แจกบทความฟรี
แนะนำการใช้ ป้ายจราจร และอุปกรณ์ควบคุมการจราจร บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง
พื้นที่ก่อสร้างเป็นบริเวณที่ต้องมีการปิดถนน การใช้ ป้ายจราจร จึงเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ระบายรถได้ดีขึ้น มิเช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเนื่องจากถนนที่คับแคบเลนวิ่งรถเหลือน้อย นอกจากนี้การก่อสร้างสามารถทำได้บนพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เช่น อาคารขนาดใหญ่ หมู่บ้าน หรือห้างสรรพสินค้า การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสถานที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากใช้ไม่ถูกต้องผิดประเภทจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นการทำความรู้จักกับประเภทอุปกรณ์เพื่อควบคุมการจราจร จึงมีประโยชน์ในแง่ของการลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากรถ หรืออุบัติเหตุจากการทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งป้ายจราจร อุปกรณ์กำหนดเลนเดินรถและสัญญาณจราจร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีในไซต์งานก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
ป้ายจราจรกับการก่อสร้าง
ป้ายจราจร ที่กรมทางหลวงกำหนดให้ใช้งานมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และป้ายบังคับ ซึ่งก่อนจะถึงบริเวณก่อสร้าง บริษัทผู้รับเหมาควรติดตั้งอย่างแรกคือ “ป้ายเตือน” ถึงผู้ขับขี่ในระยะก่อนถึงไซต์งาน โดยความเหมาะสมในการติดป้ายขึ้นอยู่กับระยะทางและเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนด
- ป้ายแรกที่ควรติดตั้งคือ ป้ายเตือน ให้ระวังการก่อสร้างข้างหน้า เพื่อให้ผู้ขับขี่เตรียมความพร้อมชะลอความเร็วขับรถ และเพิ่มป้ายกำหนดความเร็วที่เหมาะสม โดยความเร็วควรอยู่ที่ประมาณ 30 -50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในบริเวณที่มีการก่อสร้าง 2 ข้างทาง แต่ถ้าผู้รับเหมาดำเนินการสร้างถนน เตรียมทำลายทางเดิมสร้างทางใหม่ ระหว่างนี้ถนนที่เตรียมสร้างยังเป็นลูกรัง อาจเพิ่มป้ายเตือนให้ระวังถนนขรุขระก็ได้ และถ้าผู้ขับขี่เดินทางถึงบริเวณไซต์งานก่อสร้าง ควรมีป้าย Safety First ให้ผู้ขับรถทราบ และเส้นทางเดิมที่ผู้ขับรถเคยเดินทางอาจปิดชั่วคราวเพื่อทำปรับปรุงใหม่ ผู้ก่อสร้างสามารถแก้ไขด้วยการติดป้ายปิดทางชั่วคราวโปรดใช้เส้นทางอื่น และถนนที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างย่อมมีเครื่องจักรกำลังทำงาน ผู้ขับขี่บางคนขับรถมักง่าย อยากขับเร็ว ๆ ไม่ต้องการติดยาวในบริเวณที่มีการก่อสร้าง ขับรถขึ้นมาบนทางสร้างใหม่ที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่ แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการติดป้ายให้ระวังเครื่องจักรที่กำลังทำงานอยู่ ถ้าใกล้เขตสิ้นสุดทางก่อสร้าง ก็ควรปิดป้ายบอกกล่าวด้วย ผู้ขับขี่จะสามารถเปลี่ยนไปใช้ความเร็วในการขับขี่ได้เหมาะสม
- ป้ายแนะนำ สามารถเอามาใช้ในการก่อสร้างได้เช่นเดียวกัน เพื่อแจ้งให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่น ในกรณีที่มีการซ่อมถนนยาวหลายกิโล หรือบริเวณก่อสร้างอยู่ตรงตัวเมือง โดยแนะนำให้ผู้ขับขี่ไปใช้ซอยอื่น หรือระบุทางที่ไปได้ใกล้ที่สุดอยู่ตรงไหน คนที่หลงเข้ามาจะกลับรถได้ง่าย ในบางครั้งหากไม่มีทางใกล้ที่สุดให้รถขับต่อ ทางผู้ก่อสร้างควรสร้างทางพิเศษให้รถเดินบนช่องทางนี้ ด้วยการติดตั้งป้ายแนะนำที่เห็นง่ายในระยะไกล
- ป้ายชนิดที่ 3 คือ ป้ายบังคับ สามารถใช้ควบคู่ไปกับป้ายเตือนและป้ายแนะนำได้ เพราะบริเวณก่อสร้างถนนจะเหลือเส้นทางเดินรถเพียง 1 -2 เลน ทำให้ต้องระวังรถสวนเป็นอย่างยิ่ง ป้ายบังคับทางเดินรถจึงตอบโจทย์ในกรณีที่ปิดหลายช่องทางจราจร หรือเมื่อมีโครงการสร้างทางกลับรถใต้สะพาน ต้องใช้ป้ายบังคับห้ามไม่ให้รถที่มีความสูงเกินกำหนดเข้ามาในบริเวณใต้สะพาน เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกับสะพาน
นอกจากนี้ป้ายทั้งสามแบบควรมีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดี เพื่อให้รถที่ขับตอนกลางคืนมองเห็นได้ง่าย จะสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือใช้ป้ายพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถกระพริบอยู่ตลอดเวลา ผู้ขับขี่รถช่วงค่ำมืดมองเห็นได้โดยสะดวกมากกว่าป้ายสะท้อนแสงทั่วไป
อุปกรณ์กำหนดเลนเดินรถ
การก่อสร้างบนทางหลวงนั้น ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปิดเส้นทางการเดินรถบางส่วน หรือปรับปรุงเอาบางเลนออกไปจากพื้นที่เดิม เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อาทิ ทางด่วน และรถไฟฟ้า สิ่งแรกที่บริษัทรับเหมานำมาใช้ปิดช่องทางจราจรคือ กรวยจราจร ในระยะแรกการปิดเลนด้วยกรวย จะใช้เพื่อเคลียร์พื้นที่อย่างง่าย เช่น การขุดดิน หรือนำไปกำหนดอาณาเขตของพื้นที่ก่อสร้าง แต่เมื่อสร้างไปสักระยะ เริ่มมีการนำเครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ขนาดใหญ่มาใช้ดำเนินงาน ควรนำแบริเออร์เพื่อป้องกันไม่ให้รถขับเข้าเลนในบริเวณก่อสร้าง และเพื่อป้องกันมิให้รถขุดเจาะของบริษัทขับเลยนอกเขตก่อสร้างที่กำหนด
แบริเออร์ มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ แบริเออร์พลาสติกบรรจุน้ำ แบริเออร์คอนกรีต และแบบพลาสติกธรรมดา ซึ่งการเลือกใช้แบริเออร์ควรพิจารณาถึงวัสดุที่ไม่ทำให้อุบัติเหตุรุนแรงกว่าเดิม ดังนั้นพลาสติกใส่น้ำน่าจะตอบโจทย์มากที่สุด หากกังวลว่าชนิดพลาสติกบรรจุน้ำจะกันรถใหญ่ชนไม่อยู่จนข้ามมาถึงเขตก่อสร้าง ก็ควรเลือกแบริเออร์ชนิดคอนกรีตแทน แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมาก แรงกระแทกจากคอนกรีตอาจทำให้คนขับรถเสียชีวิตได้ ทั้งนี้แบร์ริเออร์ยังป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์หลุดไปบนท้องถนนด้วย เช่น ขวดน้ำ วัสดุก่อสร้าง หรือขยะชนิดใหญ่ สิ่งเหล่านี้จะทำให้รถมอเตอร์ไซค์ที่ขับผ่านมาเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุได้
อย่างไรก็ดี กรวยจราจร จะมีประโยชน์เด่นชัดเมื่อรถต้องขับในถนนขนาดเล็กอย่างเลนสวน แบร์ริเออร์จะใช้งานไม่ได้ผลบนพื้นที่ขนาดเล็กเหมือนกับกรวย และมีความสำคัญขึ้นอีกหลังงานก่อสร้างเสร็จสิ้น เหลือเพียงขั้นตอนส่งมอบ ระหว่างนี้จะนำแผงกั้นขนาดใหญ่ออกไปเพื่อเปิดช่องทางเดินรถ อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน เราจึงเห็นการใช้กรวยจราจรแพร่หลายกว่าแบริแออร์ ในกรณีที่มีการก่อสร้างบนอาคารสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องวางของใหญ่จนต้องกั้นถนนด้วยแบริเออร์
นอกจากนี้ กรวยจราจรยังสามารถใช้งานได้ดีบนอาคารเช่น ระหว่างการสร้างคอนโด จะใช้กรวยและรั้วกั้นไม่ให้คนนอกพื้นที่ หลงเข้าไปข้างใน หรือนำไปกั้นเพื่อแบ่งที่จอดรถ ได้แก่ ที่จอดรถยนต์ และ ที่จอดรถจักรยานยนต์ หรือใช้แบ่งเลนเข้าออกของรถในอาคาร
สัญญาณ และ เครื่องหมายจราจร บนสถานที่ก่อสร้าง
ตามนิยามที่ทางกรมทางหลวงระบุไว้ว่า เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางคือ “สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ให้คำแนะนำการใช้ทางหลวงนั้น” เมื่อเริ่มก่อสร้างแม้ว่าจะติดตั้งป้ายเตือนก่อนถึงไซต์ก่อสร้างแล้ว ยังต้องทำ เครื่องหมายจราจร ตามที่กรมทางหลวงระบุคือ เส้นชะลอความเร็ว โดยกำหนดไว้ว่า “เส้นชะลอความเร็วแต่ละชุด ต้องมีการติดตั้งป้ายเตือนงานก่อสร้าง ระยะห่าง 60 เมตร จากเส้นชะลอความเร็วแถบที่ 6” หากบริษัทมีแนวโน้มใช้ระยะเวลาก่อสร้างนาน ควรติดตั้งเส้นนี้บนถนน และต้องทำ สัญลักษณ์จราจร ควบคู่ไปเพื่อลดความเร็วของผู้ขับขี่ให้มากที่สุด ด้วยการติดตั้งป้ายเขตชุมชนขอให้ชะลอความเร็วรถใกล้กับเส้นชะลอ เพื่อเป็นจุดสังเกตได้ง่าย และเมื่อใกล้ถึงระยะก่อสร้าง ผู้รับเหมาอาจจัดให้มีสัญญาณจราจรดำเนินการควบคู่ไปด้วยกับการก่อสร้าง คือ นำสัญญาณธงมาใช้บอกช่องทางเดินรถ ซึ่งเป็นต้นทุนการให้สัญญาณถูกที่สุด เมื่อเทียบกับสัญญาณจราจรอื่น เพียงใช้คนโบกธงสีแดงจำนวน 1- 2 คนในกรณีที่ถนนบางเลนโดนปิด แต่ถ้าถนนมีความกว้างมาก พื้นที่ก่อสร้างข้างทางน้อย ก็ใช้ไฟจราจรตามปกติก็ได้เพื่อระบายรถและติดตั้งป้ายให้ใช้ทางเบี่ยง
ทั้งนี้ในบริเวณเส้นชะลอ สามารถทาสีและพ่นข้อความบนถนนด้วย เพื่อลดความเร็วรถบนถนนก่อนถึงบริเวณก่อสร้าง สีที่ใช้ต้องเป็นสีขาวเพราะตัดกับสีของพื้นถนน ข้อความที่เห็นส่วนมากคือ “ลดความเร็ว” หรือ “เขตชุมชน” และบริเวณก่อสร้างควรติดตั้งไฟที่ส่องบนไซต์งานให้คนขับรถสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน จะช่วยลดอุบัติเหตุจากการบดบังทัศนียภาพ ทั้งนี้หากประเมินว่าจะเกิดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างผู้รับเหมาควรเลือกติดตั้งป้ายให้ระวังฝุ่นด้วย เพื่อให้คนนอกพื้นที่ทราบแต่เนิ่น ๆ และเมื่องานก่อสร้างใด ๆ เสร็จสิ้น ถ้าถนนได้รับความเสียหายจากการก่อสร้าง ทางผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบซ่อมแซมผิวจราจรและตีเส้นพื้นแสดงเครื่องหมายจราจรให้เหมือนเดิมด้วย โดยประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
จะเห็นได้ว่า วิธีลดอุบัติเหตุ ด้วยสิ่งที่ยกมาข้างต้นนี้ สำคัญอย่างยิ่งกับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง หากละเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ขึ้น ผู้รับเหมาไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ค่าเสียหายทั้งหมดต้องเป็นผู้รับผิดชอบ สูญเสียโอกาสรับงานในอนาคต
หากท่านต้องการคำปรึกษาเรื่องจัดระบบจราจรและเลือกใช้สินค้าอุปกรณ์จราจรทุกประเภท ร้านไทยจราจร พร้อมลงพื้นที่ดูหน้างานจริงด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี และจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์อย่างครบครัน ลดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://trafficthai.com/
ที่มาข้อมูล
- http://www.doh.go.th/uploads/tinymce/service/bid/doc_bid/construc.pdf?fbclid=IwAR2MRbHRjpeZTfwxmM8Q-Dde9aG3mNdAasKGuljwSlK1LzozO_vUAC3ttuM
- https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3469974
- https://trafficthai.com/shop/product/construction-sign-in-front/
- https://trafficthai.com/shop/product-category/trafficsign/construction/
- https://www.trafficthai.com/content_blog-18.html