10 ความแตกต่าง ระหว่างถนนที่ประเทศญี่ปุ่น กับประเทศไทย

ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับความเชื่อมั่นว่าระบบการจราจรบนถนนมีความปลอดภัยสูงสุด โดยในปี 2563 รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ว่า จะลดอุบัติเหตุบนท้องถนน และลดยอดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนให้น้อยกว่า 2,500 คน ในขณะที่ประเทศไทยของเรานั้น จากรายงานสถิติแค่ในช่วง 7 วันอันตราย ก็มีผู้เสียชีวิตถึงเกือบ 500 คนและมีอุบัติเหตุถึง 4,128 รายเลยทีเดียว ร้านไทยจราจรมีข้อสังเกต 10 ความแตกต่างระหว่างถนนที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยมาแนะนำให้คุณ

  • รถยนต์ชิดซ้าย เดินเท้าฝั่งขวา

จะสังเกตได้ว่า รถยนต์ที่ญี่ปุ่นนั้น ที่นั่งคนขับรถจะอยู่ทางด้านขวา ดังนั้นรถยนต์จึงชิดซ้ายและทางเดินเท้าของคนจึงอยู่ทางฝั่งขวานั่นเอง 

  • จอดรถบนถนน ผิดกฎหมาย  

ตามกฎหมายจราจรไม่อนุญาตให้รถจอดบนถนนไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม จะถูกปรับและต้องรับโทษเนื่องจากถือว่าทำผิดกฎหมาย

  • ไฟจราจรแบบมีปุ่มกดสำหรับผู้เดินข้ามถนน 

เนื่องจากที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อคนเดินถนนเป็นอันดับแรก ดังนั้นแม้แต่การเดินข้ามทางม้าลาย ก็จะมีการจัดให้มีไฟจราจรสำหรับผู้ที่ต้องการเดินข้ามถนน โดยสามารถกดได้ทันทีในตอนที่ต้องการข้ามและรถยนต์จะต้องหยุดให้ทางแก่คนข้ามถนนเสมอ 

  • กระเบื้องปูพื้นสำหรับคนตาบอด

นอกจากการให้ความสำคัญต่อผู้ที่ต้องการการสัญจรทางเดินเท้าสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ญี่ปุ่นยังมีเส้นทางวิ่งโดยเฉพาะสำหรับรถจักรยานและอีกหนึ่งเลนพิเศษสำหรับผู้พิการทางสายตาอีกด้วย ซึ่งเจ้าอุปกรณ์สำคัญที่จะนำทางให้ผู้พิการทางสายตาก็คือ กระเบื้องปูพื้นสำหรับคนตาบอด ลักษณะพิเศษของกระเบื้องชนิดนี้มีสองแบบ คือแบบรอยยาวแนวนอน(Horizontal) สำหรับการบอกเส้นทาง นำทางการเดินตรงไปและแบบรอยนูนจุด (Circle) สำหรับบอกให้หยุดเดิน หรือเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางการเดิน ร้านไทยจราจรมี กระเบื้องปูพื้นสำหรับคนตาบอด จำหน่ายหลายชนิด เช่น แบบกระเบื้องยางสีเหลือง ซึ่งมีความทนต่อกรดด่าง สีไม่ลอก หรือ กระเบื้องปูพื้นสำหรับคนตาบอด ชนิดทำจากวัสดุสแตนเลส มีความสวยงามและทนทานต่อการใช้งาน ไม่เป็นสนิม 

  • จำกัดความเร็ว 

กฎหมายจราจรที่ญี่ปุ่นเคร่งครัดมากในเรื่องของการจำกัดความเร็วสำหรับการขับขี่รถยนต์ เช่น ในตัวเมืองจะกำหนดการขับขี่รถยนต์เอาไว้ไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนพื้นที่นอกเมืองจะกำหนดการขับขี่รถยนต์เอาไว้ไม่เกิน 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  บนทางด่วนจะกำหนดการขับขี่รถยนต์เอาไว้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะการติดกล้องตรวจจับอยู่ทุกถนน เพื่อจับภาพรถพร้อมทะเบียนรถและใบหน้าผู้ขับขี่ที่ขับรถยนต์ไว้ด้วย หลังจากนั้นจะทำการออกใบสั่งส่งปรับไปที่บ้าน

  • รถจักรยานยนต์  

ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายสำหรับรถจักรยานยนต์กำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ได้ในขนาด 50 ซีซี และวิ่งได้ไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ประเทศไทยรถจักรยานยนต์มีขนาดตั้งแต่ 110 ซีซีเป็นต้นไป ดังนั้นคงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมอุบัติเหตุทางจักรยานยนต์ในประเทศไทยถึงอยู่ในอันดับสูงสุด

  • ห้ามจอดซ้อนคัน แม้ว่าลานจอดจะเต็ม 

ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายการจราจรว่าการจอดรถไม่ว่าที่ใด ๆ ก็ตาม จะไม่มีการจอดรถซ้อนคันเด็ดขาด ส่วนหนึ่งสาเหตุก็เพราะว่าระบบการชำระค่าจอดรถยนต์นั้น จะเป็นการชำระเงินกับเครื่องอัตโนมัติ เช่น จอดรถช่องเบอร์ 1 คุณก็ต้องชำระเงินกับเครื่องช่องเบอร์ 1 ดังนั้น การจอดซ้อนคันก็จะเหมือนการโกงโดยทันที เป็นการทำผิดกฎหมาย ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะถูกปลูกฝังเรื่องความปลอดภัย สำนึกในความรับผิดชอบต่อส่วนรวมกันเป็นอย่างสูง ดังนั้นการกระทำผิดกฎหมายหรือเอาเปรียบส่วนรวมด้วยการจอดรถซ้อนคันจึงไม่เกิดขึ้น

  • สติ๊กเกอร์ สัญลักษณ์ มือใหม่หัดขับ   

หากว่าคุณเป็นมือใหม่หัดขับหรือเพิ่งสอบผ่านใบอนุญาตการขับขี่ไม่เกิน 1 ปี ด้านหลังใบขับขี่ของคุณจะระบุไว้ว่าคุณจะต้องติดสติ๊กเกอร์ที่เป็นสัญลักษณ์รูปตัว V ที่หลังรถของคุณเพื่อให้รถคันหลังระมัดระวังการขับขี่ใกล้คุณ ซึ่งภายในสติ๊กเกอร์จะมีแถบสีเหลืองด้านซ้ายและสีเขียวด้านขวา

  • คาดเข็มขัดนิรภัย 

แม้ว่าที่เมืองไทยก็มีกฎหมายจราจรสำหรับการคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นจะเข้มงวดมากกว่าโดยเฉพาะเมื่อขึ้นทางด่วน ทุกที่นั่งที่มีผู้โดยสารจะต้องได้รับการคาดเข็มขัดนิรภัย แม้แต่เด็กหรือทารกก็ต้องนั่งในที่นั่งที่เหมาะสมตามกฎหมายจราจร เช่น เด็กที่ความสูงไม่เกิน 105 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 8-18 กิโลกรัม อายุ 1-4 ปี จะต้องนั่งที่นั่งสำหรับเด็ก Baby Car Seat และคาดเข็มขัดนิรภัย แต่หากเด็กที่ ความสูงเกิน 135  เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 15-36 กิโลกรัม อายุ 4-10 ปี จะต้องนั่งที่นั่งสำหรับเด็กแบบ Junior Car Seat และคาดเข็มขัดนิรภัย ผู้ปกครองที่ละเลยความปลอดภัยของเด็กบนรถโดยไม่มี Car Seat ให้เด็กนั่งโดยสารจะถูกจับและปรับตามกฎหมายจราจรอย่างเข้มงวด

  •   การแสดงความขอบคุณ 

มารยาทในการขับรถบนถนนอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจของชาวญี่ปุ่นคือ เมื่อมีคนให้ช่องทางการเดินรถ การกดไฟฉุกเฉินหรือไฟผ่าหมากให้กะพริบ ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณอีกฝ่าย

ร้านไทยจราจรยินดีให้บริการและให้คำปรึกษาอุปกรณ์จราจรมาตรฐานคุณภาพสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นหลายชนิด เรามีบริการจัดส่งฟรีทั่วกรุงเทพฯ หากสินค้ามีปัญหา เรายินดีเปลี่ยนให้ใหม่ทันที และที่สำคัญเรามีช่างผู้ชำนาญงานจราจรมากประสบการณ์จากการติดตั้งงานจราจรให้กับหน่วยงานราชการมาแล้วหลายร้อยแห่ง เพียงเลือกเราคุณจึงหมดกังวลและมั่นใจว่า คุณจะได้อุปกรณ์งานจราจรเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยและมีคุณภาพเทียบเท่าระบบการจราจรจากประเทศญี่ปุ่น

 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน