เรื่องของการขับขี่รถยนต์ภายในอาคารสิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากปกติแล้วอาคารแทบทุกที่จะมีผู้คนพลุกพล่านเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นอาคารที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน หรืออาคารของห้างสรรพสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งพื้นฐานแรกของการสร้างความปลอดภัยให้กับทุก ๆ ฝ่ายคือเรื่องการออกแบบ และมันจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากคนออกแบบอาคารสามารถสร้างทิศทางการเดินรถให้กับผู้ที่จะขับขี่เข้ามาได้อย่างมีแบบแผนชัดเจน มันยิ่งเป็นการย้ำชัดด้านความปลอดภัยให้มากขึ้นไปอีก ร้านไทยจราจร จึงขอแนะนำ 9 เทคนิคสำหรับการออกแบบทิศทางในการเดินรถภายในอาคารว่าควรทำอย่างไรจึงจะทำให้ทั้งผู้ขับขี่และคนทั่วไปปลอดภัย ไร้กังวล
1. ทางเข้าและทางออกควรแยกช่องทางอย่างชัดเจน – การออกแบบทิศทางเดินรถภายในอาคารสิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำเลยนั่นคือเรื่องของทางเข้าและทางออก อย่าเลือกใช้ช่องทางเดียวกันเป็นอันขาดเพราะมันจะทำให้โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมีสูง ต่อให้จะบอกว่ามีการจัดการจราจรอย่างดี มี ไม้กระดกอัตโนมัติ ช่วยด้วย แต่อย่าลืมว่าการให้รถวิ่งเข้าออกในเส้นทางเดียวกันยังไงก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้แน่ ๆ แถมยังจะทำให้ช้าและเสียเวลาระหว่างการรออีกต่างหาก
2. ทำเป็นทางวันเวย์ดีที่สุด – หากให้แนะนำเรื่องทิศทางการเดินรถภายในอาคารขอบอกเลยว่าการทำเป็นทางวันเวย์หรือการเดินรถทางเดียวคือสิ่งที่ดีที่สุด ด้วยต้องเข้าใจว่าพื้นที่ในอาคารไม่ได้กว้างใหญ่อะไรนักแถมยังต้องมีโค้งอีกต่างหาก การทำเลนรถให้วิ่งสวนกันสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก ดังนั้นการทำทางให้วิ่งแค่ทางเดียวจะดีกว่าเยอะและคนขับเองไม่ต้องกังวลด้วยว่าโค้งข้างหน้าจะมีรถสวนมาหรือเปล่า การขับขี่ก็เป็นไปอย่างสบายใจ
3. ไม่ควรทำทางขึ้นและทางลงของแต่ละชั้นให้มาชนกัน – เรามักเห็นกันบ่อย ๆ ตามลานจอดรถในอาคารว่างทางขึ้นกับทางลงระหว่างชั้นมักจะต้องพบเจอกันพอดี แม้มี กระจกโค้งจราจร ช่วยในการมองทว่ามันก็มีหลาย ๆ ปัจจัยที่ทำให้สายตามองไม่เห็นว่ามีรถกำลังวิ่งมาทางเดียวกับคันของเรา สุดท้ายโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุก็มีสูงมาก จริงแล้วถ้าเป็นไปได้ควรทำทิศทางขึ้นและลงระหว่างชั้นอาคารแยกกันเลยดีที่สุด ทว่าหากไม่มีพื้นที่มากขนาดนั้นจริง ๆ ก็ควรมีการทำสัญญาณเตือนให้ชัดเจน
4. จุดที่ต้องผ่านทางเดินของคนทั่วไปต้องมีความปลอดภัยสูง – เวลาเราขับรถเข้าไปตามอาคารต่าง ๆ มันหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วที่จะต้องผ่านช่องทางที่คนทั่วไปเดินเพื่อเข้าไปยังตัวอาคาร จุดนี้การออกแบบทิศทางเราอาจเลี่ยงอะไรไม่ได้มากนัก แต่สิ่งที่เราทำได้คือการพยายามสร้างหรือออกแบบช่องทางการเดินรถให้มีความปลอดภัยมากที่สุด เช่น มีป้ายเตือนเอาไว้ชัดเจนว่าทางข้างหน้าเป็นทางคนเดิน, มีการติดตั้ง ยางชะลอความเร็ว, มีการติดตั้ง ทางม้าลาย / ทางเดินคนข้าม เพื่อให้รถที่ขับมาเห็นชัดมากขึ้น แค่นี้ก็ช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้ง่าย ๆ แล้ว
5. จุดทางแยกต้องมีการเตือนให้ชัดเจน – สังเกตว่าทางแยกหรือการใช้ทางร่วมกันในอาคารจอดรถหลาย ๆ แห่งมีความไม่ชัดเจนทำให้บ่อยครั้งเรามักเห็นอุบัติเหตุกันบ่อย ๆ ดังนั้นการออกแบบทิศทางของการเดินรถในอาคารเมื่อมาถึงจุดที่ต้องใช้ทางร่วมกันก็ควรมีป้ายกำกับพร้อมด้วยการทำสัญลักษณ์ เช่น ลูกศร หรือ เส้นหยุดรอก่อนเพื่อให้ผู้ขับขี่รู้ว่าทางข้างหน้าอาจมีรถผ่านเข้ามาได้
6. หากออกแบบให้รถต้องสวนทางกันขนาดพื้นที่ต้องใหญ่ – กรณีที่เราไม่สามรถหลีกเลี่ยงให้รถวิ่งเป็นแบบวันเวย์ได้นั่นหมายถึงต้องทำให้รถวิ่งสวนทางกัน ขนาดของช่องทางการเดินรถภายในอาคารต้องใหญ่หน่อยเพื่อป้องกันอันตรายจากการเฉี่ยวชนของรถที่ขับสวนกันไปมา มีการทำเส้นแบ่งเลนอย่างชัดเจนพร้อมลูกศรตลอดทางเพื่อให้รู้ว่าตนเองต้องขับอยู่ในเลนใด
7. กรณีมีพื้นที่จอดส่งคนแล้วไปต้องแบ่งช่องทางให้ดี – หลาย ๆ อาคารจะมีพื้นที่ที่แค่จอดรถให้คนลงแล้วขับออกไปได้เลยตรงนี้ควรมีการแบ่งช่องทางอย่างชัดเจนด้วยการทำเลนแยกต่างหากและอามีอุปกรณ์กั้นพร้อมป้ายบอกเพื่อให้คันอื่นที่จะขับเข้าไปจอดไม่ต้องผ่านเส้นทางนี้ ช่วยให้เกิดความรวดเร็ว การจราจรไม่ติดขัด และทางเข้าออกของช่องทางนี้ควรเป็นช่องต่างหากที่ไม่รบกวนรถคันอื่น
8. ทางขึ้นลงระหว่างชั้นควรอยู่ริมสุดเท่านั้น – เคยสังเกตหรือไม่ว่าหลายอาคารจอดรถมักออกแบบทิศทางการเดินรถประเภทพอขับขึ้นไปหรือลงมาชั้นล่างจะสามารถแยกออกได้เป็น 2 ช่องทางคือเลี้ยวซ้ายและขวา การออกแบบประเภทนี้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายมากเพราะคนที่ขับมาจะหยุดดูชั่วคราวว่าควรเลือกฝั่งไหนดีและคนที่ขับตามหลังอาจไม่รู้จนชนเอาง่าย ๆ
9. ทางเข้าออกตัวอาคารยิ่งเยอะยิ่งดี – กรณีมีพื้นที่เยอะหรือมีถนนหลายเส้นให้เข้าออกได้ควรแบ่งทางเข้าออกให้เยอะที่สุด เป็นการช่วยระบายไม่ให้ติดขัด
ทั้ง 9 เทคนิคนี้ ร้านไทยจราจร มั่นใจว่าจะทำให้การออกแบบทิศทางการเดินรถภายในอาคารของคุณมีมาตรฐานและปลอดภัยแน่นอน