ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

9 อุปกรณ์ที่ช่วยลด อุบัติเหตุในปั๊มน้ำมัน

Placeholder image

 

      ปั้มน้ำมันเป็นสถานที่หนึ่งที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้โดยสารมีโอกาสได้ใช้บริการเป็นประจำ เพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิง เติมแก๊ส เข้าห้องน้ำ หรือแวะร้านอาหารในปั้มน้ำมัน การใส่ใจด้านความปลอดภัยและการจราจรภายในปั้มน้ำมันจึงสำคัญ เพราะลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้อย่างมาก ร้านไทยจราจรจึงได้รวบรวม 9 อุปกรณ์ที่ปั้มน้ำมันควรมีเพื่อลดอุบัติภัย ดังนี้

      1. กรวยจราจรสีส้มสะท้อนแสง เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการกำหนดเส้นทางเดินรถภายในปั้มน้ำมัน ช่วยให้การจัดระเบียบให้รถเข้าคิวตามหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สตามจุดต่าง ๆ ทำได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยควรเลือกกรวยจราจรที่ผลิตจากวัสดุที่มีความคงทนสูงอย่าง EVA หรือ PVC มีมาตรฐานความสูง 50, 70 หรือ 80 เซนติเมตร คาดแถบสะท้อนแสง เพื่อสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน

      2. แผงกั้นจราจร ทำจากเหล็กแป๊ปหรือสแตนเลส ขนาดมาตรฐาน 1, 1.5, 2 และ 3 เมตร ทั้งแบบมีล้อและเป็นขาตั้ง ช่วยแยกโซนพื้นที่ให้บริการเช่น จุดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง จุดเช็คลมยาง จุดตรวจสอบสภาพรถ โดยทางปั้มน้ำมัน สามารถเพิ่มการติดป้ายข้อความ (แบบสะท้อนแสงได้) ขนาดใหญ่ 65x45 ซม. เช่น “รับบริการxx เชิญด้านนี้” บนแผงกั้นจราจร เพื่อเป็นการสื่อสารที่ชัดเจนและลดความสับสนของผู้ใช้บริการปั้มน้ำมันได้อย่างมาก

      3. กระจกโค้งจราจร ช่วยให้การเพิ่มวิสัยทัศน์ภายในปั้มน้ำมันตามจุดต่าง ๆ เนื่องจากจะมีรถเข้าออก และมีคนที่ลงจากรถไปใช้บริการห้องน้ำ ซื้ออาหารในร้านสะดวกซื้อตลอดเวลา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกรถเฉี่ยวชนได้ โดยเฉพาะในปั้มน้ำมันขนาดใหญ่ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดอุบัติภัยในปั้มน้ำมันได้เป็นอย่างดี โดยกระจกโค้งจราจรที่นิยมในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
- กระจกโค้งทำจากวัสดุโพลีคาร์บอเนต ที่มีความโดดเด่นในความทนตกไม่แตก ยุบตัวได้ และมีการเคลือบสารกันรอยที่กระจก
- กระจกโค้งแท้ ไม่เป็นรอยง่าย ช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ได้อย่างคมชัด
- กระจกโค้งสแตนเลส ทนทานที่สุด ไม่เป็นรอยง่ายอายุใช้งานยาว 10 ปี ไม่บุบไม่แตก แม้โดนหินกระแทก

      4. ยางกั้นล้อรถ เป็นสิ่งที่ควรมีไว้ห้ามรถไหลหรือช่วยให้รถหยุดนิ่งไวขึ้น โดยเฉพาะรถขนาดใหญ่ รถบรรทุก รถขนส่งสินค้า ฯลฯ เพราะรถขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีแรงเฉื่อยสูงตามมา ยางกั้นล้อรถยังช่วยป้องกันเหตุรถไหลจากการลืมกดเบรกมือได้ด้วย

      5. เสากั้นรถ หรือ TRAFFIC BOLLARD เป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปั๊มน้ำมัน เพราะทุกแห่งจะมีอาคารอื่น ๆ ในบริเวณปั๊มน้ำมันด้วย เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ พื้นที่ทางเดินเท้า ซึ่งต้องได้รับการป้องกันภัยจากการถูกรถยนต์พุ่งชน ดังที่เราได้เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง อุบัติเหตุและความสูญเสียจะบรรเทาลง หากมีเสาเหล็กกั้นรถเป็นตัวช่วยป้องกัน ซึ่งร้านไทยจราจรมีจำน่ายทั้งแบบเสากั้นรถแบบที่ถอดได้ หรือแบบเก็บลงในพื้นดินได้ และแบบติดตั้งถาวร มีความแข็งแรง ทนทาน โดยมีวัสดุให้เลือก 4 แบบคือ เหล็ก สแตนเลส กัลวาไนซ์ และแบบ PU (Polyurethane)

      6. ป้ายกล่องไฟ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการเห็นปั้มน้ำมันได้ชัดเจนตั้งแต่ทางเข้า ซึ่งกฎหมายระบุให้แยกกันกับทางออก การเพิ่มข้อความที่สั้นกระชับจะช่วยในการสื่อสารและบริการเส้นทางเดินรถภายในปั้มน้ำมันได้ดีขึ้น เช่น “ทางเข้า” “ทางออก” “จุดเติมแก๊สNGV” เป็นต้น ทั้งนี้ควรเลือกป้ายกล่องไฟ ที่ทำจากวัสดุเกรดดีอย่างอะคริลิค มีขนาดมาตรฐานไม่ต่ำกว่า 20x120x240 เซนติเมตร ยึดด้วยพุกเหล็กมีความแน่นหนาและให้ไฟส่องสว่าง (กำลังไฟ 220 โวลต์) เห็นจากระยะไกลไม่น้อยกว่า 100 เมตร

      7. ยางชะลอความเร็วรถ และ ป้ายจำกัดความเร็ว เป็นสิ่งที่ช่วยลดความเร็วของรถที่เข้ามาใช้บริการในปั้มน้ำมัน และควบคุมไม่ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูงในบริเวณปั้มน้ำมัน อันทำให้เสี่ยงต่อการเฉี่ยวชนอุปกรณ์ให้บริการ เช่น หัวจ่ายน้ำมัน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก โดยควรใช้ป้ายจำกัดความเร็วที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 45x60 เซนติเมตร ใช้สติ๊กเกอร์ที่สามารถสะท้อนแสงในที่มืดได้

      8. ป้ายจราจร เช่น ป้ายลูกศรเพื่อชี้เส้นทาง ป้ายเตือนอันตรายต่าง ๆ โดยกฎหมายระบุให้มีการเตือนภัยจากการจุดบุหรี่ การโทรศัพท์ การสร้างประกายไฟ ด้วยการติดป้ายเตือนในขนาดที่เหมาะสม บริเวณจุดเสี่ยง เช่น หัวจ่ายน้ำมัน และบริเวณเติมน้ำมันหล่อลื่น แม้จะมีข้อกำหนดให้มีการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงและวัตถุกลุ่มไวไฟมากไว้ใต้ระดับพื้นดิน แต่ก็ต้องร่วมมือกัน ไม่ประมาท เพื่อลดอุบัติภัยในปั้มน้ำมัน

      9. ป้ายตั้งถังดับเพลิง และอุปกรณ์ดับเพลิงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในปั้มน้ำมัน โดยกฎหมายระบุให้มีจำนวนถังดับเพลิงสัมพันธ์กับแท่นจ่ายน้ำมัน คือ ถ้ามีไม่เกิน 4 แท่น ต้องมี 2 ถังดับเพลิง ถ้ามี 5-8 แท่นต้องมี 3 ถังดับเพลิง หากมีมากกว่า 8 แท่น ต้องเพิ่มถังดับเพลิงในอัตรา 3 แท่นต่อ 1 ถัง โดยป้ายตั้งถังดับเพลิงควรทำจากวัสดุที่มีความคงทนอย่างสแตนเลส หรือเหล็ก โดยมีความสูงของเสาจากพื้นดินไม่ต่ำกว่า 100 เซนติเมตร เพื่อให้ป้ายขนาด 20x30 ซม. อยู่ในระดับสายตาพอดี ซึ่งรายละเอียดในป้ายควรมีความสั้นกระชับ หรือเป็นภาพแสดงการใช้ถังดับเพลิงที่เข้าใจง่าย

      จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ทั้ง 9 ชนิดที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่เราเห็นกันคุ้นตา แต่อาจไม่ทราบถึงประโยชน์และความจำเป็นที่ต้องติดตั้งในปั้มน้ำมัน เชื่อว่าหลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว ทุกท่านจะตระหนักถึงความสำคัญของการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อป้องกันภัยในปั้มน้ำมันยิ่งขึ้น และร้านไทยจราจรขอร่วมสนับสนุนการเสริมสร้างความปลอดภัยในปั้มน้ำมันด้วยการติดตั้งอุปกรณ์จราจร เพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยต่าง ๆ เชิญชมสินค้าและสอบถามรายละเอียดได้ที่ www.trafficthai.com


white_paper