พนักงานดับเพลิงถือเป็นแนวหน้าที่ต้องเสี่ยงภัยเข้าใกล้เปลวเพลิงเพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ หน้าที่การงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจึงมีความเสี่ยงสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับพนักงานดับเพลิงจึงแตกต่างจากอุปกรณ์สำหรับเหตุเพลิงไหม้ของอาคารทั่วไป เพราะนอกจากจะช่วยในการระงับเหตุแล้ว ยังต้องช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่ในขณะอยู่ท่ามกลางเปลวเพลิงที่ร้อนระอุได้นานเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยด้วย ทางร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำ 5 อุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจำเป็นต้องใช้เพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ตามรายละเอียดต่อไปนี้
1. ชุดทนไฟหรือชุดผจญเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันพนักงานดับเพลิงให้ปลอดภัยจากความร้อนของเปลวไฟ ชุดทนไฟที่ดีควรมีสีสะท้อนแสงหรือสีสันสดใสที่มองเห็นได้ง่าย เพื่อให้ผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย วัสดุที่นำมาผลิตเป็นชุดทนไฟมักมีลักษณะเป็น 2 ชั้นประกอบด้วยชั้นนอกเป็นผ้าใบเพื่อป้องกันการเปียกชื้นเมื่อสัมผัสน้ำหรือสารเคมีดับเพลิง ทั้งยังต้องทนทานต่อความร้อนได้ดี ชั้นในจะเป็นผ้าร่มกันน้ำ ซับในกันน้ำที่จะช่วยกระจายความชื้นและเหงื่อให้กับเจ้าหน้าที่ในขณะปฏิบัติงานได้ดี ยิ่งชุดทนไฟมีคุณภาพในการทนทานความร้อนได้ดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานดับเพลิงได้ดีมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเมื่อใช้เสริมร่วมกับอุปกรณ์ทนไฟอื่น ๆ อย่างถุงมือกันความร้อน รองเท้าทนไฟ และหน้ากากป้องกันเปลวไฟก็ช่วยให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าใกล้จุดต้นเพลิงได้ง่าย ปลอดภัย และสะดวกมากขึ้น
2. กรวยจราจร อาจเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดับเพลิงโดยตรง แต่กรวยควบคุมการจราจรจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถกำหนดเขตพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกเข้าไปรบกวนการทำงานได้ดี รวมทั้งยังช่วยควบคุมการสัญจรของรถและผู้คนให้ออกไปจากบริเวณอาคารและสถานที่ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย กรวยควบคุมจราจรจึงเป็นอุปกรณ์เจ้าหน้าที่ดับเพลิงควรมีเอาไว้ใช้งาน แม้ไม่ได้ใช้ระงับเหตุเพลิงไหม้โดยตรง แต่ก็มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
3. ถังออกซิเจน บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ถือเป็นจุดอับอากาศเพราะระดับออกซิเจนจะมีน้อยกว่าปกติ ถังออกซิเจนจึงนับเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของชีวิตพนักงานดับเพลิง ควรเลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีให้เลือกขนาด 4, 6, 6.8 และ 9 ลิตร ในระหว่างการใช้งานพนักงานต้องตรวจสอบระดับออกซิเจนภายในถังดับเพลิงอยู่เสมอด้วยว่ายังมีเพียงพออยู่หรือไม่ หากถังออกซิเจนอยู่ในเกณฑ์ใกล้หมดอาจต้องเปลี่ยนถังหรืออพยพออกมาก่อนเพื่อความปลอดภัยของตัวพนักงานดับเพลิงเอง
4. ไซเรนมือหมุน การนำไซเรนมือหมุนมาใช้จะเป็นการให้สัญญาณเตือนกับผู้ที่ยังหลงเหลืออยู่ในอาคารหรือสถานที่ที่เกิดเพลิงไหม้ได้ดี ยิ่งอยู่ในรูปของอุปกรณ์ที่พกพาได้ ก็ยิ่งช่วยอำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในการอพยพผู้คนที่อยู่ในจุดอับหรือยากต่อการเข้าถึงได้ดี เสียงที่ดังออกมาจะดังมากเพียงพอที่จะช่วยพวกเขาเหล่านั้นทราบได้ว่าจะต้องวิ่งออกมาในทิศทางใดจึงจะมีโอกาสพบเจ้าหน้าที่และเกิดความปลอดภัยได้มากที่สุด บางครั้งอาจใช้เป็นอุปกรณ์เสริมร่วมกับไฟไซเรนที่มองเห็นได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเหตุให้ทั่วทั้งอาคารได้พร้อม ๆ กันได้เป็นอย่างดี
5. เปลสนาม เมื่อประสบเหตุเพลิงไหม้ ผู้ประสบเหตุย่อมกำลังเผชิญกับอันตรายจากหลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นความร้อนที่มาจากเปลวเพลิงที่กำลังลุกไหม้ ควันที่กระจายทั่วทั้งตึกและอาคารที่จะส่งผลให้เกิดอาการสำลัก หายใจลำบาก หรือแม้แต่สิ่งของต่าง ๆ ที่สามารถตกกระแทกมาใช้ผู้ที่อยู่ภายในอาคาร อันเนื่องมาจากการเสียสภาพจากเหตุเพลิงไหม้ ดังนั้นจึงเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บในระหว่างการออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยอย่างเปลสนามที่มีน้ำหนักเบา สามารถพับเก็บได้แต่รองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้มากมาใช้งาน
การทำงานของพนักงานดับเพลิงนอกจากระงับเหตุในกรณีที่อาคารเกิดเพลิงไหม้แล้ว พนักงานดับเพลิงยังมีหน้าที่ช่วยเหลืออพยพผู้ประสบภัยออกมาจากอาคารที่เกิดเหตุไฟไหม้ให้รวดเร็วและปลอดภัยมากที่สุด รวมถึงการฝึกอบรมให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารทุกคนทราบวิธีการเอาตัวรอดจากอาคารและสถานที่นั้น ๆ ได้ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของพนักงานดับเพลิงจึงมีอยู่มากมาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการมองเห็น และการได้ยิน รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเคลื่อนย้ายและอพยพผู้คนออกจากพื้นที่แม้ว่าจะเกิดการบาดเจ็บอย่างเปลสนามและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ซึ่งนอกเหนือจากอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับพนักงานดับเพลิงแล้ว อาคารและสถานที่ต่าง ๆ เองก็ควรมีอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างป้ายบอกจำนวนชั้น ผังทางเดินหนีไฟ ป้ายทางออกฉุกเฉิน รวมทั้งระบบแสงสว่างที่ทำให้เจ้าหน้าที่มองเห็นพื้นที่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี คุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่เลือกใช้เหมาะสม รวมถึงการบำรุงรักษาให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ มีการดูแลทางหนีไฟให้ไร้สิ่งกีดขวางหรือข้าวของที่วางระเกะระกะ เพียงเท่านี้ทางร้านไทยจราจรก็เชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและทุกคนภายในอาคารจะมีความปลอดภัยแม้ในสภาวะอันตรายอย่างการเกิดเพลิงไหม้ได้เป็นอย่างดี