ผู้นำด้านอุปกรณ์จราจร ที่ทันสมัย และครบวงจร มากที่สุด ในประเทศไทย!!

ด่วน!! ทางเรามีบริการดูหน้างานเพื่อตรวจสอบหรือวัดขนาดพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี...คลิ๊กเลย!!

10 เหตุผลทำไมผู้สูงอายุถึงลื่นในห้องน้ำ

Placeholder image

 

     

      จากสถิติที่เคยบันทึกเอาไว้พบว่า 1 ใน 3 ของคนที่มีอายุ 65-75 ปีในประเทศไทยลื่นล้มภายในบ้าน และการลื่นล้มนี้เกิดขึ้นในห้องน้ำมากกว่า 50% ผลจากการลื่นล้มของผู้สูงอายุ 17% ไม่เกิดอันตรายใด ๆ เลย, 10% ทำให้กระดูกสะโพกแตก, 15% ศีรษะแตก, 25% เกิดการบาดเจ็บที่ส่งผลให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา, 21% บาดเจ็บเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และอีก 12% เกิดการบาดเจ็บอื่น ๆ วันนี้ร้านไทยจราจรจะพาคุณไปดูกันว่าเพราะอะไรผู้สูงอายุจึงมักลื่นล้มในห้องน้ำ
      1. ปัญหาการทรงตัวและอาการหน้ามืด
ผู้สูงอายุโดยมากมีปัญหาในเรื่องของการทรงตัวและไม่สามารถยกเท้าสูงจากพื้นได้มากนัก จึงอาจสะดุดสิ่งต่าง ๆ จนหกล้มได้ง่าย สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตและเบาหวาน อาจเกิดอาการหน้ามืดกะทันหัน และล้มในห้องน้ำได้ ดังนั้นในห้องน้ำจึงควรมีราวจับ โดยราวจับที่ดีควรมีความสูง 80-100 เซนติเมตร ระยะที่ดีที่สุดนั้น ควรดูให้เหมาะกับผู้สูงอายุที่จะใช้งาน ที่สำคัญผู้สูงอายุควรมีคนดูแลใกล้ชิดแม้ในเวลาเข้าห้องน้ำ
      2. ขาอ่อนแรง
บ่อยครั้งที่อยู่ ๆ ผู้สูงอายุก็มีอาการขาอ่อนแรง ทำให้เข่าอ่อนพับและทรุดลงกับพื้น หรืออาจทำให้ยกขาได้น้อย ในห้องน้ำนอกจากจะต้องมีราวจับแล้ว ยังจะต้องปรับพื้นให้ราบ หากใช้เป็นแบบอ่างอาบน้ำที่ต้องก้าวข้าม ควรปรับใหม่ให้เป็นแบบที่ไม่มีอ่าง และมีเก้าอี้ให้นั่งอาบน้ำแทน
      3. สายตาไม่ดี
บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุมีสายตาผ้าฟาง ไม่สามารถมองเห็นในที่ที่มีแสงน้อยได้ ดังนั้นควรติดไฟส่องสว่างทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นพื้นห้องน้ำได้อย่างชัดเจน สำหรับผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดีปานกลางเพียงใช้ไฟ Day Light ติดตั้งสูงจากพื้น 45-90 เซนติเมตรจำนวน 1 ดวงก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดีมาก อาจใช้เป็นสปอตไลท์ชนิดตั้งพื้นที่มีความสูงตั้งแต่ 65-100 เซนติเมตรก็ได้ ถ้ามีปัญหาทางสายตามากจริง ๆ เพื่อความปลอดภัย ควรติดตั้งเป็นกระเบื้องปูพื้นคนพิการ หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ‘พื้นผิวต่างสัมผัส’ เพื่อบอกพื้นที่เขตห้องน้ำก็ได้เช่นกัน
      4. การใช้ยาบางชนิด
ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท และยาขับปัสสาวะ ตลอดจนยาอื่น ๆ ที่ทำให้ง่วงซึม อาจทำให้คนชราที่ลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ เกิดอาการมึนงงและล้มได้ ผู้สูงอายุจึงควรตรวจสอบกับเภสัชกรเสมอว่ายาชนิดนี้กินแล้วง่วงซึมหรือไม่ หากง่วงซึมควรปรับเปลี่ยนการเข้าห้องน้ำให้ไม่ตรงกับเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ควรมีคนดูแล ไม่ควรรับประทานยากับแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้มีโอกาสล้มมากขึ้น ควรใช้เครื่องช่วยเดิน และเพื่อความปลอดภัยควรใช้ยางหุ้มเสาหุ้มเหลี่ยมมุมต่าง ๆ เช่น เหลี่ยมของบ่อใส่น้ำสำหรับตักอาบ
      5. พื้นลื่นเกินไป
พื้นห้องน้ำที่ลื่นเกินไปเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มในห้องน้ำ ในการสร้างห้องน้ำควรเลือกวัสดุที่มีแรงเสียดทานสูง เช่น วัสดุไม้สังเคราะห์ หรือกระเบื้องแผ่นเล็กที่มีลวดลายเพิ่มแรงเสียดทานได้ดี แต่หากไม่สามารถสร้างห้องน้ำใหม่ได้ อาจใช้วิธีติดแผ่นยางกันลื่นเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานได้
      6. พื้นผิวห้องน้ำมีขั้นสูงต่ำ
ห้องน้ำของผู้สูงอายุไม่ควรมีพื้นผิวที่เป็นขั้นสูงต่ำ ไม่ว่าจะเป็นขั้นที่ใช้กั้นเขตแห้งและเปียกของห้องน้ำ หรือแม้แต่ธรณีประตูห้องน้ำ เพราะผู้สูงอายุที่ยกขาได้ไม่สูงอาจสะดุดได้ง่าย แต่หากห้องน้ำของคุณมีขั้นสูงต่ำ อาจแก้ไขได้ด้วยการซื้อยางไต่ฟุตบาทมาใช้ โดยยางดังกล่าวสามารถใช้แทนทางลาด ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ต้องยกเท้าขึ้นลงสูง ๆ สามารถใช้เครื่องช่วยเดินบนยางไต่ฟุตบาทเพื่อเข้าไปในห้องน้ำได้อย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะเมื่อพื้นผิวของยางดังกล่าวมีแรงเสียดทานสูงอยู่แล้ว
      7. ประตูห้องน้ำเปิดปิดยากเกินไป
เนื่องจากผู้สูงอายุต้องปล่อยมือจากเครื่องช่วยเดินเพื่อเปิดหรือปิดประตูห้องน้ำ ยิ่งผู้สูงอายุที่มีการทรงตัวไม่ดีด้วยแล้ว การเปิดประตูยาก ๆ อาจทำให้เสียหลักได้ ประตูห้องน้ำที่ดีจึงควรเป็นแบบคันโยก ไม่ควรเป็นแบบลูกบิด
      8. พื้นที่ว่างในห้องน้ำน้อยเกินไป
สำหรับห้องน้ำที่มีขนาดพอดีตัว หมุนไปทางไหนก็เฉี่ยวชนสิ่งของต่าง ๆ รอบตัว อาจทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ง่าย ดังนั้นห้องน้ำจึงควรมีพื้นที่กว้างขวางสะดวกสบาย ผู้สูงอายุสามารถเดินอย่างน้อย 3-5 ก้าวก่อนถึงผนังห้องอีกด้านหนึ่ง หรือถึงสิ่งกีดขวาง เช่น ชักโครก ชั้นวางแชมพูสบู่
      9. ราวแขวนผ้าขนหนูสูงเกินไป
การที่ผู้สูงอายุต้องเอื้อมมือขึ้นไปแขวนหรือหยิบผ้าขนหนู โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่กระดูกทรุดหรือกระดูกหลังคดงอหรือโก่ง จนมีความสูงน้อยกว่าคนปกติ จำเป็นต้องเขย่งเพื่อแขวนผ้าขนหนู สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ จึงควรติดตั้งราวให้พอดีกับความสูงหรือใช้ราวแบบปรับระดับความสูงได้
      10. การไม่ใช้เครื่องช่วยเดินเข้าห้องน้ำ
เครื่องช่วยเดินเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยป้องกันการลื่นลมของผู้สูงอายุ ทว่าผู้สูงวัยมักไม่นิยมนำเข้าห้องน้ำเพราะในห้องน้ำมีพื้นที่ไม่พอที่จะวางคอกเดิน ทางแก้จึงกลับไปสู่ข้อ 8 คือ ควรสร้างห้องน้ำให้มีพื้นที่มากพอที่จะนำเครื่องช่วยเดินเข้าไปได้อย่างสะดวก ไม่เฉี่ยวหรือชนสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ร้านไทยจราจรนำ 10 เหตุผลที่ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มในห้องน้ำ พร้อมทางแก้มาเล่าสู่กันฟังแล้ว อย่าลืมนำไปปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่คุณรักนะครับ สำหรับสปอตไลท์ชนิดตั้งพื้น กระเบื้องปูพื้นคนพิการ ยางหุ้มเสา และยางไต่ฟุตบาทเลือกซื้อได้แล้ววันนี้ที่หน้าเว็บไซต์ https://trafficthai.com/

white_paper