Uncategorized @th, แจกบทความฟรี
ข้อควรรู้การทำที่จอดรถสำหรับธุรกิจ EV
แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่งเริ่มออกจัดจำหน่ายไม่นาน ก็กลายเป็นประเด็นดราม่าของผู้ใช้งานรถยนต์ EV ส่วนหนึ่งเกิดจาก ที่จอดรถ สำหรับจุดชาร์จไฟมีน้อยมาก ทำให้ผู้ใช้งานต้องแย่งกันจองจุดชาร์จผ่านแอปพลิเคชั่น แต่เมื่อจองกันแล้วผู้ใช้งานหลายคน ไม่ยอมมาใช้งานตามเวลาที่กำหนด ทั้งที่บริษัทเจ้าของแอปจุดชาร์จ EV ได้ออกมาตรการเสียค่าปรับสำหรับผู้ไม่มาใช้งานตามเวลาจองซึ่งระบุไว้ในแอป อย่างไรก็ดีสถานีชาร์จยังอยู่ระหว่างการขยายตัวในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ ปั๊มน้ำมัน ที่อยู่อาศัย และห้างสรรพสินค้า
ในอนาคตอาจมีจำนวน EV charging มากพอ เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ลาดจอดรถให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ฝ่ายจัดซื้อของธุรกิจเหล่านี้ ควรติดตั้งสิ่งใดบ้างในลาดจอดรถ เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น มาดูกันดีกว่า
ที่จอดรถ กับจุดชาร์จ EV ของปั๊มน้ำมัน
รถยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric vehicle) ใช้เวลานานมากสำหรับการชาร์จไฟเข้ารถยนต์จนเต็มในแต่ละครั้ง แม้จุดชาร์จของปั๊มน้ำมันจะมีเทคโนโลยีระบบไฟประจุเร็ว (Quick Charge) ยังต้องใช้เวลาชาร์จอย่างต่ำ 15 – 20 นาที ในขณะที่ตู้ชาร์จ EV ระบบไฟปกติ ใช้เวลาชาร์จนานถึง 5 – 8 ชั่วโมง
แต่รถใช้พลังงานน้ำมันใช้เวลาในการเติมไม่ถึง 1 นาทีต่อครั้ง ด้วยรูปแบบการชาร์จที่ใช้เวลานานเช่นนี้
การออกแบบพื้นที่จอดรถให้เพียงพอต่อการจอด จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่มีการออกแบบให้ดีย่อมเกิด ปัญหารถติด ภายในปั๊มน้ำมัน เพราะปริมาณรถเข้ามากกว่าจำนวนรถออก แต่รถเติมน้ำมันการหมุนเวียนของรถที่เข้าและออกรวดเร็วกว่า ทำให้ไม่เกิดปัญหารถติดมากนัก เว้นแต่มีข่าวเพิ่มราคาน้ำมันในวันถัดไป ในขณะที่ที่จอดรถในปั๊มสำหรับรองรับรถชาร์จไฟยังมีไม่เพียงพอ เนื่องจากพื้นที่ของปั๊มมีขนาดเล็ก ส่งผลให้มีปัญหาในการชาร์จ อีกทั้งรถใช้น้ำมันอาจเข้ามาแย่งที่จอดบริเวณ EV station เพื่อซื้อของในร้านสะดวกซื้อ เกิดปัญหารถเยอะจนหาที่จอดรถไม่ได้
วิธีการแก้ปัญหา
อันดับแรก สถานีบริการน้ำมันควรเพิ่มพื้นที่ลานจอดรถให้มากขึ้น สำหรับรองรับ
- ผู้ใช้งานชาร์จไฟฟ้า
- ผู้เข้าปั๊มน้ำมันสำหรับการซื้อสินค้า
- ลูกค้าเข้ามานั่งพักผ่อนในร้านคาเฟ่ภายในปั๊ม
อย่างไรก็ตามตั้งแต่เริ่มติดตั้งจุดชาร์จสำหรับรถ BEV เกิดปัญหารถผิดประเภทเข้ามาจอดในพื้นที่จอดรถ สำหรับการชาร์จไฟมาโดยตลอด ทำให้ผู้ใช้งานชาร์จไฟไม่สามารถเสียบสายชาร์จกับรถยนต์ของตนได้ ผู้ใช้งานบางคนจึงเลือกไปชาร์จไฟที่สถานีบริการอื่น เจ้าของปั๊มจึงเสียรายได้
ดังนั้นควรแก้ปัญหาด้วยการติดตั้ง เครื่องหมายจราจร หรือ กรวยจราจร เพื่อแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนว่าบริเวณใดคือ จุดจอดรถเพื่อชาร์จไฟ และตรงไหนคือพื้นที่จอดเพื่อแวะเข้าปั๊ม โดยเครื่องหมายที่ใช้งานต้องเป็นป้ายเพื่อบ่งชี้ว่าที่จอดรถตรงนี้คือ สำหรับการชาร์จไฟโดยเฉพาะ สามารถออกแบบป้ายด้วยการใช้สีเขียว และสีน้ำเงินเหมือนกับต่างประเทศ หรือหากต้องการไม่ให้มีสิ่งกีดขวางอย่างกรวยจราจร กีดขวางเส้นทางจราจรภายในปั๊มน้ำมัน อาจใช้เครื่องหมายสีเหลืองกำหนดเส้นจอดรถก็ได้ นอกจากนี้บริษัทปั๊มน้ำมัน มุ่งพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อจองคิวชาร์จไฟมากเกินไป ละเลยการติดตั้งป้ายหน้าปั๊มน้ำมัน เนื่องจากผู้ใช้งานบางคนที่ต้องการชาร์จไฟ อาจไม่ได้เข้าแอพสำหรับจองคิว ด้วยเหตุผล เช่น โทรศัพท์แบตเตอรี่หมด หรือ ลืมว่าต้องจองจุดชาร์จ หากปั๊มน้ำมันติดตั้งป้ายแจ้งว่าปั๊มนี้มีจุดชาร์จ EV บริเวณที่เห็นได้สะดวก จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าได้มาก
จุดชาร์จไฟในสถานที่อยู่อาศัย กับที่จอดรถ
หลังคณะรัฐมนตรีได้ออกแพกเกจโปรโมชั่นมากมาย เพื่อกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย บริษัทที่เกี่ยวกับการออกแบบที่อยู่อาศัยหลายรูปแบบ เช่น คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร รวมไปถึงรีสอร์ต โรงแรมที่พัก ต่างมุ่งพัฒนาหาจุดชาร์จ EV เข้ามาติดตั้งรองรับเทรนด์ในอนาคตที่เปลี่ยนไป
ซึ่งความแตกต่างของที่อยู่อาศัยกับปั๊มน้ำมัน คือ ผู้ใช้งานอาจไม่ทราบว่าสถานที่ตนพักอยู่ มีการติดตั้งจุดชาร์จ EV แต่ปั๊มน้ำมันมีการพัฒนาจุดชาร์จแบบปกติอยู่แล้ว ดังนั้นพื้นที่อยู่อาศัยจึงควรติดตั้ง ป้ายจราจร เพื่อบอกทางแก่ผู้ใช้งานว่าอยู่ตรงจุดใดของพื้นที่ เช่น หมู่บ้านจัดสรรและรีสอร์ตที่ได้รับการพัฒนา มีพื้นที่ใช้งานกว้างมาก ผู้ใช้งานรถยนต์ BEV อาจไม่ทราบแต่แรกว่าได้เริ่มติดตั้งจุดชาร์จตั้งแต่เมื่อไหร่ ประกอบกับจุดชาร์จไฟของพื้นที่ลักษณะนี้ไม่ใช่แบบ Quick Charge เนื่องจากผู้พัฒนามองว่าเป็นจุดพักรถ เจ้าของรถสามารถจอดทิ้งไว้นาน ที่จอดรถและจุดชาร์จ EV มักห่างจากที่พักพอสมควร จึงควรติดป้ายบอกทางเชื่อมระหว่างที่จอดรถจนถึงที่พัก
แต่คอนโดมิเนียมและโรงแรมที่สร้างมานาน อาจมีปัญหาติดตั้งจุดชาร์จ EV เพราะพื้นที่คับแคบ แค่รถยนต์ปกติมาจอดก็เต็มแล้ว บางคนจึงเลือกวิธีการแก้ปัญหาแบบคลาสิกคือ ลากสายไฟไปเสียบกับปลั๊กเพื่อชาร์จไฟ ดังนั้นในโซนคอนโดและโรงแรมเก่า อาจต้องปรับเปลี่ยนสำหรับการนำจุดชาร์จ EV มาติดตั้งในพื้นที่ ค่าชาร์จที่ได้ก็นำมาเป็นค่าส่วนกลางสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยต่อไป และขยายลานจอดรถและความกว้างของที่จอดรถให้กว้างขึ้นรองรับการใช้งานรถยนต์ EV หรือเพิ่มจำนวน ที่จอดรถจักรยานยนต์ หากลูกบ้านมีแนวโน้มใช้งานรถมอเตอร์ไซค์มากกว่าที่คาดการณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์เข้ามาแย่งจอดกับรถชาร์จไฟ และควรระบุพื้นที่สำหรับจุดชาร์จด้วยการทาสีบนพื้นที่ดังกล่าว
ส่วนมากสัญลักษณ์จะเป็นสีน้ำเงินสลับกับสีขาว แสดงข้อความสำหรับ “การชาร์จไฟเท่านั้น” ไม่เช่นนั้นย่อมเกิดปัญหาญาติของผู้พักอาศัยมาจอดรถในบริเวณนี้ หรือรถมาจอดซ้อนคัน สร้างความกวนใจให้ผู้ต้องการใช้จุดชาร์จ และผู้ขับรถยนต์ไฟฟ้าอาจเอารถยนต์ไปชาร์จไฟที่ปั๊ม หรือบ้านพักส่วนตัว หากเจ้าของโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ประสบความสำเร็จในการดึงดูดให้คนมาชาร์จไฟได้ อาจเป็นรายได้ระยะยาวอีกทาง นอกจากรายได้การขายและบริการของสถานที่อยู่อาศัย
การจัดการที่จอดรถสำหรับจุดชาร์จไฟของห้างสรรพสินค้า
ปัจจุบันปัญหาที่พบของการใช้งานจุดชาร์จ EV บนลานจอดรถห้างสรรพสินค้าคือ EV station ไม่รองรับเทคโนโลยี Quick Charge ทำให้การชาร์จไฟทำได้ช้า สวนทางกับระยะเวลาการช้อปปิ้งของลูกค้าที่ใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง และหากชาร์จเสร็จแล้วไม่มาดึงสายออก คนต่อคิวอยู่ย่อมเกิดอาการไม่พอใจ
เกิดการทะเลาะวิวาท รวมไปถึงสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของห้างสรรพสินค้า หรืออีกปัญหาหนึ่งคือ
ผู้ขับรถยนต์ไฟฟ้าหาจุดชาร์จไม่เจอ ซึ่งเกิดจากพื้นที่ลานจอดรถของห้างส่วนมากอยู่บนอาคารที่มีแสงเข้าน้อย อาจแก้ไขได้ด้วยการรวมจุดชาร์จไว้รวมกันในพื้นที่เฉพาะ เปิดกว้างเห็นได้ง่าย เช่น ลานจอดรถภายนอก หรือบริเวณที่คนเดินผ่านไปมาบ่อย เช่น บริเวณทางใกล้ถึงทางเข้าห้าง
สาเหตุที่ควรติดตั้งจุดชาร์จรวมกันเกิดจากหากรถยนต์คันใดลืมถอดสายชาร์จออก ผู้ใช้งานที่รอคิวอยู่อาจชาร์จกับ EV station ที่ว่างอยู่ได้ และก่อนถึงจุดชาร์จ อาจพิจารณาติดตั้ง ป้ายจราจร บอกทางได้ว่าจุดชาร์จอยู่ในโซนใด เพื่อบอกทางสำหรับการใช้งาน และ EV station ไม่ควรติดตั้งบริเวณใกล้กับ ที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ ป้องกันมิให้รถจักรยานยนต์เข้ามาจอดในบริเวณดังกล่าว เพราะที่จอดรถสำหรับรถชาร์จไฟมีพื้นที่มากพอให้รถจักรยานจอดแทรกได้
ในกรณีที่ห้างสรรพสินค้าต้องการวางจุดชาร์จในลานจอดรถภายในอาคาร ด้วยรูปแบบกระจายแยกกันในชั้น ควรเพิ่มสัญลักษณ์ทั้งป้ายและบนพื้นที่จอดรถให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจุดดังกล่าวคือที่ชาร์จไฟ เพราะเมื่อติดบนชั้นลานจอดรถจะเห็นยาก ตู้มักอยู่มุมอับเช่น หลังเสาหรือโดนรถบัง ดังนั้นจึงควรเพิ่มแสงสว่างอย่างเพียงพอ บางห้างเปิดไฟในเวลากลางคืนเท่านั้น และควรติดตั้งยางกั้นล้อ สำหรับป้องกันมิให้รถยนต์ถอยชนตู้ชาร์จไฟ
เห็นได้ว่าการกำหนดที่จอดรถให้เหมาะสมสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นสำหรับการชาร์จไฟได้ เช่น ปัญหารถติด จัดระเบียบการใช้งาน และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชาร์จไฟ ด้วยป้ายและเครื่องหมายจราจรต่าง ๆ หากฝ่ายจัดซื้อต้องการอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับวางไว้บนที่จอดรถ เช่น กรวยจราจร ร้านไทยจราจร มีผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการ และยังมีบริการทาสีที่จอดรถสำหรับรถยนต์ EV อีกด้วย
ที่มาข้อมูล