ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จะนำเรื่องราวของอาชีพที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง นั่นคือ อปพร. ซึ่งย่อมาจาก อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีกฎหมาย พรบ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 รับรองอยู่อย่างเป็นทางการ ว่า อปพร. เป็นผู้ที่มีจิตอาสา ต้องการทำงานด้านการป้องกันภัยที่จะเกิดแก่บุคคลทั่วไป โดยครอบคลุมภัยทั้งจากไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ รวมถึงภัยที่เกิดจากคน เช่น เหตุการณ์วางระเบิด เป็นต้น
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา กว่าจะได้เป็น อปพร.นั้น จำเป็นต้องผ่านการอบรมตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของ อปพร. (พ.ศ. 2531) อาทิ การอบรมด้านการบรรเทาภัยที่เกิดจากไฟไหม้ การป้องกันการก่อการร้าย วิธีอพยพคน การปฐมพยาบาลคนเจ็บ เป็นต้น ซึ่งจะมีการอบรม อปพร. ทั้งในกรุงเทพฯ และตามจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี โดยมีสองประเภทการเรียนรู้ หรือ 2 หลักสูตร
(1) หลักสูตรสำหรับผู้ยังไม่เคยผ่านหลักสูตร ทสปช. หรือ ไทยอาสาป้องกันชาติ หรือหลักสูตรแบบทบทวนของ อปพร. ของกรมการปกครอง โดยหลักสูตรนี้จะมีเวลาอบรม 5 วัน
(2) หลักสูตรสำหรับทบทวนความรู้ เหมาะสำหรับกลุ่ม ทสปช. และผู้เป็น อปพร. อยู่แล้ว เป็นหลักสูตรที่มีเวลาอบรมน้อยกว่า คือ 3 วัน ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังมีการอบรมเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ของ อปพร. เป็นระยะ ทั้งเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการ เพื่อหวังผลด้านประสิทธิภาพในการทำงานสนับสนุนเจ้าหน้าที่หลักหรือภาครัฐได้อย่างสมบูรณ์
สำหรับหน้าที่ของ อปพร. นั้น จะต้องทำภายใต้คำสั่งของ ผอ. ศูนย์ (ผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.) และแจงหน้าที่ตามฝ่ายต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ฝ่ายป้องกันสาธารณภัย มีหน้าที่สำรวจสถานที่ต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย เช่น มุมมืด จุดอับสายตา และต้องช่วยจัดหาอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ประจำตามจุดเสี่ยง เช่น
- การติดกระจกโค้งจราจร ตามมุมเลี้ยวโค้งหรือแยกถนนที่เสี่ยงต่อรถเฉี่ยวชน
- การติดโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อเหตุการณ์โจรกรรม เป็นต้น
- การเพิ่ม ป้ายจำกัดความเร็ว บริเวณพื้นที่ชุมชน เช่น ย่านโรงเรียน วัด หรือตลาด
- การเพิ่ม เทปติดถนนสะท้อนแสง เพื่อเป็นจุดสังเกตในการขับขี่และช่วยลดอุบัติเหตุจราจร
- การติดตั้ง ป้ายไฟโรงเรียนตามเขตโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อเตือนผู้ข้ามถนนให้ระมัดระวัง และเตือนผู้ขับขี่ให้ลดความเร็วลง
- การเพิ่มแบริเออร์กันชน ตามจุดที่มีการเลี้ยวโค้งหักศอก รวมถึงย่านชุมชน เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติภัยทางรถยนต์ได้
2. ฝ่ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในการบรรเทาสาธารณภัย เช่น ร่วมซ้อมในแผนป้องกันอัคคีภัยในชุมชน การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยให้พร้อมใช้เสมอ เช่น ไฟไซเรน ไซเรนเสียง เป็นต้น
3. ฝ่ายงานปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้วยการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน เช่น เสื้อชูชีพ ห่วงชูชีพ เปลสนาม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขทำงานได้อย่างราบรื่นและลดความสูญเสียจากสาธารณภัย รวมถึงต้องหมั่นซ้อมการรับมือกับเหตุร้ายต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างมีสติและปฏิบัติได้ถูกหลักการทางการแพทย์
4. ฝ่ายดูแลความสงบทั่วไป ด้วยการสอดส่องเป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจตราผู้ต้องสงสัยที่อาจเป็นภัยต่อสังคม
5. ฝ่ายงานสงเคราะห์ เป็นงานด้านการฟื้นฟูทั้งตัวคนที่ประสบเคราะห์จากภัย และฟื้นฟูอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยไว
สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำงาน อปพร. จำเป็นต้องติดตามการรับสมัครจากหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในพื้นที่เขตจังหวัดต่าง ๆ ประจำแต่ละปี ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย คือ ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เรื่องกิจการ อปพร. (พ.ศ.2553) ในข้อที่ 28 ที่ระบุว่าผู้จะทำงาน อปพร. ต้องอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ที่กรอกใบสมัคร ทั้งยังไม่มีประวัติเสื่อมเสียที่จะเป็นภัยต่อสังคม หรือเป็นคนไร้ความสามารถหรือวิกลจริต เป็นต้น เมื่อผ่านคุณสมบัติการเป็น อปพร. แล้ว จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก ผอ.ศูนย์ อปพร. และสามารถมีบัตร อปพร. ประจำตัวได้
ในส่วนของค่าตอบแทนหรือ รายได้ของ อปพร. นั้น แม้ในช่วงแรกของการก่อตั้งจะมุ่งความสำคัญที่งานจิตอาสาโดยไม่ได้กล่าวถึงผลตอบแทนทางกฎหมาย แต่ปัจจุบันได้มีการออกระเบียบที่ผ่านการลงมติจาก “คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ” หรือ กปภ.ช. โดยกำหนดให้มีค่าตอบแทนเดียวกันทั่วประเทศ คือ หากเจ้าหน้าที่ อปพร. ปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง จะได้ค่าตอบแทน 100 บาท หาก 4-8 ชั่วโมง จะได้เพิ่มอีก 100 บาท (รวมเป็น 200 บาท) และหากเกินกว่า 8 ชม. ขึ้นไป จะได้รับค่าตอบแทนเป็น 300 บาท ทั้งนี้เป็นการตอบแทนต่อน้ำใจของ อปพร. ที่เสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อทำงานเพื่อสังคม และเป็นการสนับสนุนแนวคิดที่จะให้คนในชุมชนร่วมกันเป็นหูเป็นตาในการสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยซึ่งกันและกัน
จะเห็นได้ว่า งาน อปพร. เป็นหนึ่งในงานเพื่อสาธารณะที่มีบทบาทหน้าที่หลายด้าน ทั้งการป้องกัน ปราบปรามเหตุร้าย งานสนับสนุนหน่วยงานรัฐ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยประเภทต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงภัยของประชาชนทั่วไป และลดตัวเลขอาชญากรรม และโจรกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ หากคุณต้องการสนับสนุนงาน อปพร. ด้วยอุปกรณ์ความปลอดภัยและงานจราจร หรือเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ชุมชนที่อยู่อาศัยโดยตรง ด้วยการติดตั้งเครื่องมือลดความเสี่ยงภัยทางการจราจร เชิญชมสินค้าดีมีคุณภาพของร้านไทยจราจร ได้ที่ www.trafficthai.com