5 วัสดุยอดนิยม ที่ใช้ทำป้ายจราจร มาตรฐานกรมทางหลวง

ป้ายจราจร

ป้ายจราจร คือป้ายที่มีไว้ใช้ระบุสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามหรือเตือนห้ามไม่ให้กระทำผิด โดยปกติแล้วป้ายจราจรจะถูกแบ่งออกเป็น ป้ายเตือน ป้ายบังคับ และป้ายแนะนำ ในแต่ละประเภทก็จะมีรูปร่างหน้าตาและสีที่แตกต่างกันออกไป

แต่ป้ายทุกประเภทจะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือวัสดุที่นำมาใช้ทำป้ายจราจรแต่ละชนิด ต้องเป็นวัสดุที่มีคุณภาพตามมาตรฐานกรมทางหลวง และใช้งานได้จริง ทนทานในระยะยาว จึงจะสามารถนำมาใช้บนท้องถนนได้ ซึ่งทาง ร้านไทยจราจร ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่ได้รับการยอมรับและได้รับการรับรองสามารถนำใช้ในการผลิตได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 วัสดุยอดนิยม ได้แก่

ป้ายจราจร
  1. อลูมิเนียม

เป็นวัสดุที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานกรมทางหลวง โดยมาตรฐานระบุให้ใช้อลูมิเนียมในการผลิตป้ายจราจรที่มีความหนาขั้นต่ำ 1 มม. หรือ 2 มม. ตามขนาดของป้ายจราจร เนื่องจากวัสดุอลูมิเนียมมักจะมีคุณสมบัติสำคัญ ๆ ดังนี้

– มีน้ำหนักเบา ความหนาแน่นน้อย แต่มีความเหนียวที่ค่อนข้างมากจึงทำให้กรรมวิธีในการผลิตสามารถขึ้นรูปได้อย่างง่าย โดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก ทั้งยังมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง

– อลูมิเนียมเป็นโลหะที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย ไม่เป็นเหล็ก ไม่เกิดประกายไฟ สามารถนำไปใช้งานหรือสัมผัสได้โดยไม่เป็นอันตราย

– มีความทนทานต่อการเกิดสนิมและต่อต้านการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี จึงไม่มีปัญหาสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง และยังทนต่อทุกสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี

ป้ายจราจร
  1. เหล็กซิงค์

เป็นหลักแผ่นเคลือบสังกะสีโดยผ่านกรรมวิธีทางไฟฟ้า ได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยทั่วไปสามารถใช้ในการผลิตป้ายจราจรที่มีความหนาขั้นต่ำ 1 มม. ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงมากกว่าอลูมิเนียม ทนทานต่อการเกิดสนิมและการผุกร่อนในช่วงแรกของการใช้งาน เนื่องจากมีการเคลือบสังกะสีไว้ด้วย แต่ถ้าใช้งานในระยะเวลาที่นานวันเข้า สังกะสีที่เคลือบไว้อาจเกิดการหลุดลอกก็สามารถทำให้เกิดสนิมได้เหมือนกัน

     

ป้ายจราจร

3.และ 4. อะคริลิก และพลาสวูด  

นอกจากอลูมิเนียมและเหล็กซิงค์แล้ว ยังมีวัสดุอีก 2 ชนิด ที่ผู้ผลิตป้ายจราจรส่วนใหญ่นิยมใช้กันโดยไม่ผิดมาตรฐานกรมทางหลวง คือ อะคริลิก และพลาสวูด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้มักใช้สำหรับทำป้ายจราจรไว้ใช้ในโครงการของห้างสรรพสินค้าหรือหน่วยงานเอกชน เนื่องจากวัสดุดังกล่าวมีลักษณะของสีวัสดุที่สวยงามเหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ร่มมากกว่าการใช้งานกลางแจ้ง เพราะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าจำพวกอลูมิเนียมและเหล็กซิงค์

ป้ายจราจร
  1. ป้ายสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง

วัสดุที่ใช้ทำป้ายสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง โดยปกติแล้วแยกออกเป็น 3 ชนิดได้แก่

  1. Commercial Grade (สารเคมีเกรดอุตสาหกรรม) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีความบริสุทธิ์ต่ำที่สุด ทำให้มีค่าสัมประสิทธิ์สะท้อนแสงต่ำสุดด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในการผลิตป้ายใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ที่สำคัญมีอายุการใช้งานสะท้อนแสงที่ค่อนข้างน้อยเพียง 1 ปีเป็นอย่างต่ำ
  2. Engineer Grade แผ่นสะท้อนแสงที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเข้มระดับปานกลาง โดยทั่วไปมีโครงสร้างประเภทลูกแก้ว ชนิดเอ็นโคลสเลนซ์ จึงทำให้ผลการแสดงแสงสะท้อนไม่มากและไม่น้อยเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานขั้นต่ำ 5 ปี และป้ายสติ๊กเกอร์ประเภทนี้จะได้รับความนิยมมากที่สุด
  3. Diamond Grade เป็นป้ายจราจรที่มีค่าสัมประสิทธิ์ในการสะท้อนแสงสูงที่สุด จึงมีประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงมากกว่าเกรดอื่น ๆ ทำให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ที่สำคัญมีอายุในการใช้งานที่ยาวนานถึง 10 ปี แต่วัสดุประเภทนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรเนื่องจากผลการสะท้อนแสงที่มากเกินไปในป้ายบางประเภท

และนอกจากวัสดุที่ใช้ทำสติ๊กเกอร์ทั้ง 3 ชนิดข้างต้นแล้ว ยังมีวัสดุอีกประเภทที่มักจะนำมาผลิตสติ๊กเกอร์สะท้อนแสงอีก คือ High Intensity Grade จะมีค่าสัมประสิทธิ์สะท้อนแสงที่สูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการมองเห็นป้ายจราจรที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งวัสดุประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงได้ดีกว่าแผ่นสะท้อนแสงแบบลูกแก้ว เนื่องจากมีโครงสร้างส่วนสะท้อนแสงเป็นแบบปริซึม เมื่อมีแหล่งไฟส่องกระทบจะสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน วัสดุประเภทนี้จึงกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากใครที่กำลังมองหาป้ายจราจรก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของวัสดุที่ได้คุณภาพและมาตรฐานมาเป็นอันดับหนึ่ง และอย่าลืมให้ความสำคัญหรือละเลยถึงผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาเป็นอันดับรองลงมา การเลือกใช้สินค้าที่ผลิตหรือกระบวนการที่เป็นธรรมชาติ จะถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาโลกให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันโลกของเรากำลังเข้าสู่ช่วงวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากไม่อยากให้ธรรมชาติของโลกต้องเสื่อมสลายก็จงอย่าใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายโลกกันเถิด

ซึ่งทั้งหมดที่ ร้านไทยจราจร ได้กล่าวมานั้น เป็นวัสดุที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมาผลิตป้ายจราจรขายอย่างที่เห็นกันในท้องตลาด ฉะนั้น หากมีความต้องการที่จะเลือกซื้อป้ายจราจรเอาไว้ใช้งานก็ควรเลือกป้ายที่ทำมาจากวัสดุที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานกรมทางหลวง หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าป้ายจราจรที่ซื้อไปนั้นจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้งานที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมีอายุการใช้งานที่คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปอีกด้วย