แจกบทความฟรี
สัญลักษณ์จราจร เตือนจุดเสี่ยงอันตรายบนถนนทางหลวงชนบท
คนที่มีประสบการณ์ขับรถบนถนนทางหลวงชนบทเวลากลางคืนเป็นประจำจะเข้าใจดีว่ามีจุดเสี่ยงอันตรายตรงไหนบ้างบนท้องถนน ถ้าไม่คุ้นเคยเส้นทางต้องใช้ความระมัดระวังมากเนื่องจากถนนแถบชนบทค่อนข้างมืด ถนนไม่ดี บางที่ถนนค่อนข้างแคบ บางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ไม่มี สัญลักษณ์จราจร เตือนว่าเส้นทางข้างหน้าเป็นอย่างไร ไม่มีป้ายเตือนจุดตัดข้ามทางรถไฟ หรือเตือนจุดเสี่ยงอันตรายจึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบ่อยครั้ง มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต หากมีการติด ป้ายเตือน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
การขับรถบนท้องถนนในชนบทหลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องอะไรบ้าง มาดูกัน
-
ขาดไฟส่องสว่าง สภาพถนนมืดกลายเป็นจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ
-
บริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นทางแยก ทางโค้ง ช่วงถนนต่างระดับ
-
จุดตัดทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้นถนนซึ่งระยะมองเห็นรถไฟไม่เพียงพอ ไม่มีไฟฟ้าและแสงสว่างมากพอจึงเป็นถนนที่มีอันตราย
-
ถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ มีแอ่งน้ำขังหลังฝนตก
-
ทางลาดชันบริเวณขึ้นและลงเขา
การติดตั้งป้ายเตือนเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถบรรเทาความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นได้ โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งควรมีป้ายเตือนให้ขับอย่างระมัดระวัง และมีป้ายบอกล่วงหน้าว่าสภาพเส้นทาง หรือถนนข้างหน้าเป็นอย่างไร ใครไม่คุ้นเคยเส้นทางหลวงชนบทควรสังเกต เครื่องหมายจราจร และขับขี่ในความเร็วที่เหมาะสม เพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น มาดูกันว่าป้ายสัญลักษณ์จราจรนั้นมีอะไรบ้าง
1.ป้ายเตือนทางแยก
ป้ายเตือนก่อนถึงทางแยกที่มี สัญญาณไฟจราจร หรือไม่มีก็ตาม ช่วยบรรเทาความสูญเสียจากอุบัติเหตุ สังเกตทางแยกที่เกิดรถชนบ่อยๆ มักจะเป็นเนินบังทางข้างหน้า เมื่อขับลงไปเจอกับทางแยกทันทีทำให้ขับลงไปพบกับทางแยกด้วยความเร็วสูง แม้จะมีไฟแดงแต่ก็เป็นจุดเสี่ยงอันตรายที่ควรมีป้ายเตือนให้รู้ล่วงหน้าเพื่อให้ขับช้าลง
2.ป้ายเตือนทางโค้ง
ป้ายเตือนสีเหลืองมีรูปลูกศรเป็นป้ายเตือนว่าถนนมีทางโค้งอยู่ข้างหน้า ให้เตรียมพร้อมกับเตือนให้ระวังทางแคบ หากทางโค้งเลี้ยวไปด้านซ้าย ป้ายเตือนจะมีลูกศรชี้ไปทางด้านขวา จุดอันตรายมักจะเป็นทางโค้งหักศอกที่มองไม่เห็นรถที่กำลังขับสวนมา เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุชนประสานงา รถขับหลุดโค้งตกทาง ชนเสาไฟ หรือชนเสาไฟข้างทาง กรมทางหลวงชนบทมักจะติดตั้งราวเหล็กกั้นริมถนนที่เรียกว่าการ์ดเรลในจุดที่มีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเพื่อป้องกันรถเสียหลักพุ่งลงไปข้างทาง
3.ป้ายเตือนทางคดเคี้ยว
และทางลาดชัด เส้นทางถนนเลียบภูเขามักจะเป็นทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย จะพบเห็นป้ายเตือนทางคดเคี้ยวบ่อยๆ บริเวณที่มีทางโค้งต่อเนื่องกันเพื่อให้ขับช้าลงและชิดขอบทางด้านซ้ายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีป้ายเตือนทางลาดชัน หากรูปบนป้ายเตือนเป็นทางขึ้นเขาจะเป็นรูปรถขึ้นเขา หมายถึงให้ขับรถช้าลงและชิดขอบซ้ายมากขึ้น ระมัดระวังรถที่ขับสวนทางมา วิธีลดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัย ส่วนรูปรถลงเขาหมายถึงให้ขับเกียร์ต่ำ ห้ามปลดเกียร์ หรือดับเครื่องยนต์ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
4.ป้ายเตือนทางเป็นแอ่ง
การขับรถบนถนนในชนบทบางช่วงอาจไม่ค่อยราบรื่นเพราะถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ทางเป็นแอ่งเมื่อฝนตกมีน้ำขังทำให้ล้อเปียกน้ำไม่ยึดเกาะถนน ต้องขับรถช้าๆ ยิ่งมีทางเลี้ยวโค้งบ่อยๆ ด้วย ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
5.ป้ายเตือนหินร่วง
เป็นป้ายเตือนว่าอาจมีหินร่วงหล่นลงมากีดขวางทางถนน หรือดินร่วงลงมาทำให้ผิวถนนลื่น การขับรถทางไกลบนถนนเลียบภูเขาในชนบทเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เห็นป้ายเตือนแล้วยิ่งต้องขับอย่างระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเลี้ยวรถ หรือเบรกกะทันหัน
6.ป้ายเตือนทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้น
เป็นปัญหาจุดตัดทางรถไฟที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เพราะไม่มีสัญญาณเตือนว่ารถไฟกำลังจะผ่าน ไม่มีเครื่องกั้นบริเวณถนนที่เป็นจุดตัดผ่านทางรถไฟ ไม่มีไฟฟ้าและแสงสว่างมากพอ จึงเป็นถนนที่มีอันตราย จำเป็นต้องมีป้ายเตือนเพื่อให้ผู้ขับรถใช้ความระมัดระวังขับช้าลงและฟังเสียงรถไฟที่กำลังแล่นใกล้เข้ามา ควรหยุดห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร รอให้รถไฟผ่านไปก่อน
7.ป้ายเตือนซ่อมถนน/ก่อสร้าง
เป็นป้ายจราจรที่มีความหมายเตือนให้ผู้ใช้รถทราบล่วงหน้าว่าสภาพทางข้างหน้าเป็นอย่างไร อาจมีการขุดถนน ซ่อมท่อระบายน้ำ ผิวถนนไม่เรียบ หรือการก่อสร้างใกล้บริเวณทางหลวง ควรขับอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันการเกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังมีป้ายเตือนทางเป็นแอ่ง ผิวทางร่วน ระวังหินร่วง เป็นต้น เมื่อมีป้ายเตือนล่วงหน้าทำให้ต้องขับระวังเป็นพิเศษ
วิธีจัดการจุดเสี่ยงอันตรายบนทางหลวงชนบท
แม้จะมีการเตือนทางแยก ทางโค้ง และจุดเสี่ยงอันตรายด้วยป้ายต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการติดตั้งและการบำรุงรักษาที่เหมาะสม โดยเฉพาะถนนมีสิ่งบดบังวิสัยทัศน์ กิ่งไม้พุ่มไม้ยื่นออกมาบัง ป้ายจราจร กรมทางหลวงชนบทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงความร่วมมือจากชุมชนใกล้เคียงช่วยกันจัดการในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันและลดปัญหาอุบัติเหตุบนถนน ดังนี้
-
การตีเส้นทางจราจร ควรตีเส้นทางด้วยแถบสีเหลืองชัดเจนและยาวมากขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเลี้ยว โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่เลี้ยวกะทันหันมักจะเสี่ยงอันตรายบ่อยครั้ง
-
ติดตั้งป้ายเตือนบริเวณจุดกลับรถที่เห็นได้ชัด มีป้ายพลังงานแสงอาทิตย์ที่เห็นได้ชัดขึ้นเวลาขับรถตอนกลางคืน หรือติดตั้ง ไฟกระพริบ บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยเพื่อแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น บริเวณที่มีจุดกลับรถใกล้กับทางแยกทำให้รถที่ออกจากทางแยกเกิดปัญหาเฉี่ยวชนบ่อยครั้ง ควรมีป้ายเตือนให้ลดความเร็วและติดป้ายเตือนทางแยกไว้ด้วยกันครบถ้วน
-
ติดตั้งหลักนำทางและแบริเออร์กันชน หรือตาข่ายเป็นแนวทางบริเวณจุดกลับรถที่เสี่ยงอันตราย เช่น รถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ความเร็วสูงตรงบริเวณนั้นและจุดกลับรถเป็นมุมโค้งที่ใกล้กับทางแยกมาก ทำให้มองข้างหน้าไม่เห็นและขับออกมาพบกับทางแยกในระยะกระชั้นชิดเกินไป หากยังไม่มีการแก้ไขอาจเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ควรมีแผงแบริเออร์มาเสริมทางโค้งจุดกลับรถเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
-
มีป้ายเตือน แผงกั้น และไฟกระพริบตรงจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ ไฟกระพริบและป้ายจำกัดความเร็วพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ความปลอดภัยในเส้นทางถนนชนบท แก้ปัญหาบริเวณที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือป้ายจราจรธรรมดามองเห็นไม่ชัดเจนเวลากลางคืน สามารถแก้ปัญหารถขับเร็วเกินไปในบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงอันตราย ลดอุบัติเหตุ
-
ตามปรกติถนนตามชนบทค่อนข้างแคบ เมื่อรถเสียต้องหยุดจอดข้างทางควรเปิดไฟฉุกเฉินให้คันอื่นรู้ว่าเราจอดรถเพื่อทำภารกิจที่ไหล่ทาง และนำ กรวยจราจร มาวางตรงตำแหน่งด้านหน้ารถไล่ไปด้านหลังรถในลักษณะเฉียงเข้าไหล่ ทำให้รถที่วิ่งใกล้เข้ามาสังเกตเห็นรถจอดเสียงเห็นได้ตั้งแต่ระยะ 150 เมตรขึ้นไป สามารถชะลอความเร็วได้ตั้งแต่เนิ่นๆ การวางกรวยเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนในลักษณะนี้ถือว่าใช้อย่างถูกต้องภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
-
ระหว่างจอดรถชิดไหล่ถนนเพื่อตรวจเช็คและซ่อมรถในยามค่ำคืน ควรสวม เสื้อกันฝน สะท้อนแสงเพื่อให้คนขับรถคันอื่นมาด้วยความเร็วสูงมองเห็นเราแต่ไกล ใช้ได้ทั้งในกรณีฝนตกทัศนวิสัยไม่ดี หรือในตอนกลางคืน ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
-
ขนาดของป้ายเตือนมีหลายขนาด ขึ้นกับความเร็วของรถ หากรถวิ่งด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. ป้ายควรมีขนาด 90 ซม. เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล ไม่มีพุ่มไม้ หรือป้ายโฆษณาบดบัง หรือดึงความสนใจไปจากป้ายจราจร หากเป็นบริเวณที่มีจุดเสี่ยงอันตรายและจำกัดความเร็วไม่เกิน 60 กม./ชม. ป้ายเตือนควรมีขนาด 60 ซม.
หากขับรถทางไกลไปต่างจังหวัดเสมอๆ จะเห็นความสำคัญของ สัญลักษณ์จราจร ต่างๆ คุณสามารถเรียนรู้เข้าใจความหมายของป้ายบอกเตือนล่วงหน้าและควบคุมรถอย่างระมัดระวังได้ทันเวลา โดยเฉพาะเส้นทางที่มีจุดเกิดอุบัติเหตุ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์จราจร ขอคำแนะนำและเลือกซื้อสินค้าด้านความปลอดภัยอื่นๆ กว่า 1,000 รายการจาก ร้านไทยจราจร ได้ที่ https://trafficthai.com/
ที่มาข้อมูล :
-
https://trafficthai.com/
-
http://www.doh.go.th/uploads/tinymce/service/bid/doc_bid/construc.pdf
-
file:///C:/Users/Administrator/Downloads/tci_admin,+%7B$userGroup%7D,+6021-Article+Text-8184-1-10-20190304.pdf
-
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51891