แจกบทความฟรี
ป้ายจราจรและสัญลักษณ์จราจร มีความสำคัญอย่างไร
เชื่อว่าผู้ขับขี่มือใหม่อาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับป้ายจราจร เพราะลักษณะของป้ายแต่ละแบบคล้ายกัน จนทำให้ผู้ขับรถลงถนนครั้งแรกอาจไม่รู้จักว่าป้ายนั้น ๆ มีหน้าที่อะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้เราจึงนำป้ายจราจรและสัญลักษณ์จราจรต่าง ๆ มาฝากมือใหม่ที่กำลังจะสอบใบขับขี่ และผู้ขับรถยนต์มานานแล้วแต่ต้องการทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรมาให้ศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้งมาหาคำตอบกันว่าอปพร. หรืออาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ควรติดตั้งป้าย และ สัญลักษณ์จราจร อย่างไรเพื่อลดอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
ป้ายเตือนคืออะไร มีลักษณะการสังเกตอย่างไรบ้าง
ป้ายจราจร มีจำนวนมาก โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1.ป้ายเตือน
2.ป้ายบังคับ
3.ป้ายแนะนำ
ซึ่งหน้าที่ก็แตกต่างกันออกไป เช่น ป้ายเตือนช่วยให้ผู้ขับขี่ระวังทางข้างหน้าว่ากำลังจะมีทางโค้ง ทางแยก หรือถนนขรุขระอยู่ด้านหน้า เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ถ้าผู้ขับขี่ไม่ได้เชี่ยวชาญเส้นทางมากพอ โดยตัวอย่างของป้ายเตือนน่าสนใจ ที่น้อยคนจะทราบมีดังต่อไปนี้
1.ป้ายเตือนรูป “เครื่องบิน”
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมกรมทางหลวงถึงต้องมีป้ายดังกล่าวบนท้องถนน และวัตถุประสงค์ของการใช้ป้ายดังกล่าวคืออะไรกันแน่? ให้เราระวังเครื่องบินตกใส่หรือไม่? แท้จริงแล้ว ป้ายดังกล่าวมีชื่อว่า “ป้ายเตือนระวังเครื่องบินต่ำ” ที่มักพบเห็นเมื่อคุณเดินทางไปยังจังหวัดที่สนามบินติดอยู่กับถนนใหญ่ หน้าที่ของป้ายชนิดนี้ คือ ให้ขับรถช้าลงเมื่อคุณสังเกตเห็นเครื่องบินกำลังแลนดิ้งใกล้สนามบิน เพราะหลังคาของรถบางประเภทมีความสูงมากกว่ารถทั่วไป เช่น รถบรรทุก อาจไปชนเข้ากับล้อของเครื่องบินได้ ซึ่งโดยปกติแล้วทางนักบินจะควบคุมทิศทางการบินให้อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสมอยู่แล้ว แต่บางครั้งอากาศไม่ดี ทัศนวิสัยแย่ลง ก็มีโอกาสที่เครื่องบินจะขับต่ำลงมากกว่าปกติ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมถึงมีป้ายเตือนดังกล่าวให้เราระวังไว้
2.ป้ายเตือน “ระวังข้างหน้ากำลังสำรวจทาง”
สัญลักษณ์ของป้ายนี้ค่อนข้างแปลกกว่าป้ายจราจรอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นรูปคนกับขาตั้งกล้องปรากฏอยู่บนป้าย ผู้ที่ไม่รู้จักก็ต่างสงสัยไปตาม ๆ กันว่าป้ายนี้คืออะไรกันแน่? เพราะน้อยครั้งที่จะพบป้ายดังกล่าวบนผิวถนน แต่คุณจะพบป้าย “ระวังข้างหน้ากำลังสำรวจทาง” กับถนนที่กำลังจะมีการก่อสร้าง หรือทำทางเพิ่มเติมในอนาคต ทำให้อาจมีเจ้าหน้าที่กำลังตรวจวัดผิวจราจร ก่อนเริ่มต้นตัดถนนต่อไป ซึ่งระหว่างสำรวจทางของเจ้าหน้าที่อาจมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งอยู่ใกล้กับผิวถนน ทำให้ผู้ขับขี่ต้องขับรถช้าลง เพื่อป้องกันผู้ขับขี่ขับรถชนเข้ากับอุปกรณ์ และตัวเจ้าหน้าที่เอง
สัญลักษณ์จราจร ป้ายบังคับดูอย่างไร มีตัวอย่างอะไรบ้าง
ป้ายบังคับจะแตกต่างจากป้ายเตือนอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ป้ายบังคับจะกำหนดให้ผู้ขับขี่ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลทางกฎหมาย เช่น หากคุณหยุดรถในบริเวณที่มีเครื่องหมาย “ห้ามหยุดรถ” จะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท หรือเลี้ยวในทางที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยว ก็ต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท จะเห็นได้ว่าค่าปรับของป้ายบังคับนั้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายจราจรที่กำหนด
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]โดยตัวอย่างของป้ายบังคับที่ควรรู้ ได้แก่
[row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]1.ป้ายให้ทาง
ความหมายของป้ายชนิดนี้ไม่ใช่เพียงแค่ให้ทางรถคันหน้าขับไปก่อนเท่านั้น ยังหมายถึงให้ทางแก่คนเดินเท้าใช้ก่อนด้วย เมื่อเห็นว่าไม่มีผู้ใช้ทางด้านหน้าแล้ว จึงขับรถต่อไปได้
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]2.ป้ายห้ามรถพ่วง
ในบางพื้นที่ก็ไม่สามารถนำรถใหญ่เข้าไปในถนนได้ เพราะเป็นซอยตันหรือมีเลนเดินรถเพียงช่องทางเดียว จึงมีการกำหนดให้ใช้งานป้ายประเภทนี้ขึ้น เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รถสัญจรภายในเส้นทางนั้น และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่รถพ่วงอาจมองไม่เห็นเมื่อรถจักรยานยนต์ขับเข้ามาในพื้นที่อีกด้วย
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]3.ป้ายสุดเขตจำกัดความเร็ว
เรามักคุ้นชินกับป้ายกำหนดความเร็วที่มักพบเห็นได้ตามถนนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถนนตามต่างจังหวัด หรือถนนในกรุงเทพ แต่ป้ายสุดเขตความเร็วนอกจากชื่อจะแปลกแล้ว ลักษณะของป้ายก็ไม่เหมือนใครอีก เพราะเป็นเพียงวงกลมขอบสีดำ + เส้นแนวทแยงเล็ก ๆ เพียง 5 ขีดเท่านั้น
[/col_inner_4] [/row_inner_4]สำหรับหน้าที่ของป้ายชนิดนี้ คือ ใช้ยกเลิกคำสั่งจำกัดความเร็วของป้ายอันก่อนหน้า เช่น ป้ายก่อนหน้าบังคับให้จำกัดความเร็วไว้ที่ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เมื่อขับรถแล้วมาเจอกับป้ายสุดเขตความเร็ว ก็หมายความว่าไม่ต้องจำกัดความเร็วที่ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมงแล้ว ให้กลับไปใช้ความเร็วตามปกติที่ไม่เกินตามกฎหมายกำหนดได้
[row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″]4.ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์ผ่าน
ในบางพื้นที่จะไม่อนุญาตให้รถมอเตอร์ไซค์ใช้เส้นทางได้ เพราะเป็นถนนที่ให้รถใหญ่ขับเท่านั้น มักพบได้บ่อยบนถนนทางด่วน หากรถจักรยานยนต์ใช้เส้นทางดังกล่าวขับขี่ ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เนื่องจากรถใหญ่จะใช้ความเร็วในการขับขี่สูงกว่าถนนทางหลวงปกตินั่นเอง
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]รู้จักกับหน้าที่ของป้ายแนะนำ ที่มือใหม่ควรรู้
ป้ายแนะนำจะทำหน้าที่บอกข้อมูลให้แก่ผู้ขับขี่ว่าทางข้างหน้ามีสถานที่อะไร เช่น ป้ายแสดงเครื่องหมายคนข้ามทางม้าลาย หรือป้ายบอกทางไปจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น โดยป้ายแนะนำไม่ได้มีผลทางกฎหมายเหมือนกับป้ายเตือน เพียงแต่ให้คำแนะนำสำหรับผู้ขับขี่เท่านั้น โดยตัวอย่างของป้ายแนะนำที่ควรรู้ ได้แก่
[row_inner_5] [col_inner_5 span=”6″ span__sm=”12″]1.ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยว
สัญลักษณ์จากป้ายนี้บอกสถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดนั้น ๆ ลักษณะป้ายเป็นสีน้ำเงิน พร้อมแสดงสัญลักษณ์ประกอบกับชื่อของสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานที่เกี่ยวกับอะไร เช่น รูปชายหาด, รูปวัด หรือโบราณสถาน เป็นต้น
[/col_inner_5] [/row_inner_5] [row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″]งานอปพร. ติดตั้งป้ายจราจร และเลือกใช้งานป้ายจราจรอย่างไรดี
การออกแบบ วิธีลดอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนนก็เป็นงานอย่างหนึ่งของอปพร. หากต้องการเลือกใช้งานป้ายจราจรเพื่อให้ผู้ขับขี่ไปมามองเห็นง่าย ช่วยลดอุบัติเหตุ ต้องมีลักษณะของป้ายดังต่อไปนี้
[row_inner_6] [col_inner_6 span__sm=”12″]1.มีขนาดของป้ายตามมาตรฐานกรมทางหลวง
การติดตั้งป้ายที่ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากขนาดของป้ายเล็กเกินไป ก็ทำให้ผู้ใช้ทางสัญจรไปมามองไม่ชัดและถ้าขนาดใหญ่เกินไปก็ไปบังป้ายอื่น ๆ และมีโอกาสที่จะขับไปชนป้ายจนเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างของป้ายที่ได้ขนาดตามมาตรฐานของกรมทางหลวง มีดังนี้
- ป้ายเตือนแบบแนวนอนสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น ป้ายเตือน “ระวังทางข้างหน้ากำลังมีการก่อสร้าง “หรือป้ายเตือน “น้ำท่วม” ควรมีขนาดตั้งแต่ 60×120, 75×120, 80×120 และ 90×180 เซนติเมตร ซึ่งผู้ติดตั้งสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของป้าย
- ป้ายเตือนชนิดแนวตั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น ป้ายเตือน “สัญญาณไฟจราจร” ขนาดของป้ายมีให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 60 x60 ,75×75 และ 90×90 เซนติเมตร
- ป้ายบังคับ เช่น ป้ายหยุด ป้ายห้ามจอด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ตั้งแต่ 45, 60,75 และ 90 เซนติเมตร และรูปทรงไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลมเสมอไป อาจเป็นทรง 6 เหลี่ยม หรือ 8 เหลี่ยมก็ได้เช่นกัน โดยอปพร.เลือกรูปทรงได้ตามความเหมาะสม
- ป้ายแนะนำ มีขนาดของป้ายหลากหลายกว่าป้ายเตือน และป้ายบังคับ เช่น ป้ายที่กลับรถ, ป้ายแสดงทางตัน หรือป้ายแนะนำอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นแนวตั้ง มี 2 ขนาด คือ 40×40 เซนติเมตร หรือ 60 x 60 เซนติเมตร ส่วนป้ายแนะนำที่แสดงทิศทางไปยังจังหวัด และอำเภอต่าง ๆ ที่มีลักษณะของป้ายเป็นแนวนอน ขนาดที่แนะนำให้ใช้งานมี 3 รูปแบบ ตั้งแต่ 60 x 120, 75 x 210, 60 x 180, 80 x 180 เซนติเมตร
2.อาจมีออปชั่นเสริมอย่างไฟกะพริบ
ถ้า อปพร. มองว่าสถานที่ติดตั้งป้ายประเภทต่าง ๆ มืดเกินไป เพราะไม่มีแสงไฟเลย ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อาจเลือกใช้งานไฟที่มาพร้อมกับไฟกะพริบ เพื่อแจ้งเตือนว่าทางข้างหน้ากำลังมีงานก่อสร้าง หรือใช้ป้ายที่สะท้อนแสงได้ง่าย เป็นต้น
[row_inner_8] [col_inner_8 span__sm=”12″]หากสนใจใช้งานป้ายจราจร ไม่ว่าจะป้ายเตือน ป้ายบังคับ และป้ายแนะนำ ร้านไทยจราจรได้รวบรวมไว้อย่างครบครัน แถมสามารถสั่งทำป้าย และ เครื่องหมายจราจร ที่ต้องการได้ด้วย ที่สำคัญยังมีเสื้อจราจรสะท้อนแสงที่ช่วยให้อปพร. ปฏิบัติหน้าที่ง่ายกว่าเดิม ในเวลาค่ำคืน
ที่มาข้อมูล :
- https://www.xtracolefilms.com/เรื่องน่ารู้_เคยมั้ยครับที่ขับรถไปบางพื้นที่แล้วไปเห็นป้ายสัญญา-69
- trafficthai.com/content_blog-04.html
- https://www.thairath.co.th/news/auto/news/2121967
- https://d.dailynews.co.th/economic/586031/
- https://trafficthai.com/shop/what-size-should-the-traffic-sign-be/