ข้อควรรู้เมื่อจะทำที่จอดรถจักรยานยนต์ในพื้นที่สำนักงาน

             สำหรับสำนักงานหรือบริษัทต่าง ๆ แล้ว การบริหารจัดการพื้นที่ในส่วนที่เป็นสำนักงานสำหรับการทำงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานในแผนกต่าง ๆ นั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ แต่ในจุดหนึ่งที่มักมีการละเลยกันนั่นก็คือพื้นที่สำหรับการจอดรถ จนทำให้จุดที่คิดว่าเล็ก ๆ นี้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของพนักงานได้ เช่น หาที่จอดรถไม่ได้เมื่อมาถึงที่ทำงาน ที่จอดรถมีความไม่ปลอดภัยทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สินจนเกิดความกังวลใจ ดังนั้นการให้ความสำคัญในการออกแบบที่จอดรถจึงมีความสำคัญไม่น้อย และนี่คือข้อควรรู้เมื่อจะทำที่จอดรถจักรยานยนต์ในพื้นที่สำนักงาน ที่ทาง ร้านไทยจราจร นำมาแนะนำ

1. ทางเข้า-ออกต้องชัดเจน

ทางเข้า-ออก ที่จอดรถจักรยานยนต์ นั้นเป็นจุดที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุด โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เช่น ช่วงเช้าตอนมาทำงาน หรือช่วงเย็นหลังเลิกงาน การทำทางเข้า-ออกที่ไม่สามารถควบคุมการจราจรได้ดีจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งในการออกแบบทางเข้า-ออกที่จอดรถนั้น มีหลักดังนี้

 

  • แยกทางเข้า-ออกเป็นคนละทาง แม้ว่าสำนักงานหลายแห่งใช้ทางเข้า-ออกร่วมกันที่จุดเดียว แต่ก็สามารถใช้อุปกรณ์จราจรมาใช้ในการแบ่งทางดังกล่าวออกจากกันอย่างเป็นสัดส่วนได้ เช่น นำป้อมยามมาตั้งเอาไว้ตรงจุดกึ่งกลาง , นำ กรวยจราจร มาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งช่องทาง หรือจะติดตั้งเสาหลักจราจรที่เราเรียกว่าเสาล้มลุกเอาไว้ตรงจุดนี้ก็ได้ เพราะการวางกรวยเอาไว้อาจจะเกิดการล้มหรือถูกจัดวางอย่างไม่เป็นระเบียบ เสาล้มลุกที่ถูกติดตั้งด้วยการยึดเจาะไปกับพื้นถนนจะช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี และยังมองเห็นได้ชัดเจนกว่า กรวยจราจร ด้วย
  • ไม่ทำทางเข้า-ออกอยู่ในจุดอับสายตา ทางเข้า-ออก ต้องออกแบบให้ไม่อยู่ในจุดอับสายตา เช่น บริเวณทางโค้งหรือทางแยก เพราะจะทำให้เกิดอันตราย เนื่องจากทางโค้งนั้นมีมุมที่บดบังวิสัยทัศน์การขับขี่ จะทำให้รถที่ขับตามมาเบรคไม่ทัน หรือหากอยู่ตรงทางแยก ก็ยิ่งจะทำให้เกิดอันตรายจากรถที่ขับมาจากทิศทางอื่นได้
  • ความกว้างต้องเพียงพอ ทางเข้า-ออกสำหรับรถจักรยานยนต์นั้นต้องมีความกว้างมากพอในการนำรถเข้าออกได้อย่างสะดวก ควรออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ทั้งทางเข้าและทางออกจึงจะมีความเหมาะสม

 

standard parking space

 

standard-parking-space

 

2. ช่องจอดรถต้องได้มาตรฐาน

               การออกแบบให้ลานจอดรถมีพื้นที่สำหรับการจอดรถได้ในจำนวนมากถือเป็นเรื่องที่ดีในการจัดการพื้นที่ แต่ก็ต้องออกแบบช่องที่ใช้สำหรับจอดรถให้มีความกว้างมากพอ ดังนี้

  • ช่องจอดมาตรฐาน  โดยขนาดของช่องสำหรับการจอดรถจักรยานยนต์แบบมาตรฐานที่เหมาะสมควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร จึงจะทำให้ใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย
  • ช่องจอดสำหรับจักรยานยนต์ขนาดใหญ่  รถจักยานยนต์ขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าบิ๊กไบค์ (Big Bike) นั้น เป็นยานพาหนะที่มีขนาดใหญ่กว่ารถจักรยานยนต์โดยทั่วไปและมีราคาที่ค่อนข้างแพง จึงควรมีการแยกพื้นที่สำหรับการจอดรถประเภทนี้ออกมาจากที่จอดปกติ เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจอดต่อคันมากกว่าและต้องมีการดูแลมากกว่า

 

Designate a lane for parking

 

 

3. ออกแบบถนนภายในให้มีความสะดวก

               ถนนหรือช่องทางเดินรถนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้ ทางเดินรถสำหรับใช้ใน ลานจอดรถจักรยานยนต์นั้น ควรออกแบบดังนี้

  • ขนาดช่องจราจร  ช่องทางจราจรนั้นต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร เพื่อให้มีที่ว่างเพียงพอในการนำรถเข้าออกช่องจอดรถให้มีความปลอดภัยและสะดวก
  • กำหนดช่องทางเดินรถ  ในพื้นที่สำหรับจอดรถนั้นไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ผู้รับผิดชอบควรกำหนดให้มีการเดินรถทางเดียว เพราะการปล่อยให้รถขับขี่สวนเลนกันได้จะทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุง่ายกว่าการเดินรถแบบช่องทางเดียวที่สามารถควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการจราจรได้ง่ายกว่า

 

Intersection Parking Lot Traffic Sign

 

Intersection Parking Lot Traffic Sign

 

4. ติดตั้งป้ายกำกับการจราจร

              การนำ ป้ายจราจร มาใช้ในที่จอดรถ จะช่วยให้ทำการควบคุมการจราจรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยจุดที่ควรติดตั้งป้าย มีดังนี้

  • ตรงทางเข้า-ออก  ตรงจุดนี้ควรติดตั้งป้ายที่บ่งบอกว่าทางใดคือทางเข้าและทางใดคือทางออกเอาไว้เพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสนจนใช้เส้นทางผิด
  • ตรงทางแยก  จุดนี้เป็นจุดที่อาจทำให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสนได้ง่าย ควรติด ป้ายจราจร กำกับเอาไว้ เช่น ป้ายให้เลี้ยวซ้าย , ป้ายให้เลี้ยวขวา , ป้ายห้ามเข้า เพื่อเป็น เครื่องหมายจราจร กำกับการเดินรถให้ผู้ขับขี่ทราบได้ว่าช่องทางใดคือช่องทางเดินรถที่ถูกต้อง การขับขี่รถสวนทางเข้าไปในช่องทางห้าม จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่ขับมาตามช่องทางที่ถูกต้องได้ และยังทำให้การจราจรติดขัดอีกด้วย การมี ป้ายเตือน เอาไว้จะช่วยให้การจัดการลานจอดรถง่ายยิ่งขึ้น

 

Fire extinguisher in the car park

 

car-park-fire-alarm

 

5. อุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้

            ในที่จอดรถนั้นเต็มไปด้วนยานพานะอยู่จำนวนมากและใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในบางครั้งระบบของรถบางคันอาจมีการชำรุด นอกจากนี้ลานจอดรถยังมีระบบไฟฟ้าที่อาจลัดวงจรได้ทุกเมื่อ การติดตั้งระบบป้องกันเพลิงไหม้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ที่ควรติดตั้งเอาไว้ในที่จอดรถ มีดังนี้

  • ถังดับเพลิง   เป็นอุปกรณ์ระงับเพลิงไหม้พื้นฐานที่ทุกสถานที่ควรมี ควรติดตั้งตามจุดต่างๆของที่จอดรถอย่างเพียงพอที่จะระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้นได้ทัน โดย ถังดับเพลิง ที่ทาง ร้านไทยจราจร มีจำหน่ายนั้นมีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด มีให้เลือกหลายประเภท เช่น ถังประเภทชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย , ถังประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มีคุณสมบัติที่ดีคือไม่ฟุ้งกระจายและไม่ทิ้งคราบสกปรกเอาไว้เมื่อใช้งานเสร็จ , ถังประเภทสารเหลวระเหย Halotron ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าจึงไม่สร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ที่แนะนำให้ที่จอดรถมีติดตั้งเอาไว้ก็คือ ถังประเภทสารเคมีแห้ง  (Dry Chemical)
  • สัญญาณเตือนภัย  นอกจากอุปกรณ์ดับเพลิงแล้ว การติดตั้งสัญญาณเตือภัยเอาไว้ จะเป็นการช่วยเตือนภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ได้เพื่อให้ผู้คนที่อยู่บริเวณนั้นทราบและหนีออกมาจากลานจอดรถได้ทัน สัญญาณเตือนภัยนั้นมีทั้งแบบที่ต้องกดปุ่มเพื่อให้สัญญาณดังและแบบที่ส่งสัญญาณอัตโนมัติเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องตรวจจับควันไฟ เพื่อแจ้งเตือนได้ทันทีแม้จะไม่มีผู้พบเห็นจุดเพลิงไหม้นั้น

 

light for parking

 

 

6. ระบบไฟส่องสว่าง

            สำนักงานหลายแห่งมีที่จอดรถจักรยานยนต์อยู่ใต้อาคารที่แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือบางแห่งก็เปิดทำการในช่วงเวลากลางคืนที่ต้องมีการเข้า-ออกที่จอดรถในเวลากลางคืน ดังนั้นต้องทำการติดตั้งระบบไฟส่องสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งในจุดของทางเข้า-ออก ตรงบริเวณทางเดินรถ และบริเวณช่องจอดรถให้มีความสว่างมากเพียงพอ จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ในการใช้งานที่จอดรถได้ส่วนหนึ่ง

traffic sign
[/col_inner_2] [/row_inner_2] [/col_inner_1] [/row_inner_1] [/col_inner] [/row_inner]