ตามมารยาทในการขับขี่รถที่รณรงค์กันอยู่บ่อย ๆ นั่นคือเวลาเห็นรถกู้ภัยหรือรถฉุกเฉินต่าง ๆ ผู้ที่ใช้ถนนร่วมกันอยู่ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางเพื่อให้รถเหล่านี้ไปก่อน ด้วยเราไม่รู้ว่าอาการที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่นั้นร้ายแรงแค่ไหน หรือคนบาดเจ็บในรถอาจเป็นคนรู้จักของเราก็ได้ หรือหากไม่ใช่คนรู้จัก แต่ก็ต้องคำนึงถึงความมีมนุษยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ... เมื่อพูดถึงรถกู้ภัย เคยตั้งข้อสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมรถคันแค่นี้แต่สามารถช่วยเหลือหรือนำส่งคนป่วยไปโรงพยาบาลได้ทันเวลา นั่นเพราะพวกเขามีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับงานแบบนี้โดยเฉพาะนั่นเอง ร้านไทยจราจร ขอแนะนำกับ 10 อุปกรณ์ที่บรรดารถกู้ภัยทั้งหลายต้องมีติดเอาไว้สำหรับรองรับในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
1. วิทยุสื่อสาร – เป็นสิ่งที่รถกู้ภัยจะขาดไม่ได้เลย เพราะนี่คือเครื่องมือที่ใช้ในการรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร อาทิ รายงานเกี่ยวกับพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุ, สภาพเส้นทางการจราจรระหว่างทางที่กำลังไป, โรงพยาบาลที่กำลังจะรับตัวผู้ป่วยต่อ ฯลฯ การมีวิทยุสื่อสารถือเป็นเครื่องมือประจำรถและเครื่องมือประจำกายของเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่มือถือก็คงใช้แทนไม่ได้จริง ๆ
2. เครื่องมือหัตถการต่าง ๆ – ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บจำเป็นต้องทำการปฐมพยาบาลอย่างเร่งด่วน เช่น ผ่าตัดนำลูกกระสุนออกจากร่าง, คลอดลูกกะทันหัน ฯลฯ เครื่องมือหัตถการต่าง ๆ เช่น มีดผ่าตัด, กรรไกรผ่าตัด, ปากคีบ, สำลี, ถ้วยใส่น้ำยาเช็ดแผล, ถุงมือ, ผ้าปิดปาก, หมวกคลุมผม และอื่น ๆ ต้องพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว หากไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ โอกาสที่คนป่วยจะมีอาการหนักกว่าเดิมย่อมมีสูง
3. แสงสว่างภายในรถ – เรื่องต่อมาเป็นอุปกรณ์ส่องสว่างภายในรถที่ไม่ใช่แค่ไฟในรถอย่างเดียว แต่ควรมีหลอดไฟแบบพกพา หรือโคมไฟที่ติดตั้งโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่ของตัวรถก็ต้องมีเอาไว้ เผื่อต้องทำแผลอย่างเร่งด่วนหรือการตรวจอาการคนไข้ทันทีเมื่อขึ้นมายังรถกู้ภัย หากไม่มีระบบแสงสว่างที่ดีก็อาจไม่สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เช่นกัน
4. เสื้อชูชีพ – กรณีที่การกู้ภัยนั้นต้องลงไปในน้ำแม้จะเป็นคนว่ายน้ำเก่งแค่ไหนก็ตามทว่าเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นหากสังเกตจะพบว่ารถกู้ภัยหลาย ๆ คันมีการใส่เสื้อชูชีพ, ห่วงยาง, เชือกคล้อง ติดไว้เสมอ หลาย ๆ เหตุการณ์เราจะพบว่าจำเป็นต้องเลือกใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
5. กรวยจราจร – เป็นอุปกรณ์สำหรับการปิดกั้นกรณีไปถึงจุดเกิดเหตุแล้วไม่ต้องการให้รถผ่านเข้าไป ก็ต้องใช้กรวยจราจรวางกั้นเป็นเส้นทางหรือกั้นทางเอาไว้ให้ผู้ขับขี่ที่ตามมารู้ว่าด้านหน้ามีเรื่องเร่งด่วนหรือเรื่องจำเป็น จึงไม่สามารถใช้เส้นทางได้ชั่วคราว ถือว่าอุปกรณ์ชนิดนี้ต้องมีติดรถตลอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากรถที่ตามมาและมองไม่เห็น หรือไม่ได้สังเกตว่าข้างหน้ามีเรื่องด่วน
6. เสื้อสะท้อนแสง – หากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางคืนการใส่เสื้อสะท้อนแสงจะช่วยให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยปลอดภัยจากเหตุไม่คาดฝันหลาย ๆ อย่างขึ้นได้ เช่น กำลังช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งหากไม่สวมเสื้อสะท้อนแสงลงไป รถที่วิ่งผ่านอาจไม่รู้ว่าข้างหน้ามีคนกำลังเข้าช่วยเหลือเลยขับเข้าไปจนทำให้เกิดอุบัติเหตุเอาได้ง่าย ๆ เป็นต้น หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในที่มืด การใส่เสื้อแบบนี้ไว้ย่อมปลอดภัยมากกว่า เพราะเป็นที่สังเกตได้ดีกว่า
7. ไฟฉายและไฟฉายสปอตไลท์ – ถือว่าเป็นอุปกรณ์คู่ใจบนรถกู้ภัยก็ไม่ผิดนัก เพราะหน่วยกู้ภัยเองไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรรออยู่ข้างหน้า เช่น ไปช่วยจับจระเข้เวลากลางคืน หากไม่มีการใช้ไฟฉายสปอตไลท์ฉายเข้าไปก่อน โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูง หรือการเดินลุยเข้าไปในพงหญ้ามืด ๆ รก ๆ การพกไฟฉายไปด้วย จะช่วยให้รู้ว่าเส้นทางข้างหน้าเป็นอย่างไร มีความอันตรายหรือไม่ ควรไปต่อ หรือเปลี่ยนเส้นทาง หรือถอยกลับตั้งหลักก่อน
8. เปลสนาม – การขนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ จำเป็นต้องระมัดระวังมากที่สุด หากเกิดการกระแทกหรือการอุ้มที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้พิการหรือถึงชีวิตได้ เปลสนามจึงนับเป็นอีกอุปกรณ์สำคัญที่รถกู้ภัยทุกคันต้องมีติดเอาไว้สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุมายังรถแล้วนำส่งโรงพยาบาลต่อ
9. เทปกั้นเขตหรือยูโรเทป – ในกรณีที่ไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเข้าไปเดินยุ่มย่ามบริเวณจุดเกิดเหตุก็จำเป็นต้องเอาเทปกั้นเขตพร้อมข้อความไปกั้นเอาไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อเป็นการประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ใครที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการทำงานในครั้งนี้ ห้ามเข้ามารบกวนการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด
10. ถังดับเพลิง – เป็นประเภทของถังที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก กรณีเกิดเหตุที่เกี่ยวข้องกับไฟไหม้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไฟไหม้รถยนต์บนถนน เมื่อรถกู้ภัยไปถึงก็สามารถหยิบถังดับเพลิงมาฉีดเพื่อให้เพลิงสงบได้ทันที เป็นการระงับเหตุไม่ให้เพลิงลามไปยังจุดอื่นจนอาจเกิดอันตรายเป็นวงกว้างได้มากกว่าเก่า
ทั้ง 10 อุปกรณ์ที่ ร้านไทยจราจร นำมาเล่าสู่กันฟังนี้นับว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ทั้งหมดภายในรถกู้ภัยเท่านั้น เพราะอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและไม่มีใครรู้ได้เลยว่าต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ บ้างในการช่วยเหลือ ไม่แปลกหากเราเห็นว่ารถกู้ภัยทั้งหลายจะเต็มไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเอาไว้ระงับเหตุหรือบรรเทาทุกข์จากหนักให้กลายเป็นเบาได้อย่างทันท่วงที