5 ข้อมาตรฐาน การออกแบบ ทางเดินรถเข็นคนพิการ ตามหลักสากลทั่วโลก

ความพิการอาจทำให้ผู้พิการไม่สามารถเคลื่อนย้ายร่างกายได้สะดวกเหมือนกับคนปกติทั่วไป แต่ก็ไม่ควรนำความพิการมาตัดสิทธิประโยชน์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม การออกแบบงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายในอาคาร รวมถึงองค์ประกอบอาคารประเภทต่าง ๆ จึงควรคำนึงถึงการใช้งานร่วมกับผู้พิการด้วยเพื่อความเสมอภาคกันทุกคน ทั้งการออกแบบทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา หรือผู้พิการทางร่างกายที่จะต้องอาศัยรถเข็นในการเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการเหล่านี้กันมากขึ้น เกิดเป็นนิยามของคำว่า Universal Design หรืออารยสถาปัตย์ เป็นแนวคิดที่องค์การสหประชาชาติได้นำมาเผยแพร่ภายใต้แนวคิดที่ว่าสิทธิความเท่าเทียมในการอำนวยความสะดวกของผู้คนทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกายที่มีความสามารถหรือวิธีในการสื่อสารที่แตกต่างกันเป็นพื้นฐาน ร้านไทยจราจรขอแนะนำรายละเอียดข้อมาตรฐานบริเวณทางเดินของผู้พิการไว้ดังต่อไปนี้

1.ทางลาด กรณีทางเดินไม่ว่าจะเป็นบริเวณภายในหรือภายนอกอาคารมีลักษณะที่ไม่สม่ำเสมอกัน หรือมีความต่างระดับไม่เท่ากันนั้น จำเป็นต้องทำทางเดินให้อยู่ในลักษณะของทางลาด ทางลาดที่ดีหากมีความยาวของทางลาดจะสัมพันธ์กับระยะที่ต่างระดับกัน กรณีทางลาดมีความยาวไม่เกิน 6 เมตร ต้องมีความกว้างของทางลาดไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่หากความยาวมากกว่า 6 เมตรก็ต้องมีความกว้างของทางลาดไม่น้อยกว่า 1.5 เมตรและต้องติดตั้งวัสดุกันลื่นอย่างเทปกันลื่นเอาไว้ด้วยและกรณีทางลาดยาวต่อเนื่องไปอีกจะต้องมีจุดพักที่มีความกว้าง 1.5 เมตรเอาไว้ด้วย กรณีทางลาดมีความยาวตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไปก็ต้องมีราวจับทั้ง 2 ข้างเอาไว้ด้วย อัตราความลาดชันต้องไม่ต่ำกว่า 1:12

2.การจัดการบริเวณขอบถนน บริเวณขอบถนนมักมีความต่างระดับทำให้ยากต่อการสัญจรของผู้พิการที่ต้องใช้รถเข็นในการสัญจรได้ จึงควรทำทางเชื่อมในลักษณะทางลาดเอาไว้ด้วยในกรณีที่ความต่างระดับนั้นไม่เกิน 20 มิลลิเมตร ซึ่งในปัจจุบันสามารถเพิ่มลักษณะทางลาดในลักษณะดังกล่าวได้ด้วยยางปีนไต่ฟุตบาท องศาความลาดชันที่ดีตามมาตรฐานสากลคือ 30o แต่อาจยึดตามกฎกระทรวงที่ 45o แทนได้เช่นกันตามความเหมาะสม กรณีขอบถนนที่มีลักษณะเป็นทางแยกต้องกำหนดเป็นทางม้าลายให้ผู้พิการสัญจรผ่านไป และเว้นพื้นที่ว่างเพื่อทำทางลาดด้วยความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

3.บริเวณทางเดินทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทางเดินไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารทั้งภายนอกและภายในอาคารนั้นจะต้องมีลักษณะเรียบสม่ำเสมอกัน พื้นผิวมีลักษณะไม่ลื่น และไม่มีสิ่งของมาวางกีดขวางทางเดิน ความกว้างของทางเดินที่เหมาะสมสำหรับผู้พิการคือ ความกว้างที่ไม่น้อยกว่า 5 เมตร เพราะเป็นระยะห่างที่รถเข็น 2 คันสามารถสวนทางกันได้โดยไม่ชนหรือกระแทกใส่กัน หากบริเวณทางเดินมีท่อระบายน้ำขวางเอาไว้ควรปิดให้สนิท หรือหากต้องนำอุปกรณ์ในลักษณะตะแกรงหรือรูระบายน้ำมาติดตั้งไว้ขนาดของตะแกรงหรือรูระบายน้ำก็ไม่ควรเกิน 1.3 เซนติเมตร หากทางเดินมีลักษณะเป็นทางเลี้ยวหรือทางแยกก็ควรติดตั้งแผ่นยางปูพื้นสำหรับคนพิการเอาไว้ด้วย เพื่อให้พวกเขาสามารถแยกพื้นที่ด้วยผิวสัมผัสที่แตกต่างกันนั่นเอง

4.การกำหนดลักษณะของราวจับ ราวจับคือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยในการพยุงตัวให้ผู้พิการ ซึ่งในกรณีที่ทางลาดเพื่อขึ้นชั้นต่าง ๆ ของอาคารมีความยาวตั้งแต่ 5 เมตรก็ควรมีการติดตั้งราวจับเอาไว้ทั้ง 2 ด้านของทางลาด ราวจับที่ดีควรมีลักษณะกลมเรียบไม่บาดมือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตรระดับสูงจากพื้น 80 – 90 เซนติเมตรและมีระยะห่างจากผนัง 4 – 5 เซนติเมตร การติดตั้งต้องยึดกับผนังหรือขอบปูนอย่างมั่นคง ไม่โยกคลอนไปมา เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายในระหว่างการใช้งานได้ กรณีเป็นราวจับที่ใช้กับทางลาด ควรมีระยะของราวต่อจากจุดสิ้นสุดของทางลาดไปอีก 30 – 40 เซนติเมตร

5.บันได ผู้พิการทางสายตาหรือผู้พิการทางการได้ยิน หรือผู้พิการทางร่างกายบางคนก็ยังสามารถช่วยเหลือตนเองและใช้บันไดได้ แต่บันไดที่ดีก็ควรมีการออกแบบในลักษณะที่เหมาะสมกับผู้พิการ ด้วยความกว้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร ทุกระยะความสูงแนวดิ่ง 2 เมตรจะต้องมีจุดพัก มีการติดตั้งราวบันไดทั้ง 2 ข้าง แต่ละขั้นของบันไดสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตรและมีความกว้างในแต่ละขั้นไม่น้อยกว่า 28 เซนติเมตร พื้นผิวของบันไดต้องไม่ลื่น อาจติดตั้งปุ่มทางเดินคนพิการที่บันไดขั้นแรก และขั้นสุดท้ายเอาไว้เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ให้ผู้พิการทางสายตาทราบ บริเวณบันไดต้องมีแสงสว่างเพียงพอทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน กรณีบันไดมีความกว้างมากกว่า 3 เมตรควรเพิ่มราวจับตรงกลางอีก 1 ราวด้วย

 

ในปัจจุบันยิ่งสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว โอกาสที่ผู้สูงอายุเหล่านี้จะต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในอาคารสถานที่ต่าง ๆ ก็ยิ่งมีมากขึ้น การออกแบบอาคารในปัจจุบันจึงควรใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้เอาไว้ด้วย อาจเริ่มตั้งแต่ที่บ้านของคุณเองก่อน เพราะร้านไทยจราจรเชื่อว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้พิการหรือผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนปกติทั่วไปด้วย

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน