แจกบทความฟรี
ขับไปพิมพ์ไป อันตรายถึงชีวิต!!
ต้องยอมรับว่ายุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากโดยเฉพาะเทคโนโลยีอย่างมือถือหรือสมัยนี้เรียกกันว่า สมาร์ทโฟน กลายเป็นสิ่งติดตัวที่ขาดไม่ได้ไปเรียบร้อย บางคนถึงขนาดบอกว่านี่เป็นปัจจัยลำดับ 5 ในชีวิตซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดใด ๆ เลย ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงเรื่องของความเหมาะสมในการใช้งานมากกว่า อย่างที่รู้กันว่ามือถือสามารถทำได้หลายสิ่งหลายอย่างมากโดยเฉพาะการแชท หากการแชทในช่วงเวลาที่ถูกต้อง เช่น อยู่บ้าน, นั่งรถตามสถานที่ต่าง ๆ , ในร้านอาหาร ฯลฯ คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หลาย ๆ คนที่ขับรถยนต์ด้วยตนเองดันชอบใช้เวลาระหว่างขับรถแล้วเล่นมือถือ พิมพ์นั่นพิมพ์นี่อยู่ตลอดเวลา รู้หรือไม่ว่าตัวคุณเองกำลังอาจกลายเป็นมัจจุราชไปพรากชีวิตคนอื่นหรืออาจกลายเป็นตนเองที่ต้องจบชีวิตลงก็ได้!
เคยมีรายงานระบุออกมาอย่างชัดเจนว่าปกติเวลาที่เราต้องพิมพ์ข้อความต่าง ๆ มือถือสายตาสายตาของผู้ขับขี่ทุกคนจะทำการละออกจากถนนเฉลี่ยคนละ 4.6 วินาที ถือว่านานมาก ๆ กับการขับขี่รถยนต์ คราวนี้สมมุติว่าคน ๆ นั้นกำลังขับรถยนต์มาด้วยความเร็ว 80 กม. / ชม. สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับคนที่กำลังปิดตาแล้วขับรถไปข้างหน้าเป็นระยะทาง 100 ม. เลยทีเดียว คิดดูแล้วกันว่าความอันตรายที่เกิดขึ้นมีมากขนาดไหน จากสิ่งที่กล่าวมานี้มีข้อสรุปอย่างหนึ่งที่ระบุถึงความน่ากลัวกับคนที่ชอบขับไปพิมพ์ไปนั่นคือ สถิติการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการขับรถแล้วพิมพ์ข้อความบนมือถือไปด้วยนั้นมีมากกว่าสถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับด้วยซ้ำ
อีกทั้ง ร้านไทยจราจร จะขอนำเสนอสถิติที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ เกี่ยวกับการพิมพ์ไปขับไปว่าเป็นอย่างไรบ้าง
– หากพิมพ์ไปขับไปจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติถึง 23 เท่า
– หากมีการพิมพ์ไปขับไปจะเกิดอันตรายมากกว่าการเมาแล้วขับถึง 6 เท่า
– มีมากถึง 77% ของผู้ขับขี่ที่อายุยังน้อยมั่นใจว่าตนเองสามารถพิมพ์ไปขับไปได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องระวังเรื่องอุบัติเหตุใด ๆ เลย
– สุดท้ายจำนวนของการเกิดอุบัติเหตุ การมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุโดยสาเหตุเกิดจากพิมพ์ไปขับไปมากกว่าสาเหตุเมาแล้วขับอีกด้วย
จากสถิติที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนเลยว่าพฤติกรรมของคนที่ชอบพิมพ์ข้อความบนมือถือระหว่างขับรถมันทำให้เกิดอันตรายได้มากขนาดไหน แล้วคิดดูว่าบนถนนหนทางในเมืองไทยที่มีการจราจรติดขัดโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ แทบตลอดเวลา โอกาสที่ผู้ขับขี่จะหยิบมือถือขึ้นมาเพื่อทำนั่นทำนี่จึงมีสูงมาก หมายความว่าอันตรายบนท้องถนนในบ้านเราก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ควรทำอย่างไรดีจึงจะไม่ให้เกิดเรื่องร้าย ๆ ดังกล่าวขึ้นมา เมื่อลองวิเคราะห์ถึงวิธีแล้วพบว่าสามารถทำได้ดังนี้
– ปิดการแจ้งเตือนทุกชนิดในมือถือเมื่อรู้ว่าตนเองกำลังขับขี่รถยนต์อยู่ เมื่อไม่มีการแจ้งเตือนก็จะไม่ทำให้ต้องคอยพะวงว่ามีใครติดต่อเข้ามาทางแชทหรือไม่ การขับขี่รถยนต์ก็เป็นปกติไม่ต้องได้ยินเสียงแชทเตือนตลอดเวลาจนท้ายที่สุดต้องหยิบมาดูว่ามีใครส่งข้อความมา
– เลี่ยงไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเหมือนกัน เช่น หาเพลงฟัง, มองไปบนถนนหนทางต่าง ๆ ว่ามีอะไรน่าสนใจหรือไม่ เช่น ป้ายจราจร ข้างหน้าบอกเส้นทางให้ไปทางไหน, สัญญาณไฟจราจร ข้างหน้าอยู่อีกไกลหรือไม่กว่าจะหลุดแยกนี้ไป, สังเกตจุดติดตั้ง หุ่นตำรวจ / จ่าเฉย ว่ามีตรงไหน เป็นต้น
– หากมีธุระด่วนจริง ๆ ใช้การโทรศัพท์ดีกว่าโดยควรโทรผ่านระบบหูฟังหรือการโทรที่ไม่ต้องหยิบมือถือขึ้นมาเนื่องจากการละสายตาไปหยิบอาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
ต้องบอกว่าจุดเริ่มต้นของปัญหาอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการพิมพ์ไปขับไปมาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ทั้งสิ้น บางคนชอบคิดว่าแค่ก้มลงไปพิมพ์ข้อความนิดเดียวคงไม่มีอะไรหรอก ทว่าขึ้นชื่อเป็นอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แถมเมื่อเกิดแล้วไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าด้วยว่าร้ายแรงขนาดไหน บางครั้งแค่เฉี่ยวชนธรรมดาก็พอให้อภัยแต่ถ้าถึงขนาดมีผู้ได้รับบาดเจ็บ มีผู้เสียชีวิต แบบนี้นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ขับเต็ม ๆ ยังไงก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อให้บนท้องถนนจะมีอุปกรณ์จราจรชั้นดี เช่น อุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทก คอยสร้างความปลอดภัยให้กับทุก ๆ คนที่ใช้รถใช้ถนนมากขนาดไหน แต่ถ้าพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยังคงเห็นแก่ตัวในเรื่องการใช้มือถือขณะขับรถเราก็คงยังต้องพบข่าวทำนองนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แบบไม่รู้จักจบสิ้น
แม้เคยมีกฎหมายข้อบังคับในเรื่องนี้ออกมาแต่ดูแล้วคงยังแก้ไขพฤติกรรมไม่ได้มากเท่าไหร่นัก ร้านไทยจราจร เองหวังว่าทุก ๆ คนที่ใช้รถยนต์จะเข้าใจถึงความสูญเสียในอุบัติเหตุต่าง ๆ อันมีต้นเหตุมาจากการพิมพ์ไปขับไป อย่างที่กล่าวไปว่าการใช้มือถือควรเลือกใช้ให้ถูกเวลา เหมาะสมกับสถานที่ ถ้าหากคนที่เกิดอุบัติเหตุเป็นคนที่คุณรักคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ ๆ เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไปดีกว่า
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006