ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

5 วิธี ช่วยลดมอเตอร์ไซค์ขับขึ้นทางเท้า!

Placeholder image

 

      ปัญหาเรื่องมอเตอร์ไซค์ขับขึ้นทางเท้า ถือเป็นปัญหาโลกแตกที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในเมืองไทย สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการที่จราจรบนท้องถนนหนาแน่นขึ้น มีแต่รถยนต์เต็มไปหมด ถ้าต้องต่อคิว กว่าจะออกไปจนพ้นสี่แยก หรือไปถึงที่หมาย ก็คงเสียเวลาไม่ใช่น้อย ประกอบกับความมักง่ายของผู้ใช้มอเตอร์ไซค์หลายคนที่รักสบาย อยากไปถึงที่หมายแบบเร็วๆ จึงนำรถขึ้นมาขับรถบนทางเท้า โดยที่ไม่ได้สนใจแม้แต่น้อยว่าผู้ใช้ทางเท้าคนอื่นๆ จะได้รับความเดือดร้อนอย่างไรบ้าง และไม่เพียงเท่านั้น ความมักง่ายของคนเหล่านี้ยังพัฒนาขึ้น จนถึงกับไปด่าผู้ใช้ทางเท้าว่าเดินเกะกะขวางทาง ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นฝ่ายผิดแท้ๆ

แต่การที่จะตักเตือนผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ทั้งหมดว่าไม่ให้ขึ้นมาใช้ทางเท้า คงเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางว่าให้ใช้วิธีป้องกันมอเตอร์ไซค์ไม่ให้ขึ้นทางเท้าไปเลยจะดีกว่า ถามว่าแล้วเราจะป้องกันได้อย่างไรละ ร้านไทยจราจรมีทริคมาแนะนำดังนี้

      1. นำเสากั้นรถมอเตอร์ไซค์มาติดตั้ง เสากั้นรถมอเตอร์ไซค์นี้จะมีลักษณะเป็นเสามีแขนยื่นออกมาทางซ้ายข้างหนึ่ง ทางขวาข้างหนึ่ง เว้นระยะเพียงเล็กน้อยพอให้คนเดินผ่าน หรือให้คนเข็นจักรยานผ่านได้เท่านั้น สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีตัวรถขนาดใหญ่ จะไม่สามารถเข็นหรือขี่ผ่านเสากั้นนี้ได้ หากยังดื้อรั้นขี่ผ่านแบบไม่สนใจสิ่งใดอีก ก็จะส่งผลให้ถูกเสากั้นนี้เกี่ยวจนรถล้ม ได้รับบาดเจ็บได้ ถือเป็นอุปกรณ์จราจรที่ช่วยป้องกันไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ขึ้นทางเท้าได้ดีจริงๆ

      2. ติดตั้งเสาเหล็กกั้นรถไว้ริมทางเท้า บริเวณทางขึ้นทางเท้า เสาเหล็กกั้นรถจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยกว่า คือ เป็นแท่งเหล็ก หรือแท่งสแตนเลสตั้งเป็นเสาขึ้นมา เมื่อต้องการป้องกันรถจักรยานยนต์ ก็เพียงแค่ติดตั้งเสานี้ไว้ในระยะถี่ๆ พอแค่ให้คนเดินผ่านได้เท่านั้น สามารถป้องกันรถมอเตอร์ไซค์ได้เหมือนกัน หรือถ้าต้องการใช้เสาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเมื่อเผลอขับชนเข้า จะใช้เป็นเสาล้มลุกก็ได้ แต่ต้องระวังหน่อย เพราะมอเตอร์ไซค์สามารถขับผ่านเสาล้มลุกได้ ต้องปักให้ถี่กว่าเสากั้นรถมอเตอร์ไซค์ หรือเสาเหล็กกั้นรถทั่วไปสักหน่อย

      3. ติดตั้งที่บังคับเดินรถทางเดียว พร้อมหนามแทงล้อบริเวณทางขึ้นทางเท้ากันไปเลย อุปกรณ์ชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายยางชะลอความเร็ว เป็นยางหรือโลหะทรงครึ่งวงกลม สูงพ้นจากพื้นขึ้นมาเล็กน้อย มีคุณสมบัติพิเศษตรงที่เพิ่มหนามแทงล้มรถเข้าไป หากติดตั้งอุปกรณ์นี้บริเวณทางขึ้นทางเท้า รับรองว่ารถมอเตอร์ไซค์จะไม่สามารถขับเข้าไปได้แน่นอน เพราะถ้าล้ำเข้าไปเมื่อไร หนามแทงล้อจะเสียบเข้าล้อรถมอเตอร์ไซค์ จนทำให้ยางแตก ไม่สามารถขับขี่รถต่อไปได้ แต่การติดตั้งที่บังคับเดินรถทางเดียว ควรมีการติดตั้งป้ายเตือนไว้ในบริเวณที่เห็นได้ชัดและควรติดป้ายไว้ใกล้ๆ กับอุปกรณ์ด้วย เพื่อให้ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือผู้ที่ใช้ทางเท้าเดินผ่านไปมาได้ระมัดระวัง ไม่เผลอไปเหยียบโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนได้รับอันตราย

      4. ใช้แผงกั้นจราจร หรือแผงกั้นยืดหดได้มาตั้งปิดทาง ไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์สามารถขับขึ้นทางเท้าได้ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้มีความแข็งแรงสูง สามารถป้องกันไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ขึ้นทางเท้าได้เกือบ 100% แต่ถ้าใช้อุปกรณ์ชนิดนี้เพื่อการลดการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า ต้องกำหนดเส้นทางให้ผู้ใช้ทางเท้าปกติสามารถเดินได้ด้วย อย่ากั้นหมดจนแม้แต่คนก็ยังเดินไม่ได้ แนะนำว่าให้ใช้คู่กับเสาเหล็กกั้นรถในจุดที่ต้องการให้คนเดินผ่าน โดยใช้วิธีตั้งเสาตามที่ได้กล่าวไปในข้อ 2 คือตั้งให้ถี่ๆ จนเพียงพอที่รถมอเตอร์ไซค์จะไม่สามารถผ่านได้ มีแค่คนทั่วไปที่เดินอยู่เท่านั้นถึงจะใช้ทางเท้าได้

      5. ตั้งกรวยจราจรไว้ตามจุดทางขึ้นฟุตบาท พร้อมทำป้ายเตือนห้ามมิให้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ขึ้นมาบนทางเท้า วิธีนี้ดูจะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีราคาแพง หรือมีขั้นตอนการติดตั้งมาก แค่ตั้งกรวยก็ใช้ได้ แต่ถ้าคุณตำรวจ หรือผู้รับผิดชอบเส้นทางใช้วิธีนี้ ร้านไทยจราจรขอแนะนำว่าคุณก็ต้องบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดร่วมด้วย เพราะกรวยจราจรไม่ใช่อุปกรณ์ที่แน่นหนาเหมือนอย่างอุปกรณ์ในข้ออื่นๆ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะมีมอเตอร์ไซค์บางคันแอบลักไก่ผลักกรวยออกเพื่อขึ้นมาบนทางเท้าได้อยู่เหมือนกัน ยิ่งมอเตอร์ไซค์บางคัน ถึงกับเก็บกรวยเอง แล้วนำรถขึ้นมาบนทางเท้าได้อย่างหน้าตาเฉยก็มีให้เห็นเยอะมาก

      ปัญหาเรื่องรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นมาใช้ทางเท้า สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้ทางเท้า แม้จะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมากก็จริงอยู่ แต่ก็มีวิธีแก้ไขปัญหาก็มีให้เลือกใช้เช่นกัน เพียงเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม เท่านี้ก็สามารถช่วยลดปัญหาได้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการใช้อุปกรณ์ที่แน่นหนาสักเพียงใด แต่ปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่าที่จะช่วยให้การป้องกันนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็คือ ต้องบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวด ลงโทษผู้แอบนำมอเตอร์ไซค์ขึ้นมาบนทางเท้าให้สมน้ำสมเนื้อ และบางครั้ง อาจจะต้องนำอุปกรณ์อื่นๆ มาใช้เพิ่มด้วย ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด หุ่นจ่าเฉย หรือแม้แต่การตั้งด่านในจุดที่มีการนำมอเตอร์ไซค์ขึ้นทางเท้าอยู่บ่อยๆ หากสามารถบังคับใช้กฎหมายควบคุมทางเท้าให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้นได้ ร้านไทยจราจรเชื่อว่าปัญหานี้จะหมดไปอย่างแน่นอน

white_paper