เปิดคำแนะนำการออกแบบอาคารที่จอดรถให้ถูก แบบไม่ต้องเสียเวลาแก้ไข

ความต้องการในการใช้รถยนต์ที่มากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้พื้นที่จอดรถเป็นปัจจัยสำคัญของคนเดินทาง การก่อสร้างอาคาร ที่จอดรถ เพื่อรองรับการใช้งานจึงเพิ่มขึ้นในทุกวัน การออกแบบและก่อสร้างที่มีมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมาในภายหลัง หากใครกำลังสนใจที่จะสร้างอาคารจอดรถ ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ ในการก่อสร้าง โดยวันนี้เราขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างไปดูกัน

 

 

 

การจัดทำที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ ถูกกำหนดให้เป็นองค์ประกอบในหลาย ๆ อาคารอย่างเช่น โรงมหรสพ โรงแรม ภัตตาคาร อาคารชุด อาคารสรรพสินค้า สำนักงาน ตลาด โรงงาน คลังสินค้า อาคารเก็บของ ตึกแถว สถานพยาบาล สถานศึกษา สถานบริการ และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยและข้อกำหนดจำนวนพื้นที่จอดรถของอาคารแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันไป โดยจะจัดทำเป็นพื้นที่กลางแจ้งหรือเป็นอาคารจอดรถก็ได้

 

 

 

 

ในส่วนของอาคารจอดรถที่ต้องทำตามข้อบัญญัติฯนี้ จะต้องเป็นอาคารจอดรถที่มีจำนวน 10 คันขึ้นไป หรือมีพื้นที่จอด ทางรถวิ่ง และที่กลับรถในอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 300 ตารางเมตร โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญหลายข้อ อย่างเช่น

 

 

 

 

⦁ อาคาร ที่จอดรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ต้องใช้วัสดุทนไฟทั้งหมดเป็นโครงสร้างหลัก ทั้งคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
⦁ ระบบระบายอากาศของอาคารจอดรถที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องสามารถแลกเปลี่ยนอากาศภายในชั้นนั้นภายในเวลา 15 นาที หากเป็นชั้นที่อยู่เหนือระดับพื้นดินและใช้ส่วนเปิดโล่งเป็นที่ระบายอากาศ ต้องมีพื้นที่เปิดโล่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ในชั้นนั้น และต้องอยู่ห่างจากที่ดินข้างเคียง หรืออาคารอื่นไม่น้อยกว่า 3 เมตร และในกรณีที่ใช้เครื่องระบายอากาศต้องสามารถเปลี่ยนอากาศภายในชั้นนั้นภายใน 15 นาที เช่นเดียวกับการระบายอากาศของลานจอดรถชั้นใต้ดิน 
 
 
 
 
⦁ ต้องจัดทำราวกันตกเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ในบริเวณที่เป็นส่วนเปิดโล่ง
⦁ อาคารจอดรถที่มีการใช้สอยประโยชน์อย่างอื่นด้วย ต้องกั้นประเภทอาคารด้วยผนังกั้นไฟ และมีช่องเปิดเฉพาะประตูที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ รวมถึงสามารถปิดสนิทเพื่อกันควันไฟและเปลวไฟได้ 
⦁ ทางลาดระหว่างชั้นสำหรับรถขึ้นลง จะต้องไม่เกินร้อยละ 15 โดยที่ทางลาดช่วงนั้นๆ ต้องสูงไม่เกิน 5 เมตร ถ้าทางลาดสูงเกิน 5 เมตร ต้องมีที่พักขนาดยาวไม่ต่ำกว่า  6 เมตร ซึ่งควรมี ป้ายจราจร คอยบอกเส้นทางกำกับไว้ด้วย 
 
 
 
 
⦁ ทางลาดแบบโค้งต้องมีรัศมี ความโค้งขอบด้านในไม่ต่ำกว่า 6 เมตร และพื้นที่ลาดชันต้องไม่เกินร้อยละ 12 
⦁ พื้นที่สำหรับจอดรถ ต้องมีความลาดชันน้อยกว่าร้อยละ 5 
⦁ ต้องมีบันไดระหว่างชั้นจอดรถที่กว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร ในทุก ๆ 2, 000 ตารางเมตร โดยเศษของพื้นที่ถ้าเกิน 1,000 ตารางเมตร ให้เพิ่มอีกหนึ่งบันได และแต่ละบันได ห่างกันไม่ต่ำกว่า 30 เมตร
⦁ มีระบบระบายน้ำจากชั้นจอดรถทุก ชั้นที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำที่ระดับพื้นดินหรือที่ต่ำกว่า
⦁ ต้องมีระบบท่อดันน้ำดับเพลิงตามมาตรฐานของหน่วยงานดับเพลิงในทุก ๆ ชั้น ซึ่งต้องมีหัวจ่ายน้ำ 1 หัวต่อพื้นที่จอดรถทุก 100 คัน 
 
 
 
 
⦁ ต้องติดตั้ง ถังดับเพลิง แบบมือถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามชนิดและขนาดตรงตามมาตรฐาน ประกอบด้วย โฟมเคมีขนาดไม่น้อยกว่า 10 ลิตร หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม หรือผงเคมีแห้งขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม 
⦁ การคำนวณความสูงของอาคารจอดรถ ที่มีระบบเคลื่อนย้ายรถด้วยเครื่องจักรกล ต้องคำนวณจากระดับพื้นดินไปจนถึงส่วนที่สูงที่สุดของอาคารจอดรถ
⦁ การคำนวณพื้นที่ของอาคารจอดรถ ที่มีระบบเคลื่อนย้ายรถด้วยเครื่องจักรกล ต้องคำนวณจากพื้นที่ที่รถสามารถจอดได้ 1 คัน โดยคิดรวมกันทุกคัน ซึ่งรวมถึงพื้นที่ที่บุคคลสามารถใช้สอยได้ด้วย
⦁ อาคารจอดรถที่ใช้ลิฟต์ในการยกรถไปยังชั้นต่าง ๆ จะมีหรือไม่มีทางลาดในอาคารก็ได้ โดยจำนวนรถต้องไม่เกิน 90 คัน หากไม่มีทางลาด
 
 
 
 
⦁ ถ้าต้องใช้ลิฟต์ยกรถแทนทางลาด ต้องมีลิฟต์ยกรถ 1 เครื่อง ต่อที่จอดรถ 30 คัน ถ้าจำนวนที่จอดรถต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของ 30 ให้ตัดทิ้ง แต่ถ้าเกินครึ่งหนึ่งให้คิดเต็ม โดยลิฟต์ยกรถนี้ห้ามใช้สำหรับโดยสาร
⦁ อาคารจอดรถที่มีความสูงมากกว่า 10 ชั้น จากระดับพื้นดินและขึ้นลงด้วยทางลาดได้ทุกชั้น ต้องมีลิฟต์ยกรถที่สามารถใช้งานได้ทุกชั้นเป็นทางสัญจรอีกทางหนึ่งด้วย 
⦁ แสงสว่างภายในอาคาร ที่จอดรถจักรยานยนต์  ซึ่งรวมถึง ไฟกระพริบ ต้องไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ (LUX)
⦁ ระยะห่างระหว่างที่จอดรถกับอาคารใช้สอยต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 200 เมตร โดยวัดระยะแนวราบจากทางเข้าออกทั้งสองแห่ง ซึ่งควรติดตั้ง ป้ายจราจร ไว้เป็นสัญลักษณ์ในการเดินทางด้วย 
 
 
 
 
⦁ การคำนวณกำลังวัสดุและน้ำหนักบรรทุก ต้องคำนึงถึงแรงสั่นสะเทือนจากรถวิ่งและแรงลม ซึ่งต้องได้มาตรฐานตามข้อกำหนดที่ระบุไว้
⦁ ในส่วนของช่อง ที่จอดรถ ต้องเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยความกว้างและความยาวขึ้นอยู่กับลักษณะการจอด หากจอดตั้งฉากกับแนวทางเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่ต่ำกว่า 5 เมตร หากจอดแนวขนาน หรือทำมุมน้อยกว่า 30 องศากับทางเดินรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร และถ้าจอดทำมุมมากกว่า 30 องศากับแนวทางเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร ซึ่งการติดตั้ง ยางกันกระแทก ในซองจอดรถก็เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้เป็นอย่างดี
⦁ ทางเข้าออกของรถ ต้องกว้างกว่า 6 เมตร ถ้าเป็นรถเดินทางเดียวต้องกว่า 3.5 เมตร โดยใช้ กรวยจราจร หรือ ป้ายห้ามเข้า ตั้งไว้ในจุดที่ไม่อนุญาตให้รถผ่าน
 
 
 
 
⦁ ความกว้างของทางรถวิ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการจอด โดยถ้ารถจอดทำมุมกับทางวิ่งน้อยกว่า 30 องศา ต้องมีความกว้างมากกว่า 3.5 เมตร ถ้าจอดรถทำมุม 30-60 องศา ความกว้างต้องมากกว่า 5.5 เมตร และถ้าจอดรถทำมุมมากกว่า 60 องศา ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
⦁ ทางเข้าออกจากอาคารจอดรถที่มากกว่า 15 คัน ต้องเชื่อมกับทางสาธารณะที่มีความกว้างมากกว่า 6 เมตร ซึ่งควรออกแบบโดยคำนึงถึง ปัญหารถติด และความคล่องตัวของการจราจรภายในอาคารด้วย
⦁ ในระหว่างการก่อสร้างต้องจัดทำรั้วชั่วคราวแบบทึบสูงมากกว่า 2 เมตร กั้นตามแนวเขตที่ติดต่อกับที่ดินสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของ 
⦁ ผู้รับผิดชอบต้องดูแลป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง หรือวัสดุต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง ร่วงหล่นจนอาจเกินอันตรายผู้อื่น ซึ่งการใช้ ป้ายเตือน หรือ รั้วตาข่าย ก็เป็นตัวช่วยได้ 
 
 
 
 
⦁ ห้ามก่อสร้างโดยใช้เสียงที่ดังกว่า 75 เดซิเบล (เอ) เมื่อวัดที่ระยะห่างจากจุดก่อสร้าง 30 เมตร 
⦁ ห้ามก่อสร้างซึ่งเป็นเหตุ ที่จะทำให้รบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียงในช่วงเวลา 22.00- 06.00 น. นอกจากจะมีการป้องกันและได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการ กทม.
 
     ข้อมูลข้างต้นเป็นรายละเอียด บางส่วนของข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารจอดรถที่ระบุไว้ใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ซึ่งหากใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูรายละเอียดในข้อบัญญัติฯ ฉบับบเต็มได้ เพื่อให้สามารถสร้างอาคารจอดรถได้ถูกแบบไม่ต้องเสียเวลาแก้ไข โดยข้อบัญญัติฯ ฉบับนี้มีการประกาศใช้เพื่อทดแทน ข้อบัญญัติฯ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งได้มีการแก้ไขให้มีเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปมากขึ้น นอกจากข้อมูลจากข้อบัญญัติฯนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก กฎหมายควบคุมอาคารของสำนักการโยธากทม. ซึ่งได้ใส่รายละเอียดพร้อมด้วยตำแหน่งอ้างอิงไว้แบบเข้าใจง่าย

 

 

 

 

 

การก่อสร้างอาคารที่จอดรถที่มีความแข็งแรงได้มาตรฐานมีความสำคัญ เพราะเมื่อสร้างแล้วก็มีเป้าหมายว่าสามารถใช้งานได้ในระยะยาวโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยในงานจราจรก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงข้อนี้ได้ อย่างเช่น การติดตั้ง ยางกันกระแทก ก็จะช่วยลดอัตราการถอยรถชนผนังอาคาร ซึ่งอาจก่อความเสียหายได้มากกว่าที่คิด การเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายให้กับเจ้าของพื้นที่และผู้ที่มารับบริการได้ไม่น้อยเลย