สร้างองค์กรรักษ์โลก ด้วยการหันมาใช้ ถังขยะ แยกประเภท

          ไม่ว่าจะหันไปทางใดก็มักจะได้ยินแต่คำว่า ความยั่งยืน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่เริ่มตื่นตัวในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ภายหลังจากหลายประเทศบนโลกใบนี้ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันเนื่องมาจากน้ำมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ในประเทศปากีสถาน เกาหลีใต้ ยุโรปตะวันตก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย

           นอกจากนี้ยังเกิดปรากฏการณ์ภัยแล้งในประเทศจีน คลื่นความร้อน ทะเลสาบหลายแห่งแห้งเหือด นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นได้บ่อยนัก ส่งผลให้ธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลกหันมาหยิบยกในเรื่องของคาร์บอนเครดิตกันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ไม่มีใครให้ความสนใจเท่าใดนัก

คาร์บอนเครดิตคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการคัดแยกขยะ?

คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิ์ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อม (ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) ยิ่งองค์กรใดลดปริมาณคาร์บอนออกสู่สิ่งแวดล้อมได้มากเท่าไร จะยิ่งสามารถนำสิทธิ์เหล่านั้นไปขายให้กับองค์กรที่ต้องการสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ทุกองค์กรที่เข้าร่วมโครงการจะมีปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมได้เท่ากัน 100% แต่ถ้าองค์กร A ลดปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนได้ 20% ในขณะที่องค์กร B ผลิตคาร์บอนออกมาเกิน 20% สามารถที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตจากองค์กร A ได้ ก็จะเท่ากับว่า องค์กร A และ B ผลิตก๊าซคาร์บอนได้ 100% ตามสิทธิ์ที่เข้าร่วมโครงการนั่นเอง 

How is garbage separation good?

การคัดแยกขยะเกี่ยวข้องอย่างไร?

ในส่วนของการคัดแยกขยะมีส่วนสำคัญไม่น้อยโดยเฉพาะการกำจัดขยะ เพราะจะมีกระบวนการในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา เช่น ขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนที่ไม่ผ่านการคัดแยกปริมาณ 10 ตัน/วัน เมื่อนำมากำจัดส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 10 ตัน/วัน แต่ถ้าทำการคัดแยกแล้วเหลือขยะที่ต้องกำจัดจริงแค่ 7 ตัน/วัน ก๊าซเรือนกระจกก็จะออกมาแค่ 7 ตัน/วันเท่านั้น ในขณะที่เหลือ 3 ตัน สามารถที่จะไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้ 

ในหลายประเทศจึงออกมารณรงค์ให้ประชาชนในประเทศลดการใช้ขยะที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนให้ทุกคนหันไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

7 วิธีปฏิบัติสู่องค์กรรักโลกและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ภายหลังจากภาครัฐเอาจริงในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ประชาชนและองค์กรภาคเอกชนตื่นตัว ต่างขานรับนโยบายนำไปปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของลูกหลานในอนาคต ซึ่งเราจะขอมาแนะนำ 7 วิธีปฏิบัติสู่องค์กรรักโลกและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

1. สำรวจและคัดแยกขยะภายในองค์กร

               สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการคือการสำรวจและคัดแยกขยะภายในองค์กรเสียก่อน เพราะหากบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางได้ ปลายทางก็จะลดเวลาและขั้นตอนในการกำจัดลงได้ อีกทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้แก่พนักงานในองค์กรและร่วมมือร่วมใจในการคัดแยกขยะด้วย เช่น ขยะทั่วไป, ขยะรีไซเคิล, ขยะอันตรายและขยะเศษอาหาร โดยการใช้หลักการ 5 ส เข้ามาช่วยในกิจกรรมดังกล่าว พร้อมทั้งจัดหาถังขยะแยกสีแยกประเภทในการทิ้งให้ถูกต้อง โดยอาจทำการตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะแต่ละประเภทลง เช่น การลดขยะจากกระบวนการผลิต การลดขยะอันตรายจากกระบวนการผลิต เพิ่มการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น 

2. ลดการใช้ภาชนะที่ใช้แล้วทิ้งเปลี่ยนมาใช้ซ้ำ

              การให้พนักงานพกแก้วส่วนตัวมาจากบ้านเพื่อใช้ในการดื่มน้ำที่องค์กรแทนการใช้ถ้วยกระดาษ หรือการใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนพลาสติก เป็นต้น 

3. ลดการใช้กระดาษภายในองค์กร

              เชื่อได้ว่าทุกองค์กรจะต้องมีการใช้กระดาษ A4 สำหรับงานเอกสารจำนวนมาก ซึ่งนั่นหมายถึงจำนวนต้นไม้ที่โดนตัดลงในปริมาณมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากสามารถที่จะนำระบบ Paper less มาใช้ก็จะช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซื้อกระดาษมาใช้งานและลดการใช้ทรัพยากรโลกไปในตัวด้วย เช่น การนำระบบสแกนเอกสารเพื่อแจกจ่ายเอกสารดิจิทัลแทนการใช้กระดาษ การใช้ e-mail ในการตอบรับงานต่าง ๆ การรับคำสั่งซื้อหรือส่งคำสั่งซื้อผ่านระบบ e-mail แทนการแฟกซ์ เป็นต้น

4. ประหยัดพลังงาน

             ออฟฟิศ สำนักงาน หรือแม้แต่โรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หากลดปริมาณการใช้ลง จะช่วยให้องค์กรประหยัดพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายลงได้ เช่น การปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน การปิดแอร์ก่อนเลิกงาน 10 – 15 นาที การเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED หรือการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้ในหน่วยงานบางแห่ง ก่อนที่จะขยายผลไปหน่วยงานอื่น ๆ 

5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

           หลายองค์กรใหญ่ ๆ ต่างมีการออกกฎและข้อบังคับให้ผู้ผลิตได้รับการรับรอง ISO14001 นั่นหมายถึงสินค้าและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากกระบวนการผลิตจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถ้าหากผู้ผลิตไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดโอกาสในการค้าขายกับบริษัทเหล่านั้นจะลดน้อยลงไปด้วย 

6. จัดกิจกรรมกระตุ้นให้พนักงานลดขยะ ลดพลังงานไฟฟ้าในองค์กร

          ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์และให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือองค์กรให้ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าและขยะลง พร้อมกับเป็นการปลูกจิตสำนึกและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงาน ซึ่งอาจจะจัดแคมเปญแบบนี้ในทุก ๆ ปี โดยเสนอเป็นโครงการประกวดที่สามารถลดพลังงานและขยะได้จริง และสามารถนำมาตีเป็นตัวเงินที่ลดลงไปได้

7. ขยายผลในกิจกรรมที่ทำสู่ชุมชน

         ถือเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่องค์กร ด้วยการขยายผลเรื่องการลดพลังงาน การแยกขยะ การลดขยะ จากองค์กรไปสู่ อปพร. และชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เช่น การปลูกป่า การออกเก็บขยะและคัดแยกในชุมชน การทำถังปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อลดขยะในครัวเรือนและยังได้ปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้อีกด้วย

รณรงค์การคัดแยกขยะตามชนิดและสีของ ถังขยะ

การที่จะให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการขัดแยกขยะเพื่อนำไปทิ้ง องค์กรจะต้องจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับขยะแต่ละชนิด เพื่อให้พนักงานเข้าใจ นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงจัดเตรียม ถังขยะ ตามประเภทของขยะที่จะนำไปทิ้ง ดังนี้

1. ถังขยะสีเหลือง 

เป็นถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล บางองค์กรจะจัดทำห้องเก็บขยะรีไซเคิลโดยเฉพาะ เพื่อสะสมให้ได้ปริมาณมากพอก่อนที่จะเรียกให้ร้านรับซื้อของเก่าเข้ามาซื้อ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่องค์กรหรือจะนำเงินที่ได้นั้นมาเป็นรางวัลในการส่งเสริมให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแยกขยะดังกล่าว เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม

2. ถังขยะสีเขียว

เป็นถังขยะสำหรับทิ้งเศษอาหารจากห้องอาหาร ออฟฟิศ สำนักงาน ที่มีการคัดแยกเศษอาหาร ซึ่งจะต้องมีฝาปิดเพื่อป้องกันกลิ่น แมลง และหนูเข้าไป

3. ถังขยะสีน้ำเงิน

เป็นถังขยะสำหรับใส่ขยะทั่วไปที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ถุงขนม ถุงใส่อาหาร หรือโฟม เป็นต้น

4. ถังขยะสีแดง

เป็นถังขยะสำหรับใส่ขยะมีพิษหรือขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง กระป๋องสีต่าง ๆ ถ่านไฟฉาย เป็นต้น 

นอกจากจะทำการคัดแยกขยะใส่ตามสีต่าง ๆ แล้ว ควรทำ ป้ายเตือน หรือป้ายแจ้งประเภทของขยะ เพื่อที่พนักงานจะทิ้งได้อย่างถูกต้องและเจ้าหน้าที่จะได้ระมัดระวังในการขนย้าย เห็นหรือไม่ว่าเพียงเท่านี้ก็สามารถที่จะทำให้องค์กรของท่านกลายเป็นองค์กรรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมได้ เพียงทุกคนช่วยกันและผลักดันจากกิจกรรมเล็ก ๆ ภายในองค์กรก่อนที่จะขยายและให้ความรู้สู่ชุมชน 

สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานใดที่ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัย ป้ายจราจร ไฟฉุกเฉิน หรือต้องการทีมงานที่คอยให้ปรึกษาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ร้านไทยจราจร ยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เพื่อให้องค์กรของท่านเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนสืบต่อไป

[row_inner_8]