หน่วยกู้ภัยคือหน่วยงานที่ทำงานเพื่อช่วยชีวิต รักษาอาการบาดเจ็บ รวมถึงระงับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หน่วยงานฉุกเฉินใช้จึงส่งผลต่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปคนอื่น ๆ เป็นอย่างมาก การออกพื้นที่ของหน่วยกู้ภัยจำเป็นต้องใช้ยวดยานพาหนะที่บรรจุอุปกรณ์สำหรับกู้ภัยไปใช้งานได้ทันที และด้วยพื้นที่จำกัดอุปกรณ์ที่นำไปด้วยควรใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไม่มากเกินไป ร้านไทยจราจรขอแนะนำอุปกรณ์จราจรที่รถกู้ภัยควรมีติดรถเอาไว้ตามรายละเอียดต่อไปนี้
1. กรวยจราจรพับได้ กรวยสำหรับควบคุมงานจราจรอาจไม่เกี่ยวข้องกับการระงับเหตุฉุกเฉินโดยตรง แต่ก็นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับงานกู้ภัยได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถใช้ป้องกันไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปวุ่นวายในบริเวณที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้ดี ทั้งยังสามารถเว้นระยะให้รถกู้ภัยคันอื่น ๆ ให้เข้ามาจอดเพื่อช่วยระงับเหตุด้วยกันได้ ยิ่งนำกรวยแบบพับมาใช้ก็ยิ่งสะดวกในการพกพาได้ง่ายมากขึ้น
2. เปลสนาม เป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต่อหน่วยกู้ภัยเป็นอย่างมาก เพราะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ผิดวิธีจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรงมากขึ้นได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วย หรือบาดเจ็บได้อย่างมาก ดังนั้นการนำเปลสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดรถกู้ภัยไปด้วยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และควรเป็นเปลที่สามารถรองรับน้ำหนักมาก ๆ ของผู้ป่วยได้ดีอีกด้วย
3. ระบบสื่อสารแบบเคลื่อนที่ การสื่อสารระหว่างหน่วยงานกู้ภัยกับหน่วยงานกู้ภัยนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหน่วยกู้ภัยจะได้สื่อสารให้ผู้ประสบเหตุหลบหนีออกมาจากสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง รวมถึงใช้ประสานงานกับผู้ประสบเหตุว่าเหตุการณ์รุนแรงมากน้อยเพียงใด มีโอกาสที่จะมีผู้สูญหายหรือได้รับบาดเจ็บเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ระบบสื่อสารที่เหมาะสมควรมีลักษณะที่เคลื่อนที่ได้อย่างโทรโข่ง เสียงสัญญาณไซเรน เป็นต้น
4. แสงสว่างเคลื่อนที่ การเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดในเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาแล้วก็อาจรบกวนระบบแสงสว่างภายในตึก หรืออาคารต่าง ๆ ให้ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ กลายเป็นการยากที่หน่วยกู้ภัยจะปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานกู้ภัยจึงควรเตรียมแสงสว่างเคลื่อนที่เอาไว้ใช้งานด้วย ไม่ว่าจะเป็นไฟฉายประเภทคาดศีรษะที่จะช่วยให้งานของหน่วยกู้ภัยได้สะดวกขึ้นเพราะมือยังเป็นอิสระ หรือไฟฉายประสิทธิภาพสูงที่ให้แสงสว่างได้ดีและเป็นระยะเวลานานเพียงพอกับการทำงานของหน่วยกู้ภัย
5. วิทยุสื่อสาร เครื่องมือสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กู้ภัยก็มีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอุปกรณ์อื่น ๆ เลยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะวิทยุสื่อสารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วของหน่วยงานกู้ภัย ยิ่งในกรณีเข้าไปในอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำให้สัญญาณโทรศัพท์หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ เกิดปัญหา ก็จะยังคงช่วยให้หน่วยงานกู้ภัยสามารถติดต่อประสานงานกันต่อไปได้ด้วยวิทยุส่งสัญญาณสื่อสารนั่นเอง
6. หมวกนิรภัย การเข้าปฏิบัติงานของหน่วยกู้ภัยหลายครั้งจำเป็นต้องเข้าไปยังภายในอาคารหรือสถานที่ซึ่งโรงสร้างบางส่วนไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์เพื่อรักษาและป้องกันร่างกายของหน่วยกู้ภัยให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหมวกนิรภัย รองเท้าเซฟตี้ หรืออุปกรณ์ป้องกันการเกิดอันตรายต่อร่างกายส่วนอื่น ๆ ของหน่วยกู้ภัย
7. กระบองไฟกระพริบ หากภัยร้ายเกิดในบริเวณที่มีการสัญจรคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นบนท้องถนน หรือบริเวณทางเดินที่มีผู้สัญจรเดินทางไปมาอยู่ตลอดนั้น การให้สัญญาณเพื่อควบคุมการสัญจรของผู้คนเหล่านั้นก็นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะใช้เป็นสัญญาณเพื่อป้องกันไม่ให้ยวดยานพาหนะคันอื่น ๆ ก่ออุบัติเหตุซ้ำซ้อน หรือเกิดเหตุชุลมุนเนื่องจากผู้คนที่เข้ามามุงดูเหตุการณ์ได้ดี เพราะกระบองไฟกระพริบยังสามารถให้สัญญาณเสียง และแสงสว่างที่มองเห็นได้ชัดเจนดี
8. ถังออกซิเจน หลายครั้งที่ผู้ประสบเหตุประสบอันตรายจนไม่สามารถหายใจได้สะดวก หรือพื้นที่ภายในที่พบผู้ประสบภัยมีลักษณะของปริมาณออกซิเจนที่ต่ำผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ประสบเหตุไฟไหม้ หรือภายในพื้นที่อับที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ ดังนั้นหน่วยกู้ภัยจำเป็นต้องพกถังออกซิเจนออกไปปฏิบัติงานด้วยทุกครั้ง
9. อุปกรณ์ช่วยในการโรยตัว เชือกหรืออุปกรณ์โรยตัวคืออุปกรณ์ที่หน่วยกู้ภัยควรมีติดรถเอาไว้เสมอ เพราะบางครั้งบันได หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ก็ยากต่อการเข้าถึงของหน่วยงานกู้ภัยได้ การนำอุปกรณ์ช่วยโรยตัว หรือเชือกเซฟตี้ที่มีความเหนียวเป็นพิเศษก็จะช่วยให้สามารถเข้าถึงผู้ประสบเหตุได้ง่ายขึ้น เกิดความปลอดภัยต่อตัวของหน่วยกู้ภัยด้วย
10. ถังดับเพลิง อุปกรณ์ระงับเหตุเพลิงไหม้ชนิดนี้นับว่ามีความจำเป็นมากสำหรับหน่วยกู้ภัย เพราะเพลิงไหม้คือภัยพิบัติรูปแบบหนึ่งที่ก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในปริมาณที่มากมายมหาศาลได้ การพกพาถังดับเพลิงไว้บนรถจึงนับว่ามีความสำคัญมาก และรูปแบบของถังดับเพลิงยังถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการพกพาได้สะดวกมากขึ้น
งานของกู้ภัยคืองานที่ให้ความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัยทุก ๆ คน ความพร้อมในการดำเนินการต่อภัยพิบัติทุกรูปแบบจึงมีความสำคัญต่อหน่วยกู้ภัยเป็นอย่างมาก ยิ่งอุปกรณ์ที่พกพามีลักษณะไม่ใหญ่มากเกินไป น้ำหนักกำลังเหมาะสม ก็จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่เกิดเหตุเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ดีร้านไทยจราจรขอแนะนำว่าจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย ต้องมีความทนทาน และเหมาะกับการใช้งานทุกสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างสูงสุด