แจกบทความฟรี
6 วิธีทำอย่างไร เมื่อเจอคนจมน้ำ (ประสบการณ์ตรง)!!
อุบัติเหตุจากการจมน้ำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะสำหรับเด็กและผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น ที่จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากกว่าคนอื่น เวลาไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวประเภทน้ำตกทะเล อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ฯลฯ แม้แต่คนที่ว่ายน้ำแข็ง หากเกิดอาการเป็นตะคริวก็จะไม่สามารถยกแขนขาได้ตามปกติ ก็ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้เช่นเดียวกัน
ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จึงได้รวบรวม 6 วิธีที่ควรทำเมื่อพบคนจมน้ำ คุณสามารถที่จะช่วยชีวิต ลดอันตรายของอุบัติเหตุได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ให้หยิบอุปกรณ์ที่มีความยาว และอยู่ใกล้เคียงตัวเองที่สุด เพื่อให้คนที่ กำลังจมน้ำจับ เช่น เสื้อแขนยาว กางเกง เข็มขัด กิ่งไม้ ร่ม ฯลฯ แต่อุปกรณ์เหล่านี้ก็มีข้อจำกัดเพราะมีความยาวน้อย จึงใช้ในกรณีที่คนที่กำลังจมน้ำนั้นอยู่ไม่ไกลจากคนที่กำลังช่วยเหลือในระยะ 2-3 ฟุตเท่านั้น
ทำให้ปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมาก คือ ตะขอช่วยชีวิต ซึ่งจะมีทั้งส่วนห่วงและด้ามจับความยาว 4.5 เมตร ที่ทำจากอะลูมิเนียมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ซึ่งมีน้ำหนักเบา (ผู้หญิงก็สามารถยกมาใช้งานได้ง่าย) สามารถที่จะช่วยชีวิตคนที่อยู่ห่างไกลจากฝั่ง ทั้งพื้นดินและขอบสระว่ายน้ำก็ได้ (ความยาวนี้ สามารถช่วยคนที่กำลังจมน้ำบริเวณกลางสระว่ายน้ำได้)
2. กรณีที่คนกำลังจมน้ำอยู่ไกลออกไป ต้องใช้วิธีโยนสิ่งของช่วยเหลือ ควรจะหาอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบาโยนได้ไกล ได้แก่ ห่วงชูชีพ โฟมสำหรับเกาะ ถังน้ำพลาสติก ฯลฯ จะทำให้ผู้ที่กำลังจมน้ำสามารถเกาะ เพื่อประคองตัวระหว่างรอคนไปช่วยได้นานขึ้น ซึ่งการโยนอุปกรณ์ดังกล่าวไปในที่ไกลออกไป จะมีประโยชน์ตรงที่ทำให้ผู้ช่วยเหลือที่ว่ายน้ำไม่เป็น สามารถช่วยเหลือได้จากบนฝั่งระยะไกล โดยไม่ถูกผู้ที่กำลังจมน้ำดึงตัวให้จมลงไปด้วยแล้วเสี่ยงต่อการเสียชีวิตไปด้วยกัน
3. ถ้าจุดที่จมน้ำอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว มักมีอุปกรณ์เพื่อกีฬา เช่นกระดานโต้คลื่น เจ็ทสกี เรือพาย เรือใบ ฯลฯ อยู่ไม่ไกลนัก ผู้ช่วยเหลือควรรีบส่งเสียงดังขอความช่วยเหลือให้มีคนรีบนำอุปกรณ์พาหนะเหล่านี้ออกไปช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุ ซึ่งในเรือมักจะมีอุปกรณ์ที่กล่าวไปแล้วในข้อ 1 และ 2 รวมถึง มี เสื้อชูชีพ สีส้มสะท้อนแสง อยู่ด้วย ก็จะทำให้ผู้ที่จมน้ำมีโอกาสรอดมากขึ้น
4. กรณีอยู่ใกล้กับเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครด้านความปลอดภัย ยามชายฝั่ง ฯลฯ ที่มีความสามารถด้านการว่ายน้ำได้ดี ร่างกายแข็งแรง และมีหน้าที่ช่วยเหลือโดยตรงอยู่แล้ว (สังเกตได้จากมักมีการสวมอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพ อยู่ตลอดเวลาทำงาน สำหรับพร้อมให้การช่วยเหลือ) ให้รีบเข้าไปขอความช่วยเหลือ ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะรีบนำอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลืออื่น ๆ ออกไปที่จุดเกิดเหตุด้วย เช่น ห่วงยาง โฟม ตะขอช่วยชีวิต ฯลฯ และจะทำการปั๊มหัวใจ เป่าปาก และปฐมพยาบาลอื่น ๆ ตามวิธีการที่ถูกต้องต่อไป
5. เมื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ขึ้นจากน้ำได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีใดใน 4 ข้อข้างต้น ให้รีบทำการนวดหัวใจของผู้จมน้ำ โดยให้ผู้ประสบเหตุนอนหงายบนพื้น ผู้ช่วยเหลือหาตำแหน่งสำหรับการนวดหัวใจ โดยโดยให้ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางของมือข้างขวา วัดเหนือกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้ว แล้วใช้มือข้างซ้ายวางทับซ้อนลงไป แล้วให้เกี่ยวนิ้วมือให้ลงร่องนิ้วกัน (ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอกด้วย)
หลังจากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือนั้นทำการยืดไหล่และแขนให้ตรง แล้วก็ปล่อยน้ำหนักตัวจากไหล่ลงไปที่กระดูกหน้าอกของผู้ประสบเหตุจมน้ำ โดยให้กดลึกลงไปประมาณ 2 นิ้วของความหนาของหน้าอก (วัดในแนวดิ่ง) ห้ามกระแทกอย่างรุนแรง และควรทำสลับกับการเป่าปาก โดยใช้อัตราการกดหน้าอก 30 ครั้ง ต่อการเป่าปาก 2 ครั้ง ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการนวดหัวใจควรทำในอัตราเร็วประมาณ 100 ครั้งต่อนาที จะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นหัวใจได้ดีที่สุด
6. การเป่าปาก เป็นการปฐมพยาบาลพื้นฐานสำหรับคนจมน้ำ ที่ต้องทำควบคู่กับการนวดหัวใจ โดยให้ผู้ประสบเหตุนอนราบ ผู้ช่วยเหลือใช้มือกดหน้าผากเงยขึ้นให้มากที่สุด แล้วใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบที่จมูกของผู้ที่จมน้ำ หลังจากนั้น ให้ผู้ประสบเหตุนั้นใช้ปากครอบที่ปากของผู้ประสบเหตุ แล้วเป่าลมเข้าไปให้สุด จากนั้นให้สังเกตดูว่าที่หน้าอกของผู้จมน้ำ มีการขยายตัวหรือกระเพื่อมขึ้นลงบ้างหรือไม่ ถ้าหน้าอกยังนิ่งไม่ขยาย ให้ปล่อยมือที่บีบจมูกแล้วทำการเป่าลมซ้ำเข้าไปใหม่
ถ้ามีผู้ช่วยเหลืออยู่พร้อมกัน 2 คนขึ้นไป ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คนหนึ่งทำหน้าที่เป่าปาก ส่วนอีกคนทำหน้าที่นวดหัวใจ จะทำให้มีความสม่ำเสมอในจังหวะความเร็วและความแรงของการปั๊มหน้าอกเพื่อช่วยชีวิตได้ดีขึ้น
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีแหล่งน้ำ หรือในสระว่ายน้ำตามโรงแรม ฟิตเนส สโมสรต่าง ๆ เป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้ ซึ่งการปฏิบัติตัวตามวิธีที่กล่าวมา จะทำให้ผู้ที่จมน้ำและผู้ช่วยเหลือต่างก็จะได้รับความปลอดภัยพร้อมกัน อุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลืออุบัติเหตุทางน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ ร้านไทยจราจร หวังว่าทุกแห่งจะมีอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006