อุปกรณ์สำคัญเพิ่มความปลอดภัยให้กับ ที่จอดรถ ในอาคาร

                    การสร้าง ที่จอดรถ หรือ ลานจอดรถ ในอาคาร คอนโด หรือห้างสรรพสินค้า หัวใจสำคัญหลัก ๆ เลยคือเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของทรัพย์สิน ความปลอดภัยของบุคคลทั้งตัวเองและผู้อื่น โดยวันนี้ไทยจราจรจะมาพูกถึงมาตรฐานในการสร้าง ที่จอดรถ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับที่จอดรถในอาคาร 

 

มาตรฐานทั่วไปในการสร้างลานจอดรถ

ช่องจอดรถมาตรฐาน ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 หมวด 9 เรื่องอาคารจอดรถ ที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถ 

ข้อ 86 ที่จอดรถหนึ่งคันต้องเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าและต้องมีลักษณะ ดังนี้

(1) ในกรณีที่จอดรถตั้งฉากกับแนวทางเดินรถ ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร

(2) ในกรณีที่จอดรถขนานกับแนวทางเดินรถ หรือทำมุมกับทางเดินรถน้อยกว่า 30 องศา ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร

(3) ในกรณีที่จอดรถทำมุมกับทางเดินรถตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไป ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร

ที่จอดรถต้องทำเครื่องหมายแสดงลักษณะและขอบเขตที่จอดรถแต่ละคันไว้ให้ปรากฏบนที่จอดรถนั้น และต้องมีทางเดินรถเชื่อมต่อโดยตรงกับทางเข้าออกของรถและที่กลับรถ

 

                       ข้อ 88 ทางเข้าออกของรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร เว้นแต่เป็นการเดินรถทางเดียวต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3.50เมตร ทางวิ่งของรถ ในกรณีจอดรถทำมุมต่าง ๆ กับทางวิ่งของรถ จะต้องกว้างไม่น้อยกว่าเกณฑ์ ดังนี้

(1) กรณีจอดรถทำมุมกับทางวิ่งน้อยกว่า 30 องศา ทางวิงของรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร

(2) กรณีจอดรถทำมุมตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไปแต่ไม่เกิน 60 องศา ทางวิ่งของรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร

(3) กรณีจอดรถทำมุมเกิน 60 องศา ทางวิ่งของรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร

 

 

                 นอกจากจะสร้างที่จอดรถให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เรื่องอุปกรณ์ที่จะมาเสริมเรื่องความปลอดภัยก็สำคัญไม่แพ้กันเพราะจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการถอยรถเข้าที่จอด การเปิดประตูในพื้นที่จำกัด หรือเส้นทางจราจรการเดินรถในอาคารจอดรถ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หากมีอุปกรณ์มาช่วยเสริมจะทำให้การจอดรถมีความปลอดภัยขึ้นมา 100 % 

 

อุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยให้กับที่จอดรถในอาคาร

  • ป้ายจราจร  ป้ายจราจรเราอาจจะรู้สึกคุ้นชินกันบ้างแล้วเพราะเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน โดยป้ายที่อยู่ตามท้องถนนนั้นจะแบ่งเป็นประเภทป้ายได้ 3 ประเภท คือ ป้ายบังคับ ป้ายเตือน และป้ายแนะนำ 
  • ป้ายบังคับ คือ ป้ายกำหนดเป็นคำสั่งบังคับให้ผู้ขับขี่ต้องทำตามเพื่อสร้างความเป็นระเบียบบนท้องถนน หากมีผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย
  • ป้ายเตือน คือ ป้ายที่มี เครื่องหมายจราจร เป็นข้อความหรือสัญลักษณ์ที่ใช้เตือนให้ผู้ขับขี่ทราบเหตุการณ์ข้างหน้าว่ามีอันตราย ให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่

 

 

ป้ายจราจรไม่ได้ใช้กับถนนเพียงเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับอาคารสถานที่ เช่น อาคารจอดรถ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายแนะนำให้ผู้ขับขี่ทราบถึงทิศทางการกลับรถ ทางเข้า ทางออก ของอาคารจอดรถ หรือป้ายบอกชั้นของอาคารจอดรถ เพื่อความเป็นระเบียบในการสัญจร และป้องกันความสับสนทิศทางของผู้ขับขี่อันก่อให้เกิดอันตรายในอาคารจอดรถได้

  • กรวยจราจร เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย เพราะใช้ในการกำหนดเส้นทางเดินรถภายในลานจอดรถ ให้การเดินรถเป็นระเบียบลดการเกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่ทางเข้า-ออกอาคารจอดรถต้องใช้เส้นทางเดียวกันจำเป็นต้องมีการแบ่งเส้นทางระหว่างกลางให้ชัดเจน อาจจะใช้ กรวยจราจร มาวางเพื่อแบ่งเส้นให้คนขับไม่ล้ำไปเลนฝั่งตรงข้าม

 

กระบองไฟ

 

  • กระบอง ไฟจราจร สำคัญมากในการโบกรถในเวลากลางคืน กระบองไฟจราจรจะทำให้คนขับรถมองเห็นได้ในระยะไกลแล้วยังทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้โบกรถเองด้วย กระบองไฟจราจร หรือกระบอง ไฟกระพริบ ของไทยจราจร มีความพิเศษคือสามารถเสียบชาร์จไฟได้ โดยมาพร้อมกับอุปกรณ์เป่านกหวีดคอยให้สัญญาณเสียงผู้ขับขี่ มีไฟ 3 ระบบ คือ ไฟกระพริบ ไฟค้าง และไฟฉายให้เลือกใช้

 

  • ยางกันกระแทก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสียหายให้กับทรัพย์สินของคุณได้แบบ 100 % หมดปัญหาถอยรถชนกำแพงเนื่องจากมองไม่เห็นกำแพงในเวลากลางคืนด้วย ยางกันกระแทกของไทยจราจร มีคุณสมบัติสะท้อนแสงมองเห็นอย่างชัดเจนในเวลากลางคืนเมื่อไฟรถส่อง

 

ยางกั้นล้อ

 

  • ยางกั้นล้อ  มีความสำคัญมากสำหรับลานจอดรถทั้งในและนอกอาคาร ยางกั้นล้อรถช่วยให้รถถอยไม่ชนกำแพง กันรถไหลช่วยลดอุบัติเหตุที่จะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังช่วยจัดระเบียบการจอดรถให้ดูเป็นระเบียบสวยงาม


  • ยางชะลอความเร็ว ใช้เพื่อชะลอความเร็วรถที่วิ่งบนถนนเล็กตามซอก ซอยในหมู่บ้าน ก่อนถึงทางข้ามของคนเดินเท้า ตรงลานจอดรถหรืออาคารจอดรถ ยางชะลอความเร็วของ “ไทยจราจร” มีความน่าสนใจ ตรงที่มีลูกแก้วสะท้อนแสงสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน เป็นอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งสะดวกกว่าการเทปูนหรือคลุกเป็นยางมะตอยที่เรียกว่า ลูกระนาด ง่ายต่อการติดตั้งและรื้อถอน รับน้ำหนักได้มากถึง 20 ตัน

 

 

  • ป้ายช่องจอดรถคนพิการ อีกลานจอดรถหนึ่งที่จำเป็นต้องมี คือ พื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ โดยพื้นที่จอดรถสำหรับบุคคลดังกล่าวจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2,400 มิลลิเมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 6,000 มิลลิเมตร มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและต้องมีระยะห่างด้านข้างตัวรถไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร วิธีการบ่งบอกว่าเป็นพื้นที่จอดสำหรับผู้พิการส่วนใหญ่จะเพนต์สีพื้นเป็นสีฟ้า มีสัญลักษณ์สำหรับผู้พิการ หรือไม่ก็ใช้ป้ายช่องจอดรถคนพิการกำกับไว้

 

  • ถังดับเพลิง ในอาคารจอดรถไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า บริษัท หรือสถานที่ราชการ ควรมีถังดับเพลิงติดตั้งเอาไว้เพื่อลดความเสียหายจากเหตุไฟไหม้อาคาร หรือไฟไหม้ที่เกิดจากตัวเครื่องยนต์เอง ถังดับเพลิง ชนิดที่เหมาะกับลานจอดรถ คือ ชนิดสารระเหยที่มีฉลากสัญลักษณ์ A กับสัญลักษณ์ B ติดอยู่ เพราะเมื่อดับเพลิงเสร็จจะไม่ทิ้งคราบสกปรกเอาไว้ ไม่ทำให้รถเสียหาย

 

ที่จอดรถจักรยานยนต์ 

         นอกจากมีที่จอดรถสำหรับรถยนต์แล้ว พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์ในอาคารก็สำคัญไม่แพ้กันเพราะประเทศไทยนิยมการใช้งานมอเตอร์ไซค์กันอย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้นหากคุณคิดจะสร้างลานจอดรถต้องเผื่อพื้นที่สำหรับไว้จอดรถจักรยานยนต์ด้วย 

 

 

มาตรฐานทั่วไปในการสร้าง ที่จอดรถจักรยานยนต์

  • ขนาดช่องจอดและทางวิ่งของมอเตอร์ไซค์ ช่องจอดควรมีขนาด 1×2 m. พอดีกับคันมอเตอร์ไซค์ ไม่เบียดเวลาจอดกันหลาย ๆ คัน ส่วนขนาดของทางวิ่งควรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2.5 m. เพื่อให้วิ่งได้สะดวกไม่เกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุใด ๆ 
  • มีการเผื่อระยะทางสำหรับตีวงเลี้ยว พื้นฐานของรถมอเตอร์ไซค์ไม่สามารถเลี้ยวแบบหักศอกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตีวงเลี้ยวให้เหมาะสม
  • กะพื้นที่จอดให้เพียงพอ พยายามกะพื้นที่ของช่องจอดรถให้เพียงพอเพื่อลดโอกาสโดนขโมย เพราะการจอดซ้อนกันหลาย ๆ คันไม่สามารถล็อกคอเอาไว้ได้ และดูไม่เป็นระเบียบเสี่ยงต่อการถูกเบียดเสียดสี เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
  • มี ป้ายจราจร บอกชัดเจน การมีป้ายจราจรบอกเส้นทางต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ขับขี่รู้ว่าควรไปตรงไหน ต้องขับอย่างไรเพื่อลดอุบัติเหตุ
  • แสงสว่างต้องเพียงพอ สิ่งสำคัญมากคือ ระบบแสงสว่างตรงลานจอดรถจะช่วยลดโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ โดยการติดตั้งโคมไฟถนนโซลาเซลล์ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100 % เปิดปิดอัตโนมัติ

 

 

  • แยกทางเข้าออกอย่างชัดเจน รถยนต์กับมอเตอร์ไซค์ควรแยกทางเข้าออกคนละทาง เพราะจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัด และช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ
  • ติดกระจกโค้งจราจรทางขึ้นลงสวนกัน อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในกรณีที่จอดรถบนอาคารที่ต้องมีทางขึ้นลงสวนกัน การติดกระจกโค้งจะช่วยให้รถมองเห็นคันมี่สวนมา จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากรถวิ่งสวนได้อย่างดี
  • ขอบกั้นควรมีความสูงในระดับที่เหมาะสม ยิ่งอาคารมีความสูงมากยิ่งอันตรายสำหรับการจอดรถมอเตอร์ไซค์ เพราะรถจะสัมผัสกับลมโดยตรงอาจเกิดอุบัติเหตุรถตกจากที่สูงได้ เพราะฉะนั้นขอบกั้นต้องมีความสูงมากพอสมควร เพื่อกันลมไม่ให้เข้ามาปะทะกับรถมอเตอร์ไซค์ โดยตรง

                         การทำลานจอดรถให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากเรื่องทิศทางการเดินรถแล้วอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยก็เป็นหัวใจสำคัญมาก ๆ เนื่องจากเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้ดีที่สุด หากท่านต้องการที่จะสร้างที่จอดรถในอาคารให้มีความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย สามารถเข้ามาพูดคุย สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ได้ และไม่ต้องกังวลเรื่องการติดตั้งเพราะ ไทยจราจร มีเจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์มีความชำนาญการกว่า 40 ปีคอยให้บริการลูกค้าทุกคนและแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน

ที่มาข้อมูล