10 เรื่องเข้าใจผิด กับอาชีพฝ่ายอาคาร

ในการบริหารจัดการพื้นที่อาคาร ห้างร้านต่าง ๆ นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราจำเป็นต้องมีอาชีพฝ่ายอาคารเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ เพื่อให้การจัดการอาคารทำได้อย่างราบรื่น มีความเป็นระบบ และไม่มีปัญหาอย่างบุคคลแปลกปลอมแอบเข้าไปในอาคาร เมื่อมีอาชีพฝ่ายอาคารเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการอาคารแล้ว องค์กรดังกล่าวนั้นก็จะปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น 

แต่เมื่อพูดถึงอาชีพเกี่ยวกับอาคาร ใครหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเป็นอาชีพเกี่ยวกับอะไร ต้องทำอะไรบ้าง บางคนคิดไปว่าอาชีพดังกล่าวนี้ก็คือ รปภ. ที่ทำหน้าที่เฝ้าอาคารเพียงเท่านั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว อาชีพฝ่ายอาคารมีอยู่หลายตำแหน่ง แยกออกได้เป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายทฤษฎี และฝ่ายปฏิบัติ อีกทั้งยังมีข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพนี้อีกมากมาย ดังนั้นในวันนี้ ร้านไทยจราจรจะพาทุกท่านไปดูกันว่า มีข้อเข้าใจผิดใดบ้างเกี่ยวกับอาชีพนี้ ที่คุณต้องทำความเข้าใจเสียใหม่

          1.อาชีพฝ่ายอาคาร ไม่ได้หมายถึงเพียงอาชีพ รปภ. อย่างเดียว เนื่องจากการควบคุมอาคารจะต้องมีพนักงานหลายฝ่าย เนื่องจากการจะควบคุมพื้นที่ในอาคารให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์หลายอย่าง เช่น ไม้กระดกอัตโนมัติ กรวยจราจร ประตูอัตโนมัติ ป้ายจราจร และอื่น ๆ อีก จำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงอยู่เสมอ ซึ่งแน่นอนว่าแค่ รปภ. ตำแหน่งเดียว คงจะไม่สามารถดูแลควบคุมได้ทุกหน้าที่แน่ ไหนจะการวางแผนจัดการอาคาร ควบคุมความเสี่ยง จัดซื้อจัดจ้าง พวกนี้ รปภ. จะไม่สามารถทำได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้มาทำหน้าที่ส่วนต่าง ๆ เป็นการเฉพาะ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า อาชีพฝ่ายอาคาร เป็นอาชีพที่รวมหลาย ๆ ตำแหน่งรวมกัน ตั้งแต่ รปภ. นักจัดการงานทั่วไป วิศวกรบำรุงรักษา ไปจนถึงหัวหน้าฝ่ายอาคารที่ทำหน้าที่บริหารเป็นหลัก

          2.อาชีพฝ่ายอาคาร ไม่ได้มีหน้าที่แค่เปิด-ปิด อาคาร แลกบัตรเข้าอาคารแก่ผู้มาเยี่ยมชมเท่านั้น เพราะดังที่กล่าวไปในข้อ 1 ว่าภายในอาคาร มีส่วนที่ต้องบริหารจัดการมากมาย หน้าที่อย่างแลกบัตร เปิด-ปิดอาคาร เป็นแค่หน้าที่ผิวเผินเท่านั้น โดยนิยามของอาชีพนี้คือ การบริหารจัดการอาคารให้ออกมามีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ด้วยเหตุนี้ ทำให้อาชีพฝ่ายอาคาร ในบางครั้งก็ไม่มีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ หากมีภารกิจนอกเหนือจากที่ต้องทำ ผู้ทำอาชีพนี้ก็จำเป็นต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้

          3.อาชีพฝ่ายอาคาร ไม่ได้มีหน้าที่เพียงการดูแลรักษาอาคารเท่านั้น ในบางครั้งหากจำเป็นต้องมีการขยับขยายอาคาร เนื่องจากตัวอาคารคับแคบ ไม่สามารถรองรับผู้ใช้อาคารได้อย่างเพียงพอ ผู้ทำอาชีพฝ่ายอาคารก็จำเป็นต้องรับหน้าที่ส่วนนี้ไปรับผิดชอบ สรรหาผู้รับเหมา วางแผนจัดการอาคาร รวมถึงขอเบิกค่าใช้จ่ายในการต่อเติมอาคารด้วย

          4.อาชีพฝ่ายอาคาร หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำงานด้านเอกสารเลย ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะในบางครั้ง ฝ่ายอาคารก็จำเป็นต้องร่างหนังสือ จัดการงานสารบรรณเกี่ยวกับอาคารที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นด้วยตนเอง เช่น การเขียนเรื่องขอเบิกงบประมาณ การทำเรื่องแจ้งฝ่ายอื่นในหน่วยงานเดียวกันให้ทราบ เป็นต้น ยิ่งบางหน่วยงาน ฝ่ายอาคารแทบจะต้องจัดการเรื่องพัสดุ บันทึกข้อมูลพัสดุด้วยตนเองไปเสียด้วย

          5.อาชีพฝ่ายอาคาร คุณอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบอะไรมาก แค่สมัครก็มีโอกาสได้สูงแล้ว ข้อนี้เป็นความเชื่อที่ผิดอย่างมหันต์ เพราะก่อนที่ใครก็ตามจะเข้ามาทำงานที่แผนกนี้ได้ จะต้องผ่านการทดสอบหลายขั้นตอน ตั้งแต่ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการอาคาร ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้น เมื่อสอบผ่านแล้ว ก็ต้องมีการวัดความรู้ความสามารถด้วยการสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่ง จึงจะเข้าทำงานได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเข้าทำงานอาชีพฝ่ายอาคารไม่ได้ง่ายเลย

          6.เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติในอาคาร ฝ่ายอาคารไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ข้อนี้ถือว่าผิด เพราะอย่างที่บอกไปว่า ฝ่ายอาคารมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการอาคารในทุกด้าน หากว่าคุณปล่อยให้เกิดความเสียหายขึ้นในอาคาร ฝ่ายอาคารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ สืบหาสาเหตุ และหาทางแก้ไข

          7.ฝ่ายอาคาร มีหน้าที่แค่บริหารจัดการอาคารเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อื่น เป็นความเชื่อที่ผิดอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่ามา ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แม้ว่าคำสั่งอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาอาคารน้อยก็ตาม

          8.เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคาร จะต้องตระเวนไปตามจุดต่าง ๆ ของอาคารเสมอ แม้จะเป็นความเชื่อที่ถูกอยู่บ้าง แต่ความจริง ในบางตำแหน่งอาจไม่จำเป็นต้องลาดตระเวนไปจนทั่วอาคารก็ได้ อยู่ประจำเฉพาะจุดสำคัญ อย่างหน้ากล้องวงจรปิด ตามไม้กระดกอัตโนมัติ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

          9.สามารถรับใครก็ได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคาร เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ผิด เนื่องจากอาคาร ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับองค์กร ถ้าองค์กรรับใครก็ได้เข้ามาทำงานโดยที่ไม่เช็คประวัติให้ดีก่อน อาจเผลอไปรับผู้ที่มีคดีความติดตัวเข้ามา เกิดความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม หรืออาคารถูกก่อความเสียหายในภายหลังได้

          10.อาชีพฝ่ายอาคาร เป็นอาชีพที่ทำงานไม่หนัก แค่นั่ง ๆ นอน เฝ้าอาคารไม่ให้เกิดอันตรายก็จบ ขอบอกเลยว่าเป็นความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ เพราะอาชีพนี้ก็เป็นอาชีพที่ต้องการแรงใจ ความเอาใจใส่ และใจรักในงานอย่างแท้จริง จึงจะสามารถควบคุมอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้ง 10 ข้อนี้ ก็คือความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับอาชีพฝ่ายอาคาร ที่ร้านไทยจราจรขอนำมาให้ทุกท่านได้อ่าน โดยร้านไทยจราจรหวังว่าเมื่อทุกท่านอ่านจบแล้ว จะมีทัศนคติที่เปลี่ยนไปต่ออาชีพนี้ และรู้จักอาชีพนี้มากขึ้น

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน