เป็นที่ทราบกันดีว่าในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ที่มีห้างสรรพสินค้า ที่อยู่อาศัย Condominium ออฟฟิศต่าง ๆ มากมาย ทำให้มีคนจำนวนมากอยู่รวมกันในพื้นที่จำกัด รวมถึงมีความนิยมขับรถส่วนตัวกันเป็นประจำทุกวันเพื่อความสะดวกสบาย จึงเกิดปัญหารถติดอย่างมากจนติดอันดับโลก
ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จึงได้รวบรวมวิธีการแก้ปัญหารถติดมา 10 ข้อ เพื่อให้ผู้ขับขี่ทุกท่านได้นำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
1. การควบคุมความเร็วของรถไม่ให้เกินจากที่กฎหมายกำหนด โดยควรสังเกตจาก ป้ายเตือน ป้ายจำกัดความเร็ว ของการขับขี่รถยนต์ หรือ ป้ายจราจร ที่จะกำหนดระดับความเร็วหน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมงไว้ตามถนนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะการขับขี่รถที่เร็วเกินไปจะทำให้เกิดปัญหารถเฉี่ยวชนกัน แล้วทำให้เกิดปัญหารถติดตามมาด้วย
2. การร่วมมือการไปใช้บริการรถระบบสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยทำให้ลดจำนวนของรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ บนท้องถนนได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตอนเช้าและเย็นที่ทุกคนต้องรีบเร่งไปออกไปและกลับเดินทางจากออฟฟิศ การใช้บริการรถขนส่งมวลชนจะช่วยให้ลดปัญหาอุบัติเหตุจากการที่มีรถหนาแน่นมากได้ด้วย
3. การไม่จอดในที่ห้ามจอด เช่น การจอดรถทับบริเวณที่ทาสีขาวแดงริมฟุตบาท เพราะจะเป็นปัญหาต่อการขับขี่อย่างปลอดภัยของรถคันอื่น หรือการจอดรถบริเวณที่ใกล้กับปากทางเข้าถนนซอย หรือเป็นบริเวณที่เป็นทางโค้งถนน ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกันได้ง่าย
4. ถ้ารถเกิดปัญหา เช่น รถสตาร์ทไม่ติดหรือยางรั่ว ทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนไปได้ ควรใช้ กรวยจราจร แบบล้มลุก ที่สามารถพกติดไว้ในรถได้ ตั้งไว้ห่างจากด้านหลังของรถประมาณ 200 เมตร เพื่อการที่เป็นกันไม่ให้รถคันอื่นเข้ามาใกล้และก็ให้เบี่ยงรถออกจากเลนถนนไป จะช่วยให้การจราจรขับเคลื่อนได้ดีขึ้นในระหว่างที่รอรับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จราจร
5. ควรระมัดระวังรถที่วิ่งมาจากทิศทางที่เป็นจุดอับสายตา โดยการสังเกตที่ กระจกโค้งจราจร ซึ่งมักจะติดอยู่ตามหัวมุมของซอยหรือสามแยก นอกจากนี้ การดู กระจกโค้งจราจร ยังช่วยทำให้มองเห็นว่าการเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาไปจะเจอกับการจราจรที่ติดขัดมากน้อยเพียงใด หรือจุดหักเลี้ยวต้องมีความระมัดระวังไม่ให้มีรถมาเฉี่ยวชนอย่างไรบ้าง เช่น อาจจะเกิดปัญหามอเตอร์ไซค์เลาะมาตามข้างทางแล้วก็ปาดหน้าได้ ซึ่งหากเกิดการอุบัติเหตุขึ้น ก็จะทำให้มีปัญหารถติดทั้งในซอยแล้วก็ลามไปจนถึงถนนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 6 โมงถึง 8 โมงเช้า ที่ทุกคนต่างรีบไปเรียนและไปทำงาน ทำให้ส่งผลเสียต่อการทำงานและการติดต่อธุรกิจได้
6. ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านชุมชน จะต้องทำหน้าที่ในการช่วยในการดูแลความเรียบร้อยของอุปกรณ์จราจร เช่นกระจกโค้งจราจร หรือ โคมไฟส่องสว่างระบบโซล่าเซลล์ ที่ควรจะมีไว้เสมอในจุดที่วิสัยทัศน์ไม่ดี นอกจากนี้ ผู้ที่มีรถส่วนตัว ที่พักอาศัยในซอยแคบก็ไม่ควรจอดรถริมทางหน้าบ้านที่กินเลนถนน ทำให้ถนนลดลงจากสองเลนเป็นหนึ่งเลนแล้วทำให้การจราจรติดขัด โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้า 06.00 – 08.00 น. และเวลาเย็นหลังเลิกงาน
7. การทำงานที่บ้านหรือส่งงานออนไลน์แทนการทำงานที่ออฟฟิศ จะช่วยลดการใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซด์ได้ ซึ่งในต่างประเทศนิยมวิธีนี้มากขึ้น เพราะช่วยประหยัดทั้งการเดินทางของพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย ลดปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์ การส่งงานระบบออนไลน์ในบางตำแหน่งงานจึงเป็นกฎเกณฑ์ใหม่ที่หลายบริษัทนำมาใช้และได้ผลดีในหลายด้าน
8. สำหรับรถประจำทาง รถเมล์ รถตู้ ควรจะมีการกำกับอย่างใกล้ชิด เช่น มีการสอบ อบรมเพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ไม่ให้มีการตัดรถปาดไปมาหรือกินเลนรถข้าง ๆ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถคันอื่น แล้วทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดขึ้น
9. สังเกตเลนถนนในย่านชุมชนที่อาจจะมีการปรับเส้นทางเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลา เช่น ในช่วงเช้าอาจจะมีเลนขาไป 2 เลน ขากลับ 1 เลน แต่ในช่วงเย็นอาจสลับกัน หากผู้ขับขี่ไม่สังเกตก็จะทำให้เกิดการขับรถผิดเลนหรือเสียเวลาในการตัดสินใจใช้เส้นทางได้ จึงทำให้เกิดปัญหารถติดและก็อาจเกิดอุบัติเหตุตามมา
10. หันมาใช้วิธีปั่นจักรยานไปทำงานกันให้มากขึ้น หรือจะใช้บริการจักรยานสาธารณะที่มีจุดให้บริการหลายแห่งในกทม. ทั้งนี้ต้องขับขี่จักรยานในเลนจักรยานโดยเฉพาะเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ทาที่พื้นเป็นสีฟ้าและรูปคนปั่นจักรยานสีขาว จะทำให้ลดการใช้พื้นที่ถนนได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการผลิตจักรยานพับได้น้ำหนักเบาที่สะดวกต่อการขับขี่และเคลื่อนย้ายขึ้นรถไฟฟ้าได้ ทำให้เป็นการส่งเสริมการใช้จักรยานแทนรถได้มากขึ้น
จะเห็นได้ว่า การแก้ปัญหารถติดสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งทุกคนต้องให้ความสำคัญและนำหลักการที่ ร้านไทยจราจร ได้แนะนำ ไปปรับใช้กับการใช้รถใช้ถนน ก็จะทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่มีปัญหารถติดอย่างที่ผ่านมา