แจกบทความฟรี
เรื่องเล่าจากพนักงานดับเพลิง ตอนช่วยเหลือตึก World Trade Center ถล่ม !!
เหตุการณ์ 911 หรือเหตุวินาศกรรมเครื่องบินพุ่งชนอาคาร World Trade Center นับเป็นเหตุสะเทือนขวัญที่ประทับอยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วโลกมานาน แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดมานานกว่า 17 ปี แล้ว แต่ภาพตึกแฝดที่คอย ๆ ถล่มทลายลงมา พร้อมพรากชีวิตของผู้คนไปมากกว่า 2000 คนในเหตุการณ์ครั้งนั้นคืออุบัติการณ์ที่โลกไม่มีทางลืม เพราะเป็นเหตุก่อการร้ายที่ระทึกขวัญ สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่ามหาศาล และในเหตุการณ์ครั้งนั้นต้องถือว่าอาชีพที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งในฐานะของผู้ที่เสียสละเพื่อคนอื่น ๆ แล้ว ก็ยังถือเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบของตนเองอย่างเคร่งครัด แม้ว่าหน้าที่นั้นจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตของพวกเขาก็ตาม ผู้เสียสละเหล่านั้นก็คือพนักงานดับเพลิงนั่นเอง ซึ่งแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่เรื่องเล่าขานจากนักดับเพลิงเหล่านี้ก็ยังคงน่าประทับใจ และน่าสนใจ ตามที่ ร้านไทยจราจร ขอเสนอรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การเข้าปฏิบัติงานของพนักงานดับเพลิง พนักงานดับเพลิงถือเป็นหน่วยงานแรกที่เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุของตึก World trade center และพวกเขาไม่ได้พยายามหนีเอาตัวรอดแต่อย่างใด ยังคงพยายามเข้าไปในตึกเพื่อช่วยชีวิตผู้คนออกมาให้ได้มากที่สุด และเนื่องจากตึก World trade center เป็นตึกที่มีความสูงมากกว่า 70 ชั้น ในขณะเกิดเพลิงไหม้เพราะเครื่องบินพุ่งเข้าชนระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่สามารถทำงานได้ทำให้พวกเขาต้องเดินเท้าขึ้นบันไดไปให้ความช่วยเหลือซึ่งนับว่าเป็นงานที่หนักมาก เพราะต้องแบกอุปกรณ์ระงับเหตุเพลิงไหม้ติดตัวขึ้นไปด้วย แต่เนื่องจาก ไฟฉุกเฉิน ยังสามารถทำงานได้อยู่ ผู้คนจึงถูกอพยพออกมาจากบันไดหนีไฟเป็นหลัก
2. ความเสียสละของพนักงานดับเพลิง แม้ว่าบรรดาพนักงานดับเพลิงที่เข้าปฏิบัติงานจะรู้อยู่แล้วว่าการระงับเหตุฉุกเฉินของตึก World trade center ในวันนั้น มีความยากและเสี่ยงต่อชีวิตของพวกเขา แต่อันตรายต่าง ๆ เหล่านั้นก็ไม่สามารถหยุดยั้งความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขาได้ พนักงานดับเพลิงหลายนายยังคงพยายามเข้าไปในตึกเพื่อช่วยเหลืออพยพผู้ประสบเหตุให้สามารถออกมาจากตึกให้ได้มากที่สุด ทำให้ในเหตุการณ์นี้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่มากถึง 300 คน
3. ผลกระทบที่ตามมาจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ตึก World trade center แม้ว่าเหตุการณ์ตึก World trade center ถล่มจะเกิดขึ้นมานานกว่า 17 ปีแล้ว แต่ก็พบว่าพนักงานดับเพลิงที่เข้าปฏิบัติงานในวันนั้นยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังตามมา โดยเฉพาะปัญหาทางเดินอากาศหายใจ เพราะในช่วงที่ตึกถล่มลงมานั้นเกิดฝุ่นควันจากเศษซากต่าง ๆ ในปริมาณมาก โดยพวกผู้ที่อยู่เหตุการณ์นั้นไม่สามารถหาอุปกรณ์ป้องกันอย่าง หน้ากากป้องกันฝุ่น N95 มาใช้งานได้ทัน ส่งผลให้มีผลเสียชีวิตจากผลกระทบทางสุขภาพต่อเหตุการณ์ดังกล่าวมากกว่า 100 ราย อันเป็นสถิติจากสำนักงานดับเพลิงนิวยอร์ก
4. นอกจาก 2 ตึกหลักที่ถล่มลงมาแล้วยังมีตึกอื่น ๆ เสียหายอีก ในความเป็นจริงแล้ว ตึก World trade center นั้นประกอบไปด้วยตึกต่าง ๆ รวมกันถึง 7 ตึกด้วยกัน แต่ตึกที่ถูกโจมตีด้วยเครื่องบินนั้นมีทั้งหมด 2 ตึกที่ตั้งเป็นคู่แฝดกัน ถึงกระนั้นตึกอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทั้งจากเศษซากเชื้อเพลิงในขณะที่ตึกแฝดเกิดเพลิงไหม้ และแรงสั่นสะเทือนในขณะที่ตึกแฝดถล่มลงมา จนไม่มีตึกใด ๆ ในกลุ่มของตึก World trade center ที่อยู่ในสภาพแข็งแรงจนสามารถใช้งานได้อีก อย่างไรก็ตามได้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าไปอพยพผู้คนจากตึกอื่น ๆ ออกมาได้หมด กรณีผู้บาดเจ็บก็จะถูกนำขึ้น เปลสนาม เพื่อพาไปรักษาตัวยังสถานพยาบาล คงเหลือแต่ตึกแฝดที่มีผู้ติดค้างบริเวณชั้นบนเท่านั้น หากไม่มีการเสียสละเข้าปฏิบัติงานด้วยความกล้าหาญของพนักงานดับเพลิงเหล่านั้น ย่อมมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าเดิมเป็นแน่
5. การประกาศให้วันที่ 11 กันยายน เป็นวันรักชาติของสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญในการเข้าปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างพนักงานดับเพลิงและตำรวจ รวมถึงเหยื่อผู้เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช โดยในวันดังกล่าวจะมีบรรดาญาติมิตรของผู้ที่สูญเสียมาร่วมไว้อาลัยนะจุดที่เครื่องบินตก ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 ลำด้วยกัน เพื่อไว้อาลัยให้กับผู้วายชนม์ และสรรเสริญคุณความดีของผู้เสียสละ และคงจะยึดถือปฏิบัติเช่นนี้ไปอีกยาวนาน
จึงอาจกล่าวได้ว่า เหตุการณ์ตึก World trade center ถล่มเนื่องจากถูกเครื่องบินที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายยึดเอาไว้เข้าพุ่งชนนั้น คือเหตุการณ์สะเทือนความรู้สึกของชาวอเมริกา และผู้คนจากทั่วโลก มีเหยื่อที่ต้องเสียชีวิตมากกว่า 3000 คน และยังมีผู้สูญหายที่ไม่สามารถหาศพพบอีกกว่า 24 คน ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ล้วนต้องตกเป็นเหยื่อความขัดแย้งระหว่างประเทศอย่างไม่ทันรู้ตัวมาก่อน ผู้ที่รอดชีวิตหลายรายก็ยังคงต้องแบกรับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเองก็ตื่นตัวในการกำหนดมาตรการความปลอดภัยของสนามบินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวัตถุหรือสิ่งของที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ หรือการใช้ เครื่องตรวจจับโลหะ ค้นร่างกายผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่องบิน รวมถึงการตรวจค้นสิ่งของต่าง ๆ ที่ถูกนำขึ้นเครื่องบินอย่างละเอียด ล้วนเป็นมาตรการความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ร้านไทยจราจร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงไม่มีความสูญเสียในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอีกบนโลกใบนี้