ชี้จุดเสี่ยงอันตรายบนท้องถนน เกิดขึ้นที่ใดบ้าง ป้ายเตือนและอุปกรณ์จราจรชนิดใดช่วยลดอุบัติเหตุ

road hazards

           การขับรถบนถนนต้องมีสติและสมาธิทั้งเส้นทางที่ขับเป็นประจำและท้องถนนที่ไม่คุ้นเคย เพราะมีหลายปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นรถคันอื่น ฝนตก หรือเส้นทางที่มีจุดเสี่ยงอันตราย ต้องอาศัย ป้ายจราจร ที่เตือนให้รู้ว่าเส้นทางข้างหน้าเป็นอย่างไร ตรงไหนเป็นจุดเสี่ยง ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

          อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งคนขับรถเร็วระยะกระชั้นชิด ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และเส้นทางถนนไม่ปลอดภัย ประเทศไทยรั้งอันดับ 2 ในการจัดอันดับเส้นทางถนนที่อันตรายที่สุดในโลก รองจากอันดับแอฟริกาใต้ โดยที่สหรัฐตามมาเป็นอันดับ 3 จากการเก็บสถิติอุบัติเหตุในปี 2563 และ 2564 โดย Zutobi เว็บไซต์ให้ความรู้กับผู้ขับรถ ผู้ขับรถไม่ควรประมาทและมองหาป้ายเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในระยะที่คนขับสนองตอบได้ทันท่วงที

road hazards

จุดเสี่ยงอันตรายบนท้องถนน เกิดขึ้นที่ใดบ้าง

how-to-properly
สี่แยก

            เป็นจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนบ่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่รีบร้อนไม่ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร มักจะเร่งความเร็วสูงเมื่อเห็นสัญญาณไฟเหลืองแทนที่จะชะลอความเร็วเตรียมหยุดรถ หรือกรณีที่รถแต่ละคันวิ่งมาด้วยความเร็วสูง พอคันหน้าเบรกกะทันหัน คันต่อมาเบรกไม่ทันจึงชนท้ายรุนแรง หากเป็นสี่แยกวัดใจที่ไม่มี สัญญาณไฟจราจร หรือไฟจราจรเสีย ยิ่งเสี่ยงอันตรายมากขึ้นควรชะลอความเร็วลงเพื่อความไม่ประมาท

Road in the area of ​​​​joint-junction
บริเวณทางร่วม-ทางแยก

เป็นอีกจุดที่มักเกิดอุบัติเหตุรุนแรงเพราะเป็นมุมอันตรายยากจะมองเห็นรถคันอื่นที่มาร่วมทางด้วย  หากขับรถเร็ว ขับรถระยะกระชั้นชิด หรือผู้ขับขี่ไม่รู้ว่าทางไหนทางเอกทางไหนทางโท ไม่รู้ว่าควรไปก่อนไปหลัง บ้างก็ไม่สนใจว่าทางใดเป็นทางเอกทางโท ไม่หยุดให้ทางกันย่อมเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ 

ทางโค้งบริเวณทางแยก โค้งหักศอก

เป็นบริเวณที่ถนนสองสายหรือมากกว่าตัดกัน เป็นจุดคับขันที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูง ถ้าขับความเร็วสูงอาจหลุดโค้งตกไหล่ทาง ชนต้นไม้ หรือเสาไฟข้างทาง ในทางกลับกันอาจวิ่งทับกินช่องทางของรถคันอื่นซึ่งเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุวิ่งชนประสานงากับรถที่ขับสวนทางมา

U-turn
จุดกลับรถ

เป็นจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเนื่องจากความประมาท ขับตัดหน้ารถที่วิ่งทางตรงหรือเลื่อนรถออกไปกีดขวางช่องทางจราจร แม้แต่บริเวณจุดกลับรถข้ามเกาะกลางที่เป็นพื้นที่เปิดโล่ง มักจะมีมอเตอร์ไซค์หรือรถขนาดเล็กขับข้ามเลนตัดหน้ารถโดยไม่ระวังจนเกิดอุบัติเหตุ

ทางขึ้น-ลงสะพานที่มีลักษณะเป็นคอขวด ทางแคบลงทั้งสองด้าน

ให้ขับรถช้าลงและเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น ทางข้างหน้าแคบลงและยังเป็นมุมอับสายตาที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย บางครั้งมีมอเตอร์ไซค์หรือรถขนาดเล็กขับแทรกหรือสวนทาง ควรขับช้าลงเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ป้องกันไม่ให้รถชนหรือเบียดเสียดสีกัน

narrow road
บริเวณถนนที่มีไหล่ทางแคบ

มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง ยิ่งมีรถจอดริมข้างทางอยู่ด้วย ยิ่งไม่ควรขับแซงซ้ายด้วยความเร็วสูงเพราะจะมองไม่เห็นรถที่จอดริมไหล่ทางซึ่งกีดขวางเส้นทางอยู่ ทำให้หยุดรถไม่ทันพุ่งชนกันอย่างรุนแรง

มุมถนนทางเลี้ยวเข้าซอยแคบ

ที่มีกำแพงบริเวณปากซอยบดบังสายตา มองไม่เห็นทางฝั่งเลนสวน โดยเฉพาะมือใหม่มักจะขับกินพื้นที่อีกเลนเพราะซอยแคบกลัวเลี้ยวไม่พ้นแล้วชนกับรถที่สวนทางมา บ้างก็ขับชนกำแพง หรือล้อปีนฟุตบาท 

Defective road conditions
บริเวณสภาพถนนที่มีความบกพร่อง

หรือมีการซ่อมทางควรใช้ป้ายเตือนบอกล่วงหน้าและติดตั้ง ป้ายเตือนสิ่งกีดขวางและ ป้ายห้ามเข้า แจ้งในบริเวณที่จัดวางอุปกรณ์ก่อสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่อรถยนต์หรือคนภายนอก

         ปัญหาโดยทั่วไปของบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเนื่องจากไม่มีเครื่องหมายจราจรแนะแนวการขับรถที่ถูกต้อง หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานจนเกิดความเข้าใจผิดหรือความสับสนเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงในการชน ด้วยเหตุนี้ บริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงอันตรายควรติดตั้งป้ายเตือน เครื่องหมายจราจร และสัญญาณไฟจราจร โดยเฉพาะบริเวณทางเลี้ยวหรือทางแยกช่วยลดปัญหาการชนด้านข้างและชนขณะเลี้ยวได้ ส่งผลอย่างมากต่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน 

 

การป้องกันอุบัติเหตุด้วยป้ายเตือนและอุปกรณ์จราจร

เครื่องหมายจราจร มีเป็นอุปกรณ์สำคัญในการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ป้ายเตือน บนถนนช่วยให้ผู้ขับขี่รู้เส้นทางและสภาพถนนข้างหน้าเพื่อให้เตรียมพร้อมระมัดระวังสภาพถนนที่ลื่น ขรุขระ เป็นหลุม บ่อ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ป้ายจราจร มีหลายแบบเพื่อเตือนจุดเสี่ยงอันตรายในแต่ละช่วงถนน มีป้ายแบบไหนบ้างมาดูกัน

 

speed limit sign

 

ป้ายจำกัดความเร็ว

โดยปกติจะใช้ควบคู่กับป้ายบอกทางอื่น ๆ ในกรณีที่ขับบนถนนที่ยาวและคดเคี้ยว หรือถนนที่ลาดชันอาจเป็นอันตรายสำหรับผู้ขับขี่ จำเป็นต้องมีป้ายจำกัดความเร็วสูงสุดเอาไว้ว่าขับได้ไม่เกินกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อให้ขับอย่างระมัดระวังช่วยให้ผู้ขับขี่หลีกเลี่ยงการชนและผ่านจุดอันตรายได้

 

 

ป้ายเตือนทางโค้ง

ป้ายเตือนสีเหลืองบริเวณทางโค้งเป็นตัวบ่งชี้ว่าถนนจะเลี้ยวไปทิศทางใดพร้อมกับเตือนให้ขับรถช้าลงพอสมควร ตรงบริเวณทางโค้งที่อยู่ใกล้ทางแยกบังแนวการมองเห็นของคนขับ ควรมีป้ายเตือนและสัญญาณไฟจราจรเช่นกัน 

 

Road warning sign prohibiting overtaking

 

ป้ายเตือนเขตห้ามแซง

ช่วงถนนที่มีระยะการมองเห็นจำกัด ผู้ขับขี่มองไม่เห็นรถที่สวนมาในระยะที่จะแซงได้ ไม่ควรขับรถแซงคันหน้าในช่วงถนนที่ติดป้ายนี้ หากไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีระยะการมองเห็นที่ปลอดภัย ควรติดตั้งป้ายเตือนพร้อมสัญญาณ ไฟกระพริบ เพื่อเตือนให้คนขับระมัดระวังมากขึ้น

 

construction warning sign

 

ป้ายเตือนงานก่อสร้าง

ป้ายจราจรเตือนผู้ขับขี่ว่าทางข้างหน้ามีงานก่อสร้าง ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังยิ่งขึ้น อาจมาพร้อมป้ายจำกัดความเร็วให้ขับช้าลง รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าให้สว่างมองเห็นบริเวณจุดอันตรายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

A warning sign for the road ahead is a crossroads.

 

ป้ายเตือนทางข้างหน้าเป็นทางแยก และป้ายจราจรทางข้างหน้ามีทางร่วม

เมื่อเลนหลายเลนรวมกันเป็นเลนเดียว ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง ป้ายทั้งสองประเภทนั้นมีหลายแบบ เตือนว่าอย่าเพิ่งแซงรถคันอื่นบริเวณนี้เพราะเป็นช่วงถนนอันตราย 

 

roundabout warning sign ahead

 

ป้ายเตือนวงเวียนข้างหน้า

แจ้งล่วงหน้าให้รู้ว่ามีทางแยกที่เป็นวงเวียนมีเกาะกลางถนนซึ่งเป็นจุดตัดกันให้ขับรถช้าลง รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียน มีป้ายหยุดควบคู่กันเพื่อให้รถที่จะเข้าวงเวียนหยุดรอให้รถในวงเวียนไปก่อน ทำให้แน่ใจว่าการจราจรจะราบรื่น

 

crosswalk warning sign

 

ป้ายเตือนทางม้าลาย

เป็นป้ายจราจรเตือนให้ผู้ขับขี่ขับชะลอความเร็วและระมัดระวังคนเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย เช่น ป้ายคนเดินถนน ป้ายหยุด ป้ายให้ทางคนเดินเท้าที่ขวางหน้าผ่านไปเพื่อให้ปลอดภัยและ ไม่กีดขวางการจราจรบริเวณทางแยก ป้ายเหล่านี้มักจะมีในเขตใกล้โรงเรียนเพื่อแจ้งให้คนขับรู้ตัวว่ากำลังเข้าไปในเขตโรงเรียนที่มีเด็กอยู่ รวมถึงติดป้ายเตือนใกล้ตลาดและในชุมชนเพื่อให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุกับคนเดินเท้า

 

traffic cone

 

กรวยจราจร

เป็นอุปกรณ์เตือนให้เพิ่มความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ไม่เข้าไปใกล้บริเวณที่อันตราย กรวยจราจรมีแถบสะท้อนแสงมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ใช้ประโยชน์ได้หลายสถานการณ์ รวมถึงวางเป็นสัญญาณให้รู้ว่าควรหลีกเลี่ยงจุดไหนที่เสี่ยงอันตราย ควรเลี่ยงเส้นทางออกไปช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

 

 

แผงกั้นและ ตาข่ายพลาสติก

ใช้เป็นอุปกรณ์กั้นไม่ให้รถยนต์สัญจรผ่านหรือเข้า-ออกในบริเวณที่มีการก่อสร้างถนน ซ่อมทางเดิน มีวัสดุกีดขวางที่เป็นอันตรายต่อการเดินทางตลอดจนผู้คนที่สัญจรไปมา เป็นอีกจุดที่คนขับรถควรหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้

 

           ป้ายเตือนและอุปกรณ์จราจรลดอุบัติเหตุและช่วยชีวิตคนได้จริง หากพิจารณามูลค่าของความสูญเสียทั้งชีวิตกทรัพย์สิน การติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์จราจรเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวช่วยลดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ขณะเดียวกันก็ควรพิจารณาจุดติดตั้งป้ายที่เหมาะสม ป้ายที่ติดตั้งใกล้ทางแยกมากเกินไปจะบดบังการมองเห็นหรือมีป้ายมากเกินไปจนรบกวนสมาธิของผู้ขับขี่ 

           หากต้องการใช้ ป้ายเตือน สัญญาณไฟจราจร ไฟกระพริบ เสื้อ แว่นตานิรภัย หน้ากากนิรภัย ไฟฉาย กรวยจราจร และอุปกรณ์สำหรับงานจราจรอื่น ๆ ผู้สนใจสามารถสอบถามและสั่งซื้อได้ที่ ร้านไทยจราจร และเว็บไซต์ https://trafficthai.com/

 

ที่มาข้อมูล: 

-https://trafficthai.com/

-https://trafficthai.com/shop/article_detail-phpid_art152-1/

-https://พลังชุมชนสร้างถนนปลอดภัย.com/sourceknowledge/view/14/เลือกอย่างไรว่าจุดไหนเป็นจุดเสี่ยงอันตราย–black-spot—ทางถนน

-https://www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20181120153241.pdf

-https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/บทความไลฟ์สไตล์/จุดเสี่ยงอันตรายบนท้องถนน