ้านจึงควรมีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉินเตรียมไว้ด้วยเสมอ เช่น ปุ่มกดฉุกเฉินที่ควรติดไว้ในห้องน้ำเพื่อกดเรียกให้คนภายนอกเข้ามาช่วย ตลอดจนวิทยุสื่อสารที่ผู้สูงอายุควรพกพาติดตัวเสมอ
โดยสรุปแล้วบ้านสำหรับผู้สูงอายุควรตอบสนองสรีระของผู้สูงอายุที่ต้องใช้พื้นที่กว้าง ไม่สามารถยกเท้าสูงจากพื้นได้มากนัก รวมทั้งต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการใช้เครื่องช่วยเดิน และจะต้องไม่ลื่น นอกจากนี้ ยังต้องเตรียมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ เอาไว้เสมอ สุดท้ายนี้ร้านไทยจราจรขอให้ผู้สูงอายุทุกท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และอยู่อย่างปลอดภัยสบายใจในบ้านของท่านเอง



white_paper