ป้ายจราจร ควรมีขนาดเท่าไหร่ ? ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

ป้ายจราจร

การใช้รถใช้ถนนปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ขับขี่ทุกท่านเกิดความปลอดภัยมากที่สุด จะต้องมีอุปกรณ์จราจรมาเป็นตัวช่วย ซึ่งอุปกรณ์จราจรชิ้นสำคัญที่ถนนทุก ๆ แห่งต้องมี คือ ป้ายจราจร บอกรายละเอียดเอาไว้อย่างชัดเจน เช่น ทางข้างหน้ามีการก่อสร้าง, วงเวียน, ข้ามทางรถไฟ, บอกเส้นทางต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมาก ทว่าเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ทำไมป้ายแต่ละประเภทถึงมีขนาดไม่เท่ากัน บางป้ายก็ดูใหญ่โต ขณะที่บางป้ายก็มีขนาดกะทัดรัด เรื่องเหล่านี้จริงแล้วมันคือข้อกำหนดที่กรมทางหลวงได้ตั้งขึ้นมาเป็นมาตรฐานโดยการวิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผลกับลักษณะของป้ายต่าง ๆ ในวันนี้ ร้านไทยจราจร จะพูดคุยเกี่ยวกับขนาดของป้ายแต่ละชนิดว่าควรมีขนาดเท่าไหร่เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวง

กระนั้นก่อนจะไปทำความเข้าใจในเรื่องของขนาดป้ายต้องบอกถึงประเภทของ ป้ายจราจร เสียก่อน หลัก ๆ แล้วป้ายที่ใช้บนท้องถนนทั่วไปจะประกอบไปด้วย ป้ายบังคับ, ป้ายเตือน และป้ายแนะนำ ซึ่งความหมายรวมถึงสีสันของป้ายจะต่างกันออกไปเพื่อให้ผู้ขับขี่เกิดความเข้าใจในรายละเอียดที่กรมทางหลวงต้องการแจ้งให้ทราบ ซึ่งแต่ละป้ายเองก็จะมีมาตรฐานรวมถึงขนาดต่างกันออกไป เราลองมาทำความรู้จักกันดูว่าขนาดของแต่ละป้ายที่เราเห็นตามท้องถนนมันคือขนาดเท่าไหร่กันแน่

เริ่มต้นกันด้วยป้ายบังคับ ความหมายของป้ายประเภทนี้คือการบังคับให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนต้องปฏิบัติตามสัญลักษณ์ของป้ายอย่างเคร่งครัดหากฝ่าฝืนอาจมีโทษตามกฎหมาย ซึ่งลักษณะของป้ายก็มีทั้งบังคับให้ทำและบังคับไม่ให้ทำ รูปแบบของป้ายที่เราคุ้นเคยกันดีคือเป็นพื้นสีขาวมีสีแดงล้อมรอบ บางป้ายก็มีการขีดฆ่าตรงกลางเอาไว้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าห้ามทำเด็ดขาด เช่น ห้ามเลี้ยวซ้าย, ห้ามกลับรถ, ห้ามเลี้ยวขวา, ห้ามรถจักรยานยนต์ใช้เส้นทาง, ห้ามแซง ฯลฯ หรือจะเป็นป้ายลักษณะคำสั่งที่บอกให้ผู้ขับขี่กระทำตาม เช่น จำกัดความเร็ว, จำกัดความสูง, หยุดตรวจ, ให้ทาง ซึ่งพื้นยังคงเป็นสีขาวแล้วล้อมรอบด้วยสีแดงเช่นเคย กับป้ายบังคับอีกประเภทที่เราจะเห็นว่าพื้นเป็นสีน้ำเงินแล้วมีสัญลักษณ์เป็นสีขาว เช่น ป้ายเดินรถทางเดียว, เลี้ยวขวา, เลี้ยวซ้าย. วงเวียน, ช่องทางเดินรถประจำทาง ฯลฯ ลักษณะคือเป็นป้ายบังคับให้กระทำตามด้วยเหมือนกัน โดยป้ายประเภทนี้ส่วนมากเรามักเห็นเป็นป้ายวงกลม อาจมีบ้างที่เป็นสี่เหลี่ยมหรือหกเหลี่ยมแต่ไม่เยอะ ขนาดมาตรฐานจะใช้เส้นผ่าศูนย์กลางที่ 45, 60, 75 และ 90 ซม.

ป้ายจราจร ประเภทต่อมาคือ ป้ายเตือน เป็นป้ายที่จะเตือนผู้ขับขี่เพื่อบอกเส้นทางข้างหน้าว่ามีสภาพเป็นอย่างไรต่อไป หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ป้ายเตือนแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์, ป้ายเตือนก่อสร้าง และป้ายเตือนอื่น ๆ ตามที่กำหนดขึ้น ถ้าป้ายเตือนทั่วไปที่เราเห็นพื้นสีเหลืองสัญลักษณ์สีดำเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เช่น ทางแยก, วงเวียน, ทางแยกทางเอก, ทางลื่น, สัญญาณไฟจราจร ฯลฯ ขนาดจะมีตั้งแต่ 60 x 60, 75 x 75, 90 x 90 cm.

กรณีเป็นป้ายเตือนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน เช่น ป้ายเตือนแนวทาง, เขตชุมชนลดความเร็ว, ใช้เกียร์ต่ำ ฯลฯ ขนาดจะมีตั้งแต่ 60 x 120, 75 x 120, 80 x 120, 90 x 180 cm. ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

ส่วนป้ายที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง เช่น สัญลักษณ์ทางโค้ง จะมีขนาดตั้งแต่ 30 x 45, 45 x 60, 60 x 75, 45 x 75 cm. ตามความเหมาะสม

ส่วนป้ายเตือนเขตก่อสร้าง พื้นจะเป็นสีส้ม สัญลักษณ์สีดำ ซึ่งเรื่องขนาดเองก็เหมือนกับป้ายเตือนทั่วไปทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นแบบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน และสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง โดยการกำหนดขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่นั้น ๆ

ป้ายแบบสุดท้ายคือ ป้ายแนะนำทั่วไป ความหมายคือเป็นการแนะนำเส้นทางหรือรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับผู้ขับขี่ทุกคนซึ่งจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ มีหลายรูปแบบ เช่น ทางกลับรถ, ป้ายบอกเลขทางหลวง, ป้ายเสริมสำหรับระบุทิศทาง, ป้ายทางม้าลาย, โรงพยาบาล ฯลฯกรณีเป็นป้ายหมายเลขทางหลวงจะแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีตั้งแต่ 40 x 40, 60 x 60 cm. กรณีป้ายเสริมระบุทิศออำเภอพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีดำ จะมีขนาดตั้งแต่ 60 x 120, 75 x 210, 60 x ทางต่าง ๆ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเริ่มต้น 40 x 60 cm. ส่วนป้ายที่เป็นแนวตั้งเริ่มต้น 60 x 100 cm. เช่น ป้ายกลับรถ ทั้งนี้เรื่องของขนาดป้ายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่อีกเหมือนกัน และยังมีป้ายแนะนำอีกประเภทที่เราเห็นกันบ่อยตามข้างทางคือป้ายที่บอกจังหวัดหรื180, 80 x 180 cm. ตามความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งป้ายนั้น ๆ

ขนาดของ ป้ายจราจร เหล่านี้คือขนาดมาตรฐานที่เราเห็นกันจนคุ้นชินสายตา เพียงแค่อาจไม่ได้สนใจเรื่องขนาดเท่าไหร่นัก ซึ่งการขับขี่ของทุก ๆ คนจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ร้านไทยจราจร แนะนำว่าหากเราเห็นป้ายบนท้องถนนแจ้งเอาไว้ว่าอะไร ก็ควรปฏิบัติทำตามดีที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุและความสูญเสียต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะถ้าลองมันเกิดขึ้นมาแล้วไม่ว่าจะชีวิตหรือทรัพย์สินยังไงก็ไม่มีความคุ้มค่ากันเลยจริง ๆ ยังไงก็ฝากเตือนผู้ใช้รถทุกท่านเอาไว้ด้วย