แจกบทความฟรี
แนะนำวิธีลดอุบัติเหตุเขตโรงงานด้วยการติดตั้ง เครื่องหมายจราจร และป้ายเตือน
สภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัยอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีอันตรายมากกว่าสถานที่ทำงานประเภทอื่น การติดตั้ง ป้ายเตือน ความปลอดภัยและเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยขณะทำงาน
อุบัติเหตุเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด ทั้งจากการป้องกันไม่ดีหรือความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย ส่งผลให้คนงานได้รับอันตราย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ฝ่ายนายจ้างสูญเสียทรัพย์สินและประสบปัญหาทางกฎหมาย แต่สามารถเตรียมการป้องกันล่วงหน้าได้ด้วยป้ายจราจรเตือนภัย ไม่ประมาทเลินเล่อ เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ให้น้อยลง
มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องสำคัญเพื่อจัดระเบียบสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม และวางแผนระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะกับงานที่ทำและมีจำนวนเพียงพอ ป้ายเตือนอันตรายเป็น เครื่องหมายจราจร ที่สำคัญอย่างยิ่งในทุกสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อเตือนใจให้คนทำงานระมัดระวังอยู่เสมอ โดยเฉพาะในแผนกโรงงานที่มีเครื่องจักรหนัก สารเคมี และสารไวไฟที่เป็นอันตราย
ผู้ประกอบการต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าควรติดป้ายเตือนในจุดไหนบ้างที่เสี่ยงอันตราย มีป้ายความปลอดภัยครอบคลุมทุกพื้นที่ในโรงงาน รวมถึงติดป้ายห้ามเข้าเพื่อเตือนไม่ให้คนงานเข้าใกล้บริเวณที่มีอันตรายด้วย หากโรงงานบกพร่องด้านการป้องกันความปลอดภัยจนมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด ย่อมส่งผลกระทบเสียหายหลายประการ ผู้ปฏิบัติงานอาจประสบอุบัติเหตุเกิดอันตรายร้ายแรงทำให้บาดเจ็บ พิการหรือเสียชีวิต กระบวนการผลิตหยุดชะงักหรือล่าช้าเสียเวลาได้
ป้ายบังคับให้สวมชุดป้องกันส่วนบุคคลตลอดเวลาที่ทำงานช่วยป้องกันอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติหน้าที่ ลดโอกาสบาดเจ็บและการเสียชีวิตในโรงานและสถานที่ทำงานอื่น ๆ หากลูกจ้างต้องทำงานในลักษณะงานที่เสี่ยงอันตราย ควรจะมี สัญลักษณ์จราจร เตือนลูกจ้างให้ตื่นตัวต่ออันตรายในสถานที่ทำงานมากขึ้น
พร้อมกับจัดอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุควรทำอย่างไร เช่น หกล้ม ลื่นล้ม ตกจากที่สูง วัตถุบาดหรือทิ่มแทง วัตถุกระแทกหรือหล่นทับ ไฟฟ้าช็อต อันตรายจากความร้อนสูงหรือเย็นจัด บาดเจ็บจากเครื่องจักรหรือสารเคมี หากตอบสนองต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในทันทีจะช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บและป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้
ป้ายเตือนแบบไหนช่วยลดอุบัติเหตุในโรงงาน
ป้ายความปลอดภัยแบ่งออกเป็น 6 ประเภท แต่ละประเภทมีความสำคัญทั้งเตือนให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวัง ป้ายห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุและอาจเป็นอันตรายได้ หรือป้ายบังคับที่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยขณะทำงาน ไม่พียงป้องกันอันตรายในพื้นที่ปฏิบัติงานเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมในโรงงานที่น่าทำงานด้วย โดยป้ายความปลอดภัยที่ควรติดเอาไว้ในโรงงานอย่างถาวร และป้ายเตือนที่ใช้ชั่วคราวเมื่อจำเป็น มีดังนี้
1.ป้ายห้าม
คือการห้ามทำพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น ป้ายออกแบบพื้นหลังสีขาว วงกลมสีแดงและเส้นทแยงมุมพาดทแยงมุมขวางคาดทับรูปสิ่งที่ห้ามเป็นสีดำ มีป้ายห้ามที่หลากหลาย เช่น
- ป้ายห้ามสูบบุหรี่ เป็นป้ายวงกลมมีสัญลักษณ์รูปบุหรี่สีดำ หมายความว่า ห้ามสูบบุหรี่บริเวณนี้ ใช้ในจุดที่จัดเก็บหรือใช้สารเคมีไวไฟในโรงงาน
- ป้ายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ นิยมใช้ในโรงงาน เพราะคลื่นของสัญญาณโทรศัพท์มือถืออาจทำให้เกิดไฟไหม้
- ป้ายห้ามถ่ายรูป เพื่อป้องกันไม่ให้แสงแฟลชทำให้เกิดความเสียหายหรือเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว
- ป้ายห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต เพื่อป้องกันคนภายนอกเข้าไปในพื้นที่ หรือคนภายในที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นถูกห้ามไม่ให้เข้าไปก่อนได้รับอนุญาต
- ป้ายห้ามเข้า ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยงอันตรายด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย มักจะมีข้อความระบุด้วย เช่น “พื้นที่อันตรายห้ามเข้า” “พื้นที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้า” “ห้ามเข้าเด็ดขาด” “ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต”
- ป้ายห้ามสวมรองเท้าแตะ เป็นป้ายเตือนอันตรายทำให้รู้ว่าต้องสวมรองเท้านิรภัยขณะทำงาน
2.ป้ายบังคับ
คือการบังคับให้ทำบางสิ่งและบังคับให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลในบริเวณที่กำหนด เช่น ป้ายบังคับสวมหมวกนิรภัย ป้ายบังคับสวมถุงมือนิรภัย ป้ายบังคับสวมหมวกนิรภัย ป้ายบังคับสวมแว่นตานิรภัย ป้ายบังคับสวมหน้ากากกันสารเคมี ป้ายบังคับสวมหน้ากากเชื่อม ป้ายบังคับต้องล้างมือให้สะอาด และอื่น ๆ
หากเห็นป้ายบังคับต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข นอกจากรูปสัญลักษณ์แล้ว ป้ายบังคับอาจมีเฉพาะคำหรือข้อความสีดำบนพื้นหลังสี่เหลี่ยมสีขาว ทั้งนี้ ป้ายบังคับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน นอกจากนี้งานแต่ละประเภทแตกต่างกัน ต้องระมัดระวังเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติการป้องกันถูกต้องตรงกับลักษณะของงานมากที่สุด เช่น รองเท้ากันลื่น รองเท้ากันน้ำ รองเท้ากันสารเคมี และรองเท้ากันไฟดูด
3.ป้ายเตือน
คือการเตือนให้ระมัดระวังพื้นที่อันตราย เช่น ป้ายระวังอันตราย ป้ายระวังพื้นลื่น ป้ายระวังวัตถุไวไฟ ที่ติดตั้งในจุดที่คนสัญจรไปมามองเห็นได้ชัดเจน หรือป้ายเตือนสำหรับตั้งพื้น เป็นป้ายที่เคลื่อนย้ายได้และนำมาวางไว้ชั่วคราวเพื่อระมัดระวังอันตรายจากการลื่นหกล้มบนพื้นที่เปียกหรือกำลังทำความสะอาดพื้น
ลักษณะของป้ายนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นสีเหลือง มีรูปลักษณ์และข้อความสีดำ ป้ายเตือนบอกถึงอันตรายในที่ทำงาน ได้แก่ “ระวังไฟฟ้าแรงสูง” “ระวังสารเคมีอันตราย” “อันตรายไฟฟ้าช็อต” “ป้ายเตือนอันตรายจากรังสี” “ระวังวัสดุไวไฟ” ป้ายนี้จะต้องติดตั้งในบริเวณที่มีอันตรายและมีความเสี่ยงทันที หากไม่ทำตามอาจเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตได้ เช่น จุดที่มีเครื่องจักรถือว่าอันตรายและมีปัญหาด้านความปลอดภัยมากที่สุด ควรมีป้ายเตือนให้เช็กเครื่องจักรว่ามีสภาพที่ดีมีความปลอดภัยทุกครั้งก่อนทำงาน หรือป้ายปิดเครื่องเมื่อเลิกใช้งาน เป็นต้น
4.ป้ายความปลอดภัย
คือป้ายแสดงข้อมูลหรือภาวะปลอดภัยหรือพื้นที่ปลอดภัยในสถานที่ทำงาน พร้อมกับแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ลักษณะป้ายมีพื้นหลังสีเขียว รูปสัญลักษณ์และข้อความสีขาว ถือเป็นป้ายอเนกประสงค์ที่ใช้ได้หลากหลายประโยชน์ เช่น “ป้ายทางหนีไฟ” “ป้ายทางออก” “ป้ายปฐมพยาบาล” “ป้ายปลอดภัยไว้ก่อน” “ป้ายโทรศัพท์ฉุกเฉิน” “ป้ายที่พักสูบบุหรี่” และ “จุดถังขยะทิ้งและรีไซเคิล” เป็นต้น
5.ป้ายเกี่ยวกับอัคคีภัย
คือป้ายข้อมูลทั่วไป แตกต่างจากจากป้ายบังคับ ป้ายเตือน และข้อควรระวังต่าง ๆ ลักษณะของป้ายมีพื้นหลังสีแดง รูปสัญลักษณ์และตัวหนังสือเป็นสีขาว เช่น “ป้ายถังดับเพลิง” “ป้ายอุปกรณ์ดับเพลิงฉุกเฉิน” “ป้ายสายฉีดน้ำดับเพลิง” “ป้ายโทรศัพท์ฉุกเฉิน” “ป้ายสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้” ป้ายจะบอกตำแหน่งของที่จัดเก็บอุปกรณ์ดับเพลิง เช่น ถังดับเพลิง หน้ากากป้องกันควัน และสายยางดับเพลิง โดยมากจะติดตั้งป้ายใกล้จุดที่เก็บอุปกรณ์เหล่านี้ อาจมีสัญญาณเตือนไฟไหม้ทั้งรูปแบบเสียงไซเรนและ ไฟกระพริบ ด้วย
6.ป้ายจราจร และสัญญาณจราจร
เป็นส่วนหนึ่งของป้ายความปลอดภัยในที่ทำงาน โรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งมีโซนขนถ่ายสินค้าและคลังสินค้าของตัวเอง รถบรรทุกเข้ามาส่งวัสดุและรับสินค้าไปจำหน่าย โดยปกติโรงงานจะต้องมีป้ายจราจรบอกเส้นทาง และเครื่องหมายจราจรอื่น ๆ เช่น ป้ายบอกทาง สัญญาณ ไฟจราจร บริเวณทางแยกและใช้ กรวยจราจร กั้นเส้นทางเดินรถ ในคลังสินค้าที่มีรถยกโฟล์คลิฟท์ยิ่งต้องระมัดระวังมากขึ้นโดยติดป้ายจำกัดความเร็วและเครื่องหมายจราจรอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่โรงงาน
ลักษณะของป้ายบังคับและป้ายเตือนความปลอดภัย
ป้ายข้อความและสัญลักษณ์มีขนาดใหญ่ อ่านข้อความได้เข้าใจ ไม่มีความซับซ้อน หากมีการติดตั้งป้าย ระยะการมองเห็นเป็นเรื่องสำคัญจะต้องมองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล ยังรวมถึงการติดป้ายเตือนอย่างเหมาะสม เช่น ป้ายบังคับและป้ายเตือนอันตรายติดผนังไว้ถาวร เช่น ป้ายห้ามเข้า ป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือป้ายชั่วคราวแบบตั้งพื้นและเคลื่อนย้ายได้ เช่น ป้ายระวังพื้นลื่น ป้ายระวังรถยก ป้ายระวังสะดุด ป้ายระวังศีรษะ ป้ายระวังสิ่งกีดขวาง เป็นต้น
เพราะความปลอดภัยของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกป้ายความปลอดภัย สัญลักษณ์จราจร และอุปกรณ์เซฟตี้ที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน ส่งผลให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ทำงานสะดวกรวดเร็วและรับประกันปลอดภัย สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายโดยไม่ต้องเสี่ยงบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
ส่งผลให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานดีขึ้น ผลพลอยได้ก็คือการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย หากสนใจเลือกซื้อและใช้งานอุปกรณ์จราจรและ เครื่องหมายจราจร อื่น ๆ รวมถึงป้ายบอกทาง ป้ายห้ามเข้าโซนอันตราย ไฟกระพริบ กรวยจราจร และถังดับเพลิงเผื่อกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในโรงงาน สอบถามและสั่งซื้อได้ที่ ร้านไทยจราจร เว็บไซต์ https://trafficthai.com/
ที่มาข้อมูล
- https://trafficthai.com/
- https://www.duncan-parnell.com/blog/the-importance-of-safety-signage-in-the-workplace
- https://www.smartsign.com/blog/do-safety-signs-reduce-accidents-at-workplace/
- https://safetybox.co.uk/prohibition-safety-sign-sales-uk-based/
- https://signsmart.com.au/how-workplace-safety-signs-keep-factories-safe/