แจกบทความฟรี
10 เครื่องหมายจราจร ต้องรู้ ที่ใช้ในโรงงานและลานจอดรถเอกชนอย่างเคร่งครัด
สถานประกอบการหรือโรงงานที่มีคนทำงานจำนวนมาก จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลในเรื่องของระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะความปลอดภัยบนท้องถนนและลานจอดรถ เนื่องจากมีรถบรรทุกขนส่งขนาดใหญ่ , รถรับส่งพนักงาน, รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ส่วนบุคคลอยู่เป็นจำนวนมาก หากไม่ได้รับการจัดระเบียบอย่างถูกต้อง ก็อาจได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุภายในก็เป็นได้ ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ 10 เครื่องหมายจราจร ที่ trafficthai.com พร้อมกับอุปกรณ์สำหรับงานจราจรเต็มรูปแบบ เพื่อใช้งานในบริเวณโรงงานและพื้นที่สำหรับจอดรถ ซึ่งผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นสถานที่ส่วนบุคคล
10 เครื่องหมายจราจร ประเภท ป้ายบังคับ
-
ป้ายหยุด หรือ STOP
หากผู้ขับขี่เจอป้ายดังกล่าวจะต้องชะลอรถและหยุดตรงแนวป้ายเพื่อให้รถทางแยกหรือคนเดินผ่านไปก่อน เมื่อปลอดภัยแล้วจึงจะสามารถเคลื่อนรถออกไปได้ หรือบางสถานที่จะมีป้อมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้ทุกคนที่มาติดต่อแลกบัตร ก่อนที่จะเข้าไปข้างในได้
2.ป้ายให้ทาง
เป็นป้ายที่บังคับที่มักจะติดตั้งบริเวณทางแยก เพื่อให้ผู้ขับขี่ให้ทางรถคันข้างหน้าหรือคนที่เดินเท้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าไม่มีรถหรือคนขวางทางแล้ว จึงค่อยเคลื่อนตัวออกไป
3.ป้ายห้ามเข้า
เป็นการบอกว่าห้ามรถทุกชนิดเข้าไปในบริเวณที่ติดป้าย ซึ่งอาจใช้ควบคู่กับข้อความระบุว่า เฉพาะรถที่ได้รับอนุญาตหรือรถที่มีสติกเกอร์เท่านั้น เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม
4.ป้ายห้ามแซง
เป็นป้ายที่ห้ามรถทุกชนิดแซงในบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันรถที่สวนทางมาหรือจอดขวางทางเข้ามาในเลน ซึ่งอาจเป็นบริเวณทางโค้ง, ทางเลี้ยวหรือคลังสินค้าที่มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเป็นประจำ
5.ป้ายห้ามกลับรถทางขวา
หมายถึง ห้ามกลับรถทุกชนิดไปทางขวา
6.ป้ายห้ามกลับรถทางซ้าย
หมายถึง ห้ามกลับรถทุกชนิดไปทางซ้าย
7.ป้ายห้ามเลี้ยวขวา
หมายถึง ห้ามรถทุกชนิดเลี้ยวไปทางขวา
8.ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย
หมายถึง ห้ามรถทุกชนิดเลี้ยวไปทางซ้าย
9.ป้ายห้ามจอดรถ
หมายถึง ห้ามรถทุกชนิดจอดแนวเขตหรือบริเวณที่ป้ายกำหนด
10.ป้ายห้ามรถยนต์ผ่าน
หมายถึง ห้ามรถยนต์ผ่านในบริเวณที่กำหนด
7 สัญลักษณ์จราจร บนพื้นที่ควรรู้
- เส้นแบ่งการจราจรเส้นประ เพื่อแบ่งให้รถสามารถวิ่งสวนกันได้ หรือใช้กำหนดให้รถวิ่งในเลนของตนเอง
- เส้นแบ่งการจราจรเส้นทึบ เพื่อแบ่งให้รถวิ่งในทางของตนเอง ห้ามแซง หรือขับคร่อมเลนเป็นอันขาด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากรถที่สวนมา ส่วนใหญ่จะเห็นบริเวณทางโค้งขึ้นลงลานจอดรถบนอาคาร
- เส้นทแยงห้ามหยุดรถ มักจะมีสีเหลือง ความหมายคือ ห้ามรถทุกคันหยุดในบริเวณช่องหยุดรถ
- ลูกศรบอกทิศทางต่าง ๆ หากไม่มีป้ายจราจรติดตั้งบริเวณดังกล่าว สามารถดูได้จากลูกศรที่บอกทิศทาง เช่น ให้รถตรงไป, ให้เลี้ยวซ้าย, ให้เลี้ยวขวา, ระวังทางทางข้าม ทางแยกซ้ายและขวา
- เส้นทางข้ามหรือที่เรียกว่าทางม้าลาย หาพบเห็นคนกำลังจะข้ามให้ชะลอตัวและหยุดรถก่อนถึงเส้น เพื่อให้คนข้าม เมื่อข้ามเสร็จแล้ว ค่อยเคลื่อนรถไปอย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง
- สีทาขอบทางขาวเหลือง, ขาวแดง สีทาขอบทางขาวเหลือง เพื่ออนุญาตให้รถสามารถจอดได้ชั่วคราว สีทาขอบขาวแดง หมายถึง ห้ามจอดรถในบริเวณขอบทางที่มีสีขาวแดง
- ข้อความบนพื้น เช่น สะพาน, ทางโค้ง ระวังคนข้ามถนน เพื่อป้องกันหรือเตือนให้คนขับรถช้าลงหรือใช้ความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น
อุปกรณ์เสริมสำหรับงานจราจร
นอกจาก สัญลักษณ์จราจร ที่มีส่วนสำคัญในการแจ้งเตือน บังคับให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรภายในองค์กรแล้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมด้วยเพื่อเพิ่มความเข้มงวด ลดการเกิดอุบัติเหตุและเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย
- เสาล้มลุก มีด้วยกันหลายชนิด เช่น เสาล้มลุกถาวร, เสาล้มลุกถอดได้, เสาล้มลุกพลังงานแสงอาทิตย์ ลักษณะการใช้งาน เพื่อแบ่งเลนหรือกั้นเลน ส่วนใหญ่จะติดตั้งบริเวณทางแยก ทางโค้ง เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันอันตรายจากมุมอับสายตา โดยตัวเสาจะต้องมีแถบสะท้อนแสงได้ในตอนกลางคืน
- กรวยจราจร มีหลายแบบหลายขนาด ขึ้นอยู่กับประเภทงานที่ใช้ ส่วนใหญ่จะใช้กั้นพื้นที่ชั่วคราว เหมาะกับลานจอดรถ ใช้กั้นการทำงานของเจ้าหน้าที่ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้
- เทปกั้นกรวยจราจร เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้เสริม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้เทปกั้นซึ่งจะไม่สามารถมีรถหรือคนเดินผ่านในบริเวณดังกล่าวได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กั้นพื้นที่หวงห้าม เขตอันตรายหรือใช้กั้นผลงานศิลปะ ภาพเขียนที่ไม่ต้องการให้ผู้ชมสามารถเข้าไปสัมผัสได้
- ป้ายข้อความ ป้ายจราจร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายประชาสัมพันธ์หรือแจ้งเตือนผู้ขับขี่ เช่น ระวังทางกำลังก่อสร้าง, ระวังถนนลื่น หรืออาจเป็นป้ายแจ้งจำนวนรถที่สามารถจอดได้ เป็นต้น
- แผงกั้นจราจร สามารถใช้ทดแทนเทปกั้นหรือกรวยได้ ในกรณีที่ต้องการกั้นเพียงแค่ชั่วคราวหรือต้องการจำกัดสิทธิ์ในช่องจอดรถ หรือใช้เป็นที่ติดป้ายเพื่อแจ้งเตือนหรือประชาสัมพันธ์ในกรณีที่บริเวณดังกล่าวไม่สามารถติดป้ายได้ ส่วนใหญ่ทำจากโลหะ จะเป็นแบบมีล้อหรือไม่มีล้อก็ได้
- เนินชะลอความเร็ว หากพื้นที่ใดไม่ต้องการเทปูนเพื่อทำเนินชะลอความเร็ว สามารถเลือกใช้เนินชะลอความเร็วแบบยางได้ แถมมีขนาดและความสูงที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นอันตรายต่อรถและผู้สัญจรไปมา เนื่องจากมีขนาดต่ำ สามารถรื้อถอนได้ง่าย จะเลือกกั้นตลอดแนวหรือสลับฟันปลาตามที่ต้องการได้
- กระจกโค้ง เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ลานจอดรถต้องมี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุโดยเฉพาะทางโค้งหรือจุดอับสายตา มุมตึกเป็นต้น โดยวัสดุมีให้เลือกทั้งกระจกแท้ หรือสแตนเลสสตีล
- ที่กั้นล้อ สำหรับรถยนต์เพื่อป้องกันรถชนกับขอบทาง กำแพงหรือตัวอาคาร เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยวัสดุที่ใช้ทำที่กั้นมีให้เลือกทั้งแบบยางและคอนกรีต พร้อมลายสะท้อนแสง เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ลานจอดรถต้องมีไว้
- คานจำกัดความสูง เป็นคานที่ใช้จำกัดความสูงของรถที่จะเข้ามาในตัวอาคาร เช่น ที่จอดรถห้างสรรพสินค้า, ทางเข้าคลังสินค้า เพื่อป้องกันรถขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากขึ้นไปบนตัวอาคาร ทำให้ตัวอาคารรับน้ำหนักไม่ไหว แล้วอาจส่งผลเสียต่อโครงสร้างอาคารจนอาจทำให้ถล่มลงมาได้
- ยางกันกระแทก มีไว้เพื่อป้องกันผู้ขับขี่ขับรถเฉี่ยวชนเสา ทำให้เกิดความเสียหาย โดยยางกันกระแทกจะต้องมีแถบสีที่สะท้อนแสงได้ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้รถยนต์เป็นรอยมากอีกด้วย
- ไฟฉุกเฉิน หลายคนคิดว่าลานจอดรถจำเป็นต้องมีไฟฉุกเฉินหรือไม่ ซึ่งหากเป็นลานกลางแจ้งอาจไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นลานจอดรถในอาคาร ชั้นใต้ดิน ควรจะมีการติดตั้งเตรียมไว้พร้อมใช้งานเสมอ เพราะหากเกิดเหตุไฟดับจะทำให้บริเวณดังกล่าวมืดสนิท จนยากจะมองเห็นทางได้ ไฟฉุกเฉินจึงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะลานจอดรถชั้นใต้ดิน
เคารพกฎจราจรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานหรือบุคคลภายนอกที่มาติดต่องาน จะต้องเคารพกฎจราจรและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้ความเคารพและเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพราะคนที่ดูแลในส่วนของการจราจรไม่ใช่มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเจ้าหน้าที่อาคารสถานที่ ทั้งในส่วนของ เจ้าหน้าที่อาชีวอนามัย, ช่างซ่อมบำรุงและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการดูแลอาคารสถานที่ เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำและข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องเข้ามายังสถานที่ดังกล่าว และจะได้ไม่ประสบอุบัติเหตุด้วย เช่น การใส่รองเท้าเซฟตี้ เพื่อป้องกันการเตะหรือได้รับการกระแทกจากวัสดุอุปกรณ์ภายในโรงงาน หากประสบอุบัติเหตุหรือได้รับอันตรายควรแจ้งฝ่ายอาคารหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป
จะเห็นว่าไม่เพียงแต่ ป้ายจราจร เท่านั้นที่ได้รับการติดตั้งใน ที่จอดรถ หรือการจราจรภายในโรงงาน, บ้านจัดสรร อาคารสถานที่อื่น ๆ แต่ยังมีอุปกรณ์เสริมที่เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ให้แก่สถานที่ดังกล่าวและเพื่อความเป็นระเบียบวินัยมากขึ้น แม้ว่าบางอุปกรณ์จราจรสามารถที่จะทำขึ้นได้ด้วยตนเอง แต่หากต้องการป้ายและอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน ก็ควรหาซื้อจากร้านที่จำหน่ายอุปกรณ์จราจรโดยตรง เนื่องจากมีขนาดและรูปแบบที่เหมาะกับการใช้งานจริง และใช้วัสดุที่ทนทานได้มาตรฐาน