ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

ขนาดลูกศรจราจร ที่ใช้ในอาคารและถนนตามมาตรฐานประเทศไทย

Placeholder image

 

     

         ลูกศรจราจรเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัย ในการขับขี่ยานพาหนะทุกรูปแบบ ตลอดจนการเดินสัญจรไปมาของผู้คนบริเวณริมทางเท้า ซึ่งในประเทศไทยของเรามีมาตรฐานจากกรมทางหลวง ในการกำหนดขนาดและลักษณะลูกศรจราจรไว้ โดยผ่านการศึกษามาแล้วว่ามีรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสังเกตของผู้ขับขี่
ในวันนี้ ร้านไทยจราจร จึงได้รวบรวมเรื่องของขนาดลูกศรตามมาตรฐานกฎหมายไทยมาฝากทุกท่าน ดังนี้

ความหมายของลูกศรจราจรทางกฎหมาย
อ้างอิงจากหนังสือคู่มือและมาตรฐานของเครื่องหมายจราจรของกรมทางหลวง ได้กล่าวไว้ว่าลูกศรจราจรต้องเป็นสีขาวหรือเหลือง เพื่อเป็นการสื่อสารแทนคำพูดหรือตัวอักษรแก่ผู้ขับขี่ว่าทางข้างหน้าให้ตรงไปต่อ หรือเป็นทางแยก เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เพื่อให้สามารถตัดสินใจชะลอความเร็วรถยนต์ได้ทันท่วงที โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่น

ขนาดของลูกศรแสดงทางตรงและทางเบี่ยงบนถนนทั่วไป
กรมทางหลวงมีมาตรฐานไว้ เราขอแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
1. กรณีถนนด้านหน้าเป็นทางตรงอย่างเดียว จะเป็นลูกศรสีขาว ก้านลูกศรกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 2.95 เมตร ส่วนหัวของลูกศรมีส่วนปีกฐานออกจากแนวกลางไปทางซ้ายและขวาข้างละ 30 เซนติเมตร ส่วนความยาวของหัวลูกศรเท่ากับ 2.05 เมตร
2. กรณีถนนมีทั้งเส้นทางตรงและมีทางเบี่ยงให้ชะลอเพื่อออกเลนขวา เส้นลูกศรหลักยังคงเหมือนเดิม ส่วนเส้นเบี่ยงให้ทำมุมลูกศรเฉียงจากแนวตรงไป 45 องศา และตีเส้นลูกศรมีความกว้าง 71 เซนติเมตร โดยจะมีส่วนปีกของฐานลูกศรออกจากส่วนแกนกลางไปข้างละ 70 และ 80 เซนติเมตร ตามตำแหน่งปีกด้านในและปีกด้านนอกของลูกศรตามลำดับ
3. กรณีถนนด้านหน้าเป็นทางบังคับให้เลี้ยวขวาเท่านั้น ให้ทำสัญลักษณ์ลูกศรขนาดแกน 15 เซนติเมตร ตามปกติแต่ส่วนลูกศรเลี้ยวขวาให้ทำตามแบบเดียวกับลูกศรเลี้ยวในกรณีตามข้อ 2 ที่กล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ นอกจากผู้ขับขี่ต้องสังเกตจากลักษณะลูกศรแล้ว ยังสามารถดูทิศทางจากป้ายจราจร ป้ายจำกัดความเร็ว และสัญญาณไฟกระพริบโซล่าเซลล์ ที่จะมีการติดตั้งเป็นระยะ ๆ ก่อนถึงจุดเลี้ยวด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการทาสีกันลื่น หรือ cold plastic ที่พื้นบริเวณทางเบี่ยงเพื่อป้องกันการลื่นไถลของรถจักรยานยนต์และรถยนต์ และที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่จราจรจะนำแผงกั้นจราจรแบบบรรจุน้ำหรือที่เรียกกันว่า แบร์ริเออร์สะท้อนแสง ไปวางตรงมุมเลี้ยวเพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุหากเกิดการเฉี่ยวชนด้วย

ขนาดของลูกศรบนถนนทางหลวงและไฮเวย์ทางคู่
เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูง จึงต้องมีการปรับขนาดของลูกศรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการขับขี่ โดยกรมทางหลวงมีข้อกำหนด ดังนี้
1. ทางหลวงทั่วไป ให้ทำลูกศรมีความยาว 10 เมตร
2. ถนนไฮเวย์ทางคู่ ให้ใช้ลูกศรขนาด 20 เมตร
โดยให้เริ่มทำสัญลักษณ์ลูกศร ตั้งแต่จุดเริ่มของทางเบี่ยงที่ต้องมีการลดความเร็วรถยนต์เรื่อยไปจนใกล้ถึงทางแยกในระยะราว 50 เมตร

ลูกศรแสดงจุดกลับรถและการเบี่ยงเข้าเส้นทางถนน
ลูกศรยังต้องเป็นสีขาวเช่นเดียวกับข้อกำหนดที่ผ่านมา โดยแบ่งประเด็นเป็น ดังนี้
1. ลูกศรสำหรับแสดงจุด U-turn เป็นการแจ้งแก่ผู้ขับขี่ว่าสามารถกลับรถที่บริเวณช่องว่างถนนนั้นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
ซึ่งลูกศรจะมีส่วนก้านกว้าง 15 เซนติเมตร ความยาว 5 เมตร และส่วนโค้งด้านบนของตัวยูจะมีขนาดความกว้าง 1.7 เมตร และส่วนหัวลูกศรที่ชี้คว่ำลงอันแสดง ถึงการ U-turn จะมีความกว้างของฐานลูกศร 75 เซนติเมตร และความยาวที่ 2.05 เมตร
2. ลูกศรแสดงการเบี่ยงเข้าเป็นการแจ้งผู้ขับขี่ให้ชะลอความเร็วและเบี่ยงรถยนต์เข้าเส้นทางหลักซึ่งจะมีจำนวนเลนถนนลดลงกว่าที่ผ่านมา ซึ่งผู้ขับขี่มักใช้ความเร็วมากกว่า 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถแตะเบรกชะลอความเร็วรถได้ทันโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ
สำหรับลูกศรทางเบี่ยงนี้จะต้องทำสัญลักษณ์ฐานให้เฉียงเป็นมุม 45 องศาเข้าหาเลนถนนที่ต้องการให้ชิดเข้าไป โดยรูปลูกศรจะมีความยาว 5.3 เมตร และส่วนหัวของลูกศรจะมีความยาว 1.7 เมตร และเพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็นจุดเสี่ยงนี้เจ้าหน้าที่จราจรจะติดตั้งไฟกระพริบโซล่าเซลล์ ป้ายจำกัดความเร็วและป้ายจราจร ในบริเวณดังกล่าวด้วย

ลูกศรสำหรับเลนรถประจำทางสาธารณะ หรือ Bus lane
กรมทางหลวงกำหนดให้ทำสัญลักษณ์ลูกศรเป็นสีเหลืองสดใส เพื่อเป็นจุดสะดุดตา และสร้างความแตกต่างจากเลนรถทั่วไป และเป็นการเตือนไม่ให้ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้เส้นทางของรถสาธารณะด้วย โดยลักษณะลูกศรจะคล้ายกับลูกศรแบบปกติที่เรากล่าวในตอนต้น คือ ลูกศรจะมีส่วนก้านยาวขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ความยาวของส่วนแกน 2.95 เมตร และมีส่วนฐานของรูปลูกศรเป็นปีกออกจากแกนกลางข้างละ 30 เซนติเมตร ส่วนหัวลูกศรมีความยาว 2.05 เมตร ซึ่งจะปรากฏคู่กับตัวอักษรสีเหลืองคำว่า BUS ขนาดใหญ่ด้วย

จะเห็นได้ว่า ข้อกำหนดต่าง ๆ ของกรมทางหลวงเกี่ยวกับขนาดและสีสันของลูกศรเป็นไปเพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ ทั้งยังมีการเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็นด้วยการติดตั้งอุปกรณ์จราจรประกอบอีกหลายชนิดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
หากท่านต้องการผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในการขับขี่และงานจราจร เชิญชมสินค้าดีมีคุณภาพของเราได้ที่ www.trafficthai.com ร้านไทยจราจร ยินดีให้บริการตลอดเวลา



white_paper