ข้อควรระวังหากออกแบบ ที่จอดรถ ไม่ได้มาตรฐาน มีอันตรายกว่าที่คุณคิด พร้อมบอกวิธีการเลือกซื้อ

Caution for parking

                    ในพื้นที่ของลานจอดรถนั้นสิ่งสำคัญคือความปลอดภัยในการใช้งาน การสร้างลานจอดรถจึงต้องให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบแผนผัง รวมไปถึงการก่อสร้างพื้นที่ลานจอดรถให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้การใช้งานมีความสะดวกและปลอดภัย

                    ที่จอดรถ ที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นอาจจะมีอันตรายมากกว่าที่เราคิด ซึ่งวันนี้ทาง ร้านไทยจราจร จะมานำเสนอถึงวิธีการออกแบบลานจอดรถและการเลือกซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้งานในลานจอดรถที่จะช่วยให้การใช้งานมีความปลอดภัย รวมถึงอันตรายจากการใช้งานลานจอดรถที่ไม่มีมาตรฐาน จะได้เป็นแนวทางในการบริหารลานจอดรถสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง 

การออกแบบพื้นที่ส่วนต่างๆของลานจอดรถ

1. ช่องจอดรถ

มาตรฐานของช่องจอดรถยนต์นั้น กำหนดให้มี 2 ลักษณะดังนี้

  • ช่องจอดแบบมาตรฐาน    เป็นการออกแบบช่องจอดรถในลักษณะแนวตรง ซึ่งขนาดความกว้างของช่องต้องไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร  ด้านข้างตัวรถต้องมีระยะห่างจากรถที่จอดด้านข้างให้เพียงพอต่อการขึ้น-ลงของผู้  ขับขี่  และผู้โดยสารภายในรถอย่างสะดวก
CArs parking
  • ช่องจอดรถแบบเส้นทแยงมุม 45 องศา   เป็นลักษณะการออกแบบช่องจอดรถให้ง่ายต่อการใช้งาน มีลักษณะเฉียงเพื่อให้เดินหน้าเข้าและถอยหลังออกจากช่องจอดได้ง่ายขึ้น เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ จากการถอยรถออกจากช่องจอดแล้วไปชนเข้ากับรถอีกฝั่งหรือชนกันเสาของอาคารจอดรถได้

              นอกจากนี้ยังจอดได้รวดเร็ว  เนื่องจากไม่ต้องมีการถอยจอดแบบช่องจอดมาตรฐาน แต่ที่จอดแบบนี้ข้อเสียอาจทำให้มีการเสียพื้นที่ในลานจอดรถไปบ้างจากการออกแบบ แต่ก็แลกมาด้วยความสะดวกสบายในการใช้งานและมีความปลอดภัยมากขึ้น

2. ช่องทางจราจร

ช่องทางจราจรหรือช่องทางเดินรถเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้งานลานจอดรถ การออกแบบช่องทางเดินรถที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย

โดยมาตรฐานของช่องเดินรถนั้น ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5.5-6 เมตร สำหรับลานจอดรถแบบช่องมาตรฐาน และทางเดินรถควรกำหนดให้เป็นการเดินรถทางเดียว (One-way) หากกำหนดทางเดินรถแบบสวนทางกันได้ ต้องทำช่องทางเดินรถให้กว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร จึงจะมีความปลอดภัย

car parking lane
Parking is not up to standard
3. ทางเข้า-ออก   

ทางเข้า-ออกลานจอดรถนั้นต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 เมตร ไม่อยู่ในบริเวณทางโค้งและทางร่วมทางแยก และต้องติดป้ายบอกให้ชัดเจน

car parking entrance
parking entrance
4. ทางขึ้น-ลงลานจอดรถ   

การออกแบบทางลาดสำหรับขึ้น-ลงลานจอดรถ ต้องกำหนดให้มีความลาดชันไม่เกินร้อยละ 15 ทางลาดช่วงหนึ่งต้องสูงไม่เกิน 5 เมตร หากทางลาดสูงเกิน 5 เมตร ต้องมีที่พักรถที่ปลายทางลาดด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการขับรถขึ้น-ลงอาคารจอดรถ ทางลาดที่ชันเกินไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

Parking ramp spiral

แนะนำอุปกรณ์จราจรเพื่อยกระดับลานจอดรถให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย

                 เมื่อทราบถึงการออกแบบลานจอดรถที่ได้มาตรฐานแล้ว การนำอุปกรณ์จราจรมาใช้ในลานจอดรถนอกจากจะเป็นการช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยให้ลานจอดรถมีความทันสมัยง่ายต่อการบริหาร 

1. อุปกรณ์กั้นทางเข้า-ออก     

สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ตรงทางเข้า-ออก ที่ทาง ร้านไทยจราจร มีจำหน่ายและแนะนำให้นำมาใช้งานนั้น มีดังนี้

Barrier Gate
  • ไม้กระดก เป็นอุปกรณ์กั้นรถที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน ซึ่งมีทั้งไม้กระดกที่ควบคุมการเปิด-ปิดด้วยพนักงานรักษาความปลอดภัย และควบคุมแบบอัตโนมัติด้วยระบบรีโมทคอนโทรลระยะไกล ที่ช่วยให้มีความสะดวกและทันสมัย
  • ประตูหมุนล้อเลื่อน ผลิตจากวัสดุสเตนเลส ที่ฐานมีล้อสำหรับเลื่อนเปิด-ปิด ใช้งานได้อเนกประสงค์ และใช้งานได้ง่ายกว่าแผงกั้นแบบเหล็กที่ใช้การยกเพื่อเปิด-ปิด

            การควบคุมการเข้า-ออก จะช่วยคัดกรองและรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นได้จากการตรวจค้นของพนักงานรักษาความปลอดภัย และยังสามารถจำกัดสิทธิ์ในการเข้าไปยังลานจอดรถของผู้ขับขี่ที่ได้รับอนุญาตได้

            ในการเลือกซื้ออุปกรณ์กั้นทางเข้า-ออก ควรให้เลือกให้เหมาะกับความกว้างของทางเข้าและลักษณะการใช้งาน หากเป็นพื้นที่กลางแจ้งก็ควรเลือกวัสดุที่ไม่เป็นสนิม เช่น อะลูมิเนียมเป็นหลัก หากใช้ภายในอาคารก็อาจจะเลือกที่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น

2. ป้ายจราจร

ในพื้นที่ลานจอดรถนั้น มีส่วนที่เป็นช่องทางจราจรเพื่อให้รถวิ่ง การควบคุมการจราจรจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงควรมีการติดป้ายเอาไว้กับตามจุดต่างๆ ดังนี้

pedestrian traffic sign
  • บริเวณทางเดินรถ ควรติดป้ายบอกเส้นทางเดินรถที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ฝ่าฝืน เครื่องหมายจราจร ที่กำกับการเดินรถไว้ เพราะลานจอดรถนั้นจะควบคุมการเดินรถแบบทางเดียวเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องมีเครื่องหมายบอกทางอย่างชัดเจน
  • บริเวณทางแยก ควรติด ป้ายห้ามเข้า เอาไว้กำกับเพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถเข้าไปยังช่องจอดรถแบบผิดทางที่กำหนดไว้เพื่อ หรือที่เรียกว่าขับย้อนศร อาจจะใช้ กรวยจราจร วางกั้นเอาไว้บนพื้นทางเพื่อเป็นสัญลักษณ์เพิ่มเติมก็ได้ หากว่าในบางครั้งผู้ขับขี่ไม่ได้สังเกตป้ายที่เตือนไว้
3. อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยวชน กันกระแทก 

ในลานจอดรถมักจะมีมุมอับสายตาที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ขอบเสาตรงบริเวณทางเลี้ยวขอบเสาตรงช่องจอดรถบางช่อง หรือตรงช่องจอดรถที่อยู่ติดกับผนังหรือราวกันตก  จึงอาจขับรถไปเบียดเสาหรือถอยรถเพื่อจอดแล้วไปชนเข้ากับผนังด้านหลังได้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายทั้งต่อตัวรถและโครงสร้างอาคาร การนำอุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยวชน กันกระแทก มาใช้จะช่วยป้องกันเหตุดังกล่าวได้

Corner-Guard
  • ยางกันชนขอบเสา   เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสียหายจากการเฉี่ยวชนเสาของอาคาร โดยผลิตจากยางคุณภาพสูง มีแถบสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ชัด ช่วยลดความเสียหายให้กับรถและโครงสร้างอาคารได้
  • ยางกันกระแทก   เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดปัญหาในการถอยรถเพื่อเข้าจอดในช่องจอดรถ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ขับขี่มองเห็นได้ยาก อาจถอยรถมากเกินไปจนชนเข้ากับผนังหรือราวกันตก การติดตั้งอุปกรณ์ในการกันกระแทกจะช่วยลดอันตรายจากสาเหตุดังกล่าวได้
parking-blocks
4. อุปกรณ์ดับเพลิง   

ในลานจอดรถนั้นต้องมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้น โดยต้องติดตั้ง ถังดับเพลิง เอาไว้ให้ครอบคลุมทุกชั้นอย่างเพียงพอ มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานตลอดเวลา และต้องติดตั้ง ป้ายเตือน เอาไว้เพื่อไม่ให้ผู้ใดนำสิ่งกีดขวางมาวางหรือนำรถมาจอดขวางการเข้าถึงอุปกรณ์ดับเพลิง และต้องสามารถใช้งานได้ทันที

Fire-Safety-Equipments

อันตรายจาก ที่จอดรถ ไม่ได้มาตรฐาน

การนำรถเข้าไปใช้บริการในลานจอดรถที่ไม่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยนั้น อาจจะมีอันตรายมากกว่าที่เราคิด ดังนี้

  1. ขับรถเบียดเสาตรงทางเลี้ยวที่แคบเกินไป หรือเบียดเสาในช่องจอดรถที่ไม่มียางกันชนขอบเสาเพื่อป้องกันความเสียหาย
  2. จอดรถเบียดรถที่จอดอยู่ข้างๆเพราะช่องจอดเล็กกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น
  3. ขับรถเฉี่ยวชนคนเดิน เฉี่ยวชนรถคันอื่น เนื่องจากถนนมีความคับแคบ ทางเลี้ยวเป็นมุมอับสายตาบดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ หรือไม่ติดตั้งยางชะลอความเร็วที่พื้นทาง ทำให้ผู้ขับขี่บางคนใช้ความเร็วในลานจอดรถมากเกินไปจนเกิดอันตราย
  4. ถอยรถชนกำแพง เนื่องจากช่องจอดมีความยาวที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีที่กั้นล้อและไม่ติดตั้ง ยางกันกระแทก เพื่อใช้งาน
  5. ควบคุมรถไม่อยู่เมื่อขับขึ้น-ลงทางลาด เนื่องจากทางขึ้น-ลงมีความลาดชันมากเกินกำหนด หรือพื้นถนนมีความลื่นจากวัสดุที่ใช้ทำถนนเอง รวมถึงไม่ติดยางกันลื่นที่พื้นทางขึ้น-ลงลานจอดรถ

               การออกแบบลานจอดรถนั้นสิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามมาตรฐานลานจอดรถที่กฎหมายควบคุมไว้ การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่อาจจะมาจากความมักง่ายในการออกแบบหรือเพื่อลดต้นทุนในการก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลานจอดรถไม่มีมาตรฐานที่ปลอดภัยเพียงพอ ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานอย่างคาดไม่ถึง

ที่มาข้อมูล