Showing all 3 results

เสาหลักนำทาง  คือตัวเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็นรั้วขอบเลนถนน ช่วยมองเห็นได้ในระยะไกล มากกว่า 500 เมตร

หมดห่วงกับ เลนถนนไม่ชัดเจน!! เพียงคุณใช้ เสาหลักนำทางพลังงานแสงอาทิตย์ ในการแบ่งเลน เพื่อเส้นทางเดินรถที่ปลอดภัยกว่า 100%


ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร

วัตถุประสงค์ในการติดตั้งหลักนำทาง

         หลักนำทางเป็นอุปกรณ์ข้างทางที่ติดตั้งบริเวณขอบทางเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นขอบทางเดินรถได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนรวมทั้งช่วยลดอุบัติเหตุจากการที่รถหลุดออกจากถนน และไปชนกับขอบข้างทาง

วัตถุประสงค์ของการติดตั้งหลักนำทาง

  • เพื่อเตือนผู้ขับขี่ถึงแนวทางหลวงที่เป็นอุปสรรคในการมองเห็น เช่น ทางโค้งราบ ทางโค้งดิ่ง ทางขึ้นเนิน จุดเชื่อมต่อระหว่างถนนกับสะพาน
  • เพื่อเตือนผู้ขับขี่ถึงอุปสรรคข้างทาง เช่น ท่อระบายน้ำหรือคูน้ำ
  • เพื่อเตือนผู้ขับขี่ถึงบริเวณที่กายภาพทางหลวงเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น บริเวณทางร่วม ทางแยก 

ชนิดหลักนำทาง

          หลักนำทางที่ใช้ทั่วไปบนทางหลวง แยกเป็น 2 ประเภทแบ่งตามวัสดุที่นำมาใช้งาน คือหลักนำทางชนิดแข็ง (Rigid Guide Post)  และหลักนำทางชนิดอ่อนตัว (Flexible Guide Post) นอกจากนี้ยังมีวัสดุ บางประเภทที่สามารถนํามาใช้ทําหลักนำทางได้เช่น หลักนำทางชนิดเสาไม้ (Timber Guide Post) และหลักนำทางชนิดกึ่งอ่อนตัว (Semi Flexible Guide Post)

1.หลักนําทางชนิดแข็ง (Rigid Guide Post)

         เป็นชนิดที่นิยมติดตรงบนทางหลวงมากที่สุด ทําจากวัสดุ ที่มีความแข็งแรงสูง และเสียรูปยาก
เมื่อเกิดการชน เช่น คอนกรีต ลักษณะเป็นเสาแท่งสี่เหลี่ยมขนาดหน้าตัว 15 x 15 ซม. ความสูง 80 ซม.จากระดับผิวจราจร ผิวนอกทาสีขาวสลับดำ โดยแถบสีขาวสูง 25 ซม. สลับด้วยแถบสีดําสูง 15 ซม. ปลายบนสุดมีลักษณะเป็นยอดแหลม ขอบด้านบนจะทาวัสดุสีขาวสะท้อนแสงขนาด 15 x 3 ซม. ฐานรากฝังลึกลงไปอย่างน้อย 50 ซม. จากระดับผิวจราจร

 

           อย่างไรก็ตาม หลักนําทางชนิดแข็งก่อให้เกิดอันตรายสูงมากหากมีรถพุ่งชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถจักรยานยนต์ เพราะคอนกรีตเป็นวัตถุที่มีความแข็งแกร่งสูง หากแรงที่มาปะทะมาก ความรุนแรงจากการชนจะมากขึ้นตามไปด้วย

หลักนําทางชนิดแท่งคอนกรีต

หลักนําทางชนิดอ่อนตัว

2. หลักนําทางชนิดอ่อนตัว (Flexible Guide Post)

            เป็นชนิดหลักนำทางที่ผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นคืนตัวได้สามารถทนต่อแรงกระแทกและความร้อนได้ดี เช่น พลาสติกบางประเภท อาทิโพลีคาร์บอเนต หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติแบบอ่อนตัว ลักษณะเป็นเสาแท่งสี่เหลี่ยม สีขาวกว้างประมาณ 10 ซม. มีความสูง 125 ซม. จากระดับผิวจราจร ขอบบนส่วนด้านหน้าจะตัดแถบสีขาวสะท้อนแสงฐานรากจะฝังลงไปลึกอย่างน้อย 50 ซม. จากระดับผิวจราจร

           มีข้อดีที่สําคัญคือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง หากรถเสียหลักพุ่งเข้าไปชน

 หลักนําทางชนิดเสาไม้ (Timber Guide Post)

          เป็นหลักนำทางที่มีขนาดหน้าตัด 10 x 5 ซม. มีความสูง 100 ซม. จากระดับผิวจราจรขอบบน
ส่วนด้านหน้าจะติดวัสดุสะท้อนแสงลักษณะวงกลม ฐานรากจะฝังลงไปลึกอย่างน้อย 50 ซม. จากระดับผิวจราจร ผิวด้านนอกของเสาไม้จะทาสีขาวเพื่อเพิ่มความชัดเจนในการมองเห็น

หลักนําทางชนิดกึ่งอ่อนตัว (Semi Flexible Guide Post)

              เป็นหลักนำทางที่มีคุณสมบัติทางวัสดุศาสตร์กึ่งยืดหยุ่น เมื่อเกิดการชน ตัวหลักนำทางจะหักหรือดัดเสียรูป มีมิติด้านกว้างประมาณ 10 ซม. ตัวเสาทาสีขาวและผลิตจากพลาสติก โลหะชนิดอ่อนตัว หรือวัสดุตัวอื่นที่มีคุณสมบัติกึ่งอ่อนตัว

              ทั้งนี้หลักนำทางที่ทํามาจากวัสดุบางชนิดสามารถซ่อมแซมกลับมาใช้ ้ใหม่ได้หากเสียหายเมื่อเกิดการชน

หลักนําทางชนิดเสาไม้

การเลือกชนิดหลักนําทาง

               หลักนำทางต้องมีรูปแบบที่ปลอดภัยและไม้ เพิ่มความรุนแรงกับผู้ประสบเหตุ เมื่อเกิดการชน ข้อพิจารณาในการเลือกชนิดหลกนำทาง มีดังนี้

  • หลักนำทางชนิดอ่อนตัว (Flexible Guide Post) เมื่อเกิดการชน ตัวเสาที่อยู่เหนืออระดับผิวจราจร จะพับหรือล้มทันที ทําให้เกิดอันตรายต่อผู่ใช้ทางน้อยที่สดุ เหมาะที่จะติดตั้งบริเวณทางโค้งรัศมีแคบ บริเวณที่มีไหล่ทางแคบ และถนนที่มีปริมาณการใช้รถจักรยานยนต์ และรถจักรยานสูง
  • หลักนำทางชนิดไม้ หรือชนิดกึ่งอ่อนตัว (Timer or Semi – Flexible) เหมาะที่จะติดตั้งบริเวณทางหลวงที่มีความเสี่ยงในการถูกชนน้อย
  • บริเวณทางหลวงที่มีปริมาณคนเดินข้ามถนนสูง หากติดตั้งหลักนำทางควรจะติดวัสดุหรือแผ่นสะท้อนแสงขนาดเล็กบริเวณส่วนบนของตัวหลัก เพื่อเพิ่มการมองเห็นให้ผู้ขับขี่ชะลความเร็
  • หลักนำทางชนิดแข็ง เช่น ชนิดหลักคอนกรีต เหมาะที่จะติดตั้งในบริเวณที่เป็นพื้นที่ อันตรายข้างทาง เช่น คูน้ำ หนองน้ำขนาดเล็ก ปากท่อระบายน้ำ เป็นต้น เพราะหากยานพาหนะพุ่งเข้าชนหลักนําทางอาจจะก่อให้เกิดอันตรายน้อยกว่าการพุ่งชนปากท่อหรือพลัดตกในหนองน้ำข้างทาง

หลักการติดตั้งหลักนำทางทั่วไป

 การติดตั้งวัสดุสะท้อนแสง

          วัสดุสะท้อนแสงที่ติดตั้งบนหลักนำทางจะติดให้อยู่สูงจากผิวจราจรไม่น้อยกว่า 70 ซม. และไม่เกิน 125 ซม. โดยในสภาพอากาศปกติจะต้องสะท้อนแสงไฟสูงของรถกลับมายังผู้ขับขี่ได้ที่ระยะ 300 เมตร

  ระยะติดตั้งตามแนวขวางของหลักนำทาง

         บริเวณทางหลวงนอกเมือง หรือทางหลวงในเมือง ให้ติดตั้งหลักนำทางห่างจากขอบไหล่ทาง หรือขอบคันหินตามข้อกำหนดดังนี้

  • หากข้างทางเป็นไหล่ทาง หลักนำทางจะติดตั้งห่างจากขอบไหล่ทางประมาณ 30 ซม.

รูปแบบการติดตั้งหลักนำทางห่างจากขอบไหล่ทาง

  • หากข้างทางเป็นขอบคันหิน (Curb) หลักนำทางจะติดตั้งจากขอบคันหินประมาณ 60 ซม.

รูปแบบการติดตั้งหลักนำทางห่างจากขอบคันหิน

  • การติดตั้งหลักนำทางในบริเวณใดบริเวณหนึ่งต้องสูงจากผิวจราจรเท่ากันโดยตลอด

ข้อกําหนดระยะห่างในการติดตั้งหลักนําทาง

บริเวณทางตรง

         หลักนำทางแต่ละตัวจะติดห่างกันทุกๆ 150 เมตร แต่หากบริเวณที่ติดตั้งมีอุปสรรคจากสภาพอากาศ ุ เช่น มีหมอกหนาปกคลุมในพื้นที่บ่อย สามารถลดระยะห่างระหว่างช่วงเสาลงเหลือ 60 เมตร และหากติดตั้งบนทางหลวงที่เป็นทางราบและมีปริมาณจราจรน้อยกว่า 1,500 คนต่อวันสามารถเพิ่มระยะห่างระหว่างช่วงเสาออกเป็น 200 เมตรได้           

บริเวณทางโค้ง

      ระยะห่างของหลักนำทางแต่ละตัวขึ้นอยู่กับรัศมีความโค้งของถนนบริเวณนั้นโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะก่อนเข้าทางโค้ง (S1 S2 และ S3) และระยะโค้ง (S) โดยจะต้องมีการตรวจสอบระยะการมองเห็นด้วย

      ข้อพิจารณาในการติดตั้งหลักนำทางบริเวณทางโค้งมีดังนี้  (MUTCD, 2009) 
1. หากรัศมีโค้งนอกเหนือที่กําหนดไว้ในตาราง สามารถเทียบค่าจากสัดส่วน (Interpolate) ในตารางได้
2. ระยะห่างของหลักนำทางต้องไม่น้อยกว่า 6 เมตรและต้องไม่เกิน 90 เมตร
3. ระยะก่อนเข้าทางโค้ง (S1 S2 และ S3) และระยะโค้ง (S) สามารถคํานวณจาก S = 1.7 (R-15)1/2 เมื่อ R = รัศมีความโค้ง (เมตร) S1 = 2S; S2 = 3S; S3 = 6S แต่ต้องไม่เกิน 90 เมตร
4. หากมีรัศมีโค้งเกิน 300 เมตร ควรพิจารณาติดตั้งหลักนำทางเท่าที่จําเป็น

ระยะในการติดตั้งหลักนําทางบริเวณทางโค้ง (กรมทางหลวง, 2537)

แสดงระยะห่างของหลักนําทางตามรัศมีโค้งของถนน (MUTCD, 2009; กรมทางหลวง, 2554d)

บริเวณทางตรงที่เป็นทางขึ้นเนิน

          ควรมีการติดตั้งหลักนำทางอย่างน้อย 1 คู่โดยหลักนำทางตัวแรกจะติดตั้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 40 เมตร ก่อนขึ้นเนิน ส่วนระยะห่างของหลักนำทางตัวถัดไปให้พิจารณาจากการมองเห็นของผ้ขับขี่เป็นหลักโดยให้ผ้ขับขี่สามารถมองเห็นหลักนำทางได้ตลอดแนวการติดตั้งได้

ระยะห่างในการติดตั้งหลักนําทางบริเวณทางขึ้นเนิน (FHWA, 2009)

บริเวณที่เปลี่ยนกายภาพถนน

            ควรมีการติดตั้งหลักนำทางในช่วงที่เปลี่ยนความกว้างของถนน โดยจํานวนและระยะห่างระหว่างหลักนำทางจะขึ้นอยู่กับช่วงความกว้าง และความยาวที่มีการเปลี่ยนแปลงดังรูป

การติดตั้งหลักนําทางบริเวณช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงความกว้างของถนน (RTA, 2010)

ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวถนนช่วงที่เปลี่ยนกายภาพกับจำนวนหลักนำทางที่น้อยที่สุด

บริเวณที่มีวัตถุข้างทางที่มีความยาวไม่เกิน 5 เมตร

  • บริเวณที่มีท่อระบายน้ำข้างทาง ให้ติดตั้งหลักนำทางจำนวน 2 ต้น โดยแต่ละต้นจะติดตั้งใกล้กับปากท่อระบายน้ำมากที่สุด
  • บริเวณที่มีท่อคอนกรีตเสริมเหล็กแบบท่อเดี่ยว ให้ติดตั้งหลักนำทาง 1 ต้น เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบถึงตำแหน่งวัตถุอันตรายข้างทางดังรูป

การติดตั้งหลักนำทางเพื่อระบุตำแหน่งวัตถุอันตรายข้างทาง

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

ร้านไทยจราจร

ไม่ต้องกังวล!! ลูกค้ากว่า 300,000 รายในประเทศไทย ที่เชื่อใจ และ รับบริการจาก ร้านไทยจราจร

ร้านไทยจราจร

ทำไมต้องร้านไทยจราจร?

ร้านไทยจราจร

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

เสียงตอบรับจากผู้ใช้งานจริง!! ลูกค้าประทับใจ ร้านไทยจราจร ประสบการณ์10 ปี

คุณจุฬาพร ทรงพัฒนากุล
ฝ่ายความปลอดภัย
อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ สาทร

คุณกิตติคุณ สามัคคีนิชย์
Project Manager
บริษัท พีแอนด์เค จำกัด

คุณธนพล จิรวรรบดี
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท อริธเมทิค จำกัด

คุณณัชชานน ยุชังกุล 
เจ้าของกิจการ 
งาน EVENT และการแสดง

คุณสมศักดิ์ ไกรสูง
ผู้รับเหมา  
กรมการขนส่งทางบก

คุณ เจนณรงค์ มงคลจรัสชัย 
เจ้าของกิจการ 
ทำป้าย โฆษณา

คุณชัยณงค์ จงจำรัส 
หน่วยงานซ่อมบำรุง   
โรงพยาบาลบางประกอก 3

คุณ ยคนธร จิตอารีย์รัตน์  
เจ้าของกิจการ 
โรงแรม มนเต แม่สอด

ทุกการสนับสนุนของลูกค้า....เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมไทยให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น!

ร้านไทยจราจร
ร้านไทยจราจร
ร้านไทยจราจร
ร้านไทยจราจร

กิจกรรมตอบแทนสังคม ในโครงการ "สมาร์ท ทำดีเพื่อสังคม"

ขอบพระคุณลูกค้าที่สนับสนุนร้านไทยจราจร หรือ บริษัท สมาร์ท เบสท์บายส์จำกัด  เรานำรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าและบริการ มาตอบแทนสังคมไทย และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประเทศไทย น่าอยู่ยิ่งขึ้น

เพราะ เราเข้าใจว่า "การให้ ต้องไม่หวังผลตอบแทน และ เราต้องช่วยเหลือสังคม แบบไม่มีที่สิ้นสุด " โดยทุกๆปี เราจะจัดโครงการ "สมาร์ท ทำดีเพื่อสังคม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรอยยิ้ม และโอกาสพัฒนาสังคม ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เราขอเป็นตัวแทนจากมูลนิธิที่เราไปช่วยเหลือ ขอบพระคุณลูกค้าที่สนับสนุนเรามีใน ณ ที่นี่ด้วย

เราช่วยเหลือสังคมที่ไหนบ้าง ?

และนี่คือเวลาที่ต้องตัดสินใจแล้ว.....ว่าคุณอยากแก้ปัญหาที่คุณมีอยู่หรือเปล่า?

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006