เส้นจราจรแต่ละสี ต่างกันอย่างไร?

เส้นจราจร เครื่องหมายนำทาง และเครื่องหมายจราจร เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะส่งผลให้ผู้ใช้ทางหลวงใช้ทางหลวงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทางหลวงสามารถรับปริมาณ การจราจรได้ และมีความปลอดภัยสูง แต่เส้นจราจร เครื่องหมายนำทาง และเครื่องหมายจราจร ที่บรากฏบนผิวนั้นจะต้องสามารถสื่อความหมายได้ตามเป้าหมาย และผู้ใช้ทางรับทราบอย่างรวดเร็ว

ความหมายและวัตถุประสงค์ของเครื่องหมายจราจร

เครื่องหมายจราจร เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมการจราจรให้สามารถ เคลื่อนที่ไปได้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย นอกเหนือไปจากป้ายจราจรและไฟสัญญาณในบางกรณีเครื่องหมายจราจรจะใช้เพื่อช่วยเสริมความหมายของป้ายจราจรและไฟสัญญาณอีกด้วย

ขอบเขตการใช้เครื่องหมายจราจร

ให้จัดทำเครื่องหมายจราจรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการเปิดการจราจรบนทางหลวงที่ก่อสร้างหรือบูรณะใหม่ ทางเบี่ยงหรือทางชั่วคราวเครื่องหมายจราจรที่ใช้อยู่ในสภาพของทางหลวง หรือข้อกำหนดอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่แล้วนั้น ถ้าหากสภาพของทางหลวงหรือข้อกำหนดนั้นเปลี่ยนแปลงไป ก็ให้เบลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้องทันที เครื่องหมายจราจรที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ถ้ายังคงทิ้งไว้บนทางหลวงอาจก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้ขับขี่ยานพาหนะเครื่องหมายจราจรที่ต้องการให้มองเห็นได้ในเวลาที่มีแสงสว่างน้อย จะต้องเป็นแบบสะท้อนแสง

ประเภทของเครื่องหมายจราจร

เครื่องหมายจราจรแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

(1) เครื่องหมายจราจรบนผิวทางตามยาว (longitudinal Pavement Markings )

(2) เครื่องหมายจราจรบนผิวทางตามขวาง (Iransverse Pavement Markings )

(3) เครื่องหมายจราจรบนสันขอบทาง (Curb Markings)

(4) เครื่องหมายจราจรแสดงตำแหน่งของวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง (Object Markinge)

(5) เครื่องหมายนำทาง (Delineators)

(6) เครื่องหมายนุ่มบนผิวจราจร (Raised Pavement Markings)

สีของเครื่องหมายจราจร

เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง ให้ใช้สีขาวและสีเหลือง ส่วนสีดำให้ใช้ร่วมกับสีดังกล่าว เพื่อเพิ่มการคัดสี

[row_inner_3] [col_inner_3 span=”6″ span__sm=”12″]

สีขาวใช้เป็นเครื่องหมายจราจรดังนี้

(1) เส้นแบ่งช่องจราจร

(2) เส้นขอบทางด้านซ้าย

(3) รูปมั้งบริเวณหัวเกาะ

(4) เส้นหยุด

(5) เส้นให้ทาง

(6) ทางคนข้าม

(7) เส้นแสดงการจอดรถ

(8) รูปเกาะบริเวณทางแยก

(9) เครื่องหมายและข้อความบนผิวจราจร

[/col_inner_3] [col_inner_3 span=”6″ span__sm=”12″]

สีเหลืองใช้เป็นเครื่องหมายจราจรดังนี้

(1) เส้นแบ่งทศทางจราจร

(2) เส้นขอบทางด้านขวาบนทางคู่

(3) เส้นเฉียงบริเวณเกาะแบ่งทิศทางจราจร

(4) เส้นทะแยงห้ามหยุดขวาง

[/col_inner_3] [/row_inner_3] [row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]

เครื่องหมายจราจรอื่น ๆ ให้ใช้ทั้งสีขาว สีดำ สีเหลือง และสีแดง แล้วแต่ความหมายและการใช้งานเฉพาะแห่ง เช่น สันขอบทางบริเวณใดที่ทาสีเหลืองสลับขาว หมายถความว่าบริเวณนั้นห้ามจอดรถ เวันแต่หยุดรับ-ส่งชั่วขณะ บริเวณใดทาสีแดงสลับขาวหมายความว่าห้ามหยุดรถหรือจอดรถ ส่วนสันขอบทางสีดำสลับขาวมีไว้เพื่อแสดงตำแหน่งอุบสรรค สำหรับสีแดงใช้เป็นเครื่องหมายห้าม ทิศทางการจราจรที่มองเห็นเป้าสีแดงหมายความว่าห้ามเข้า

[row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]

วัสดุสำหรับเครื่องหมายจราจร

วัสดุที่ใช้ทำเป็นเครื่องหมายจราจรบนผิวทางที่ใช้โดยทั่วไบมีดังนี้

(1) สีทาหรือพ่น เป็นวัตถุที่มีอายุใช้งานสั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง แต่เนื่องจากมีราคาถูก จึงเหมาะที่จะใช้งานบนทางที่จะต้องบูรณะซ่อมแซมในอนาคตอันใกล้หรือทางหลวงที่มีปริมาณจราจรต่ำ

(2) สีเทอร์โมพลาสติก เป็นวัสตุที่มีอายุใช้งานนาน และคงทนต่อการเสียดสีของการจราจร แต่มีราคาแพงกว่าสีท าหรือสีพ่นธรรมดา สีเทอร์โมพลาสติกจึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมและประหยัดในการใช้เป็นเครื่องหมายจราจรบนผิวทางที่ได้มาตรฐานและมีปริมาณจราจรสูง

(3) แผ่นเทบสำเร็จรูป ใช้ติดบนผิวจราจรโดยใช้กาวหรือสารยึดแผ่นอื่น คุณสมบัติของแผ่นเหบที่ใช้ จะต้องมีความทนทานต่อการเสียดสีของยางรถ มีสีที่ถาวรไม่ชีดหรือเปลี่ยนสีเมื่อใช้งานเป็นเ วลานาน สารยึดแน่นจะต้องสามารถยึดแผ่น เทบให้ติดกับผิวจราจรได้แน่นไม่หลุดหรือ เคลื่อนที่แผ่นเทบสำเร็จรูปที่มีขายในห้องตลาดส่วนมากจะมีอายุใช้งานได้ทัดเทียมหรือนานกว่าสีเทอ โมพลาสดิก แต่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือสามารถเปิดการจราจรได้ทันทีที่ติดตั้งเสร็จ จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหมายจราจรบนผิวทางตามขวาง บนทางหลวงในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น

[row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″]

เส้นจราจร เครื่องหมายนำทาง และเครื่องหมายจราจร เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะส่งผลให้ผู้ใช้ทางหลวงใช้ทางหลวงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทางหลวงสามารถปรับปริมาณการจราจรได้ และมีความปลอดภัยสูง แต่เส้นจราจร เครื่องหมายนำ”ทาง และเครื่องหมายจราจรที่บรากฎบนผิวนั้นจะต้องสามารถสื่อความหมายได้ตามเป้าหมาย และผู้ใช้ทางรับทราบอย่างรวดเร็วคุณสมบัติทั้งสองที่กล่าวมานี้จะสามารถทำให้เ กิดขึ้นได้ก็คือ จะต้องจัดทำในรูปเบบหรือมาตรฐานอันเดียวกัน ในทางปฏิบัติอาจจะมีการปรับแต่งให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะสภาพทางบ้างแต่ก็ควรให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้

[row_inner_6] [col_inner_6 span__sm=”12″] [row_inner_7] [col_inner_7 span__sm=”12″]
gif
[/col_inner_7] [/row_inner_7]

ที่มา:

  • คู่มือเครื่องหมายควบคุมการจราจร,กรมทางหลวง http://www.doh.go.th/uploads/tinymce/service/bid/doc_bid/manual5
[/col_inner_6] [/row_inner_6] [/col_inner_5] [/row_inner_5] [/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]