ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

4 จุดที่ต้องมี ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit Sign) เป็นอย่างไร มาดูกัน!

Placeholder image

 

     

         การเตรียมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อเข้าสู่สภาวะที่คาดไม่ถึง การเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นมีองค์ประกอบหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ การฝึกซ้อมให้ทุก ๆ คนมีความพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น ร่วมไปถึงการเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการประสานงานเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งกับอาคารประเภทต่าง ๆ เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุฉุกเฉินอย่างการเกิดเพลิงไหม้นั้นก็คือป้ายทางออกฉุกเฉินนั่นเอง แต่การติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉินนั้นไม่ใช่ว่าจะติดที่ใดก็ได้ของอาคารสถานที่ แต่จะต้องติดตั้งป้ายในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ทุกคนในอาคารสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา ช่วยให้สามารถหนีออกนอกอาคารเมื่อเกิดเพลิงไหม้นั้น ร้านไทยจราจรขอแนะนำจุดที่จำเป็นต้องติดป้ายฉุกเฉินนั้นมีดังต่อไปนี้


            1.  ติดตั้งบริเวณทางออกหนีไฟ การก่อสร้างอาคารทุกประเภทจะต้องคำนึงถึงเส้นทางเข้าออกที่เพียงพอ หากโครงสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ หรือมีชั้นใต้ดินมากกว่า 2 ชั้น จำเป็นต้องกำหนดทางออกหนีไฟเฉพาะเอาไว้อย่างน้อย 1 ทาง ซึ่งทางหนีไฟนั้นจะต้องติดป้ายฉุกเฉินเอาไว้เพื่อแจ้งให้ทุกคนที่อยู่ภายในอาคารทราบ สามารถตั้งหลักหนีออกมาจากในขณะเกิดเพลิงไหม้ได้ทัน ต้องติดตั้งป้ายในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยระยะห่างยิ่งมากก็ยิ่งต้องติดป้ายทางออกฉุกเฉินให้สูงมากขึ้น กรณีติดตั้งเหนือประตู หรือทางเดิน ป้ายต้องอยู่สูงจากพื้น 2 - 2.7 เมตร ป้ายสัญลักษณ์ฉุกเฉินที่มีขนาด 10 ซม. ต้องติดตั้งภายในระยะห่างจากทางออก 24 เมตร, แต่หากเป็นป้ายขนาด 15 ซม. ติดตั้งภายในระยะห่างจากประตูทางออก 36 เมตร และขนาดของป้าย 20ซม. จะติดตั้งห่างจากประตูทางออกได้ 48 เมตร

            2.  ติดตั้งบริเวณทางออกจากห้อง บางครั้งทางออกหนีไฟก็ไม่ได้อยู่ติดกับห้องทุกห้องภายในอาคาร ดังนั้นหากห้องตั้งอยู่ภายในห่างจากทางเดินและทางออกหนีไฟก็ควรมีการติดตั้งป้ายฉุกเฉินนี้เอาไว้ด้วย ขนาดของตัวอักษรในป้ายจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน ป้ายฉุกเฉินตามระเบียบกฎหมายเรื่องการกำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยปี พ.ศ. 2555 ได้กำหนดไว้ว่าป้ายสำหรับบอกทางออกฉุกเฉินจะต้องมองเห็นได้ในที่มืด หรือมีระบบไฟแสงสว่างแม้กรณีที่ไฟฟ้าดับเพื่อเพิ่มศักยภาพในการมองเห็นนั่นเอง

            3.  ติดตั้งบริเวณมุมอับ การจัดวางตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดมุมอับทำให้ผู้ที่อยู่ภายในห้องไม่สามารถมองเห็นป้ายฉุกเฉินได้สะดวก ซึ่งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะเกิดปัญหาไม่สามารถหาทางออกฉุกเฉินได้ทัน ยิ่งเป็นแขกหรือนักเดินทางที่เพิ่งมาเข้าพักอาศัยและยังไม่คุ้นเคยกับอาคาร ก็ยิ่งยากที่จะหาทางออกฉุกเฉินได้ทันในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ และหากห้องมีลักษณะไม่เปิดโล่งไปยังทางเดิน หรือมืดสนิทหากเกิดไฟดับอาจต้องพิจารณาติดตั้งไฟฉุกเฉินเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ผู้ที่ประสบเหตุฉุกเฉินสามารถมองเห็น และหาทางเอาตัวรอดได้ทัน

            4.  ติดตั้งบริเวณทางแยก ทางเดินในอาคารหากมีการแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนอาจทำให้ผู้ที่กำลังหลบหนีสับสนไม่รู้ว่าจะหาทางออกจากอาคารได้อย่างไร ลักษณะของเส้นทางดังกล่าวควรติดป้ายแสดงทางออกฉุกเฉินเอาไว้ด้วย หรือหากเส้นทางเดินภายในอาคารมีลักษณะวกวน ก็ควรพิจารณาติดป้ายบอกทางออกฉุกเฉินเป็นระยะ ๆ จนกว่าจะถึงทางออกสุดท้ายจากอาคาร การพิจารณาระยะห่างที่เหมาะสมคือจุดทางแยก และระยะที่มองเห็นจากป้ายหนึ่งไปยังอีกป้ายหนึ่งไปตลอดเส้นทาง


                    อย่างไรก็ตามการติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติเรื่องการควบคุมอาคาร และกฎกระทรวงเรื่องการบริหารจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอัคคีภัย ซึ่งจุดที่ต้องการติดตั้งจะต้องอยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสม ห้ามมิให้มีสิ่งใดวางกีดขวาง แสงสว่างของป้ายแสดงทางออกฉุกเฉินต้องได้รับการทดสอบว่าใช้งานได้ตลอดเวลา เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ป้ายทางออกจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังควรมีการทำผังแสดงเส้นทางเข้าออกอาคารไว้ในจุดสำคัญที่คนส่วนใหญ่เดินผ่านและมองเห็นได้ เพื่อช่วยให้มีความพร้อมในการอพยพผู้คนออกมาภายนอกอาคาร

                    การพิจารณาเลือกใช้ป้ายทางออกฉุกเฉินยังควรพิจารณาที่มาตรฐานของป้ายเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์บนป้ายที่ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 10 ซม. ขนาดของอักษรในป้ายจะต้องปรับเพิ่มขึ้นตามขนาดของป้ายแสดงทางออกฉุกเฉิน รายละเอียดในป้ายนอกจากตัวอักษรแล้ว ยังอาจใช้ร่วมกับสัญลักษณ์และลูกศรบ่งบอกเส้นทางออกนอกอาคารให้ชัดเจนมากขึ้น รูปลักษณะที่เหมาะสมคือสีพื้นที่เป็นสีเขียว มีการแสดงรูปสัญลักษณ์และตัวอักษรเป็นสีขาว แสงสว่างของป้ายต้องอยู่ได้นานไม่น้อยกว่า 90 นาทีหลังไฟดับ แต่หากเป็นโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่แสงสว่างจะต้องติดต่อเนื่องไปอีก 120 นาที ทั้งนี้มาตรฐานและรายละเอียดที่กำหนดต่าง ๆ เหล่านี้ก็ล้วนเกิดขึ้นโดยพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ภายในอาคารเป็นสำคัญ ทางร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำให้ผู้ที่ต้องการนำไปใช้งานพิจารณาถึงความสำคัญของอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย เพื่อให้เลือกป้ายที่มีคุณภาพเหมาะสม ได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธี พร้อม ๆ กับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ



white_paper