แจกบทความฟรี
6 มาตรฐาน ระยะการวางลูกศรบนถนน
ถนนหนทางต่าง ๆ ถูกปูด้วยวัสดุที่แข็งตัวทำให้พื้นทางเรียบง่ายต่อการขับขี่ยวดยานพาหนะช่วยให้การสัญจรไปมายังที่ต่าง ๆ นั้นมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทำให้ระบบการขนส่งคมนาคมทางบกพัฒนาไปมากขึ้น ผู้คนต่างก็มีรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์เป็นของตนเองเพื่อความสะดวกและความเป็นส่วนตัวในการเดินทาง จำนวนรถยนต์ต่าง ๆ ก็จึงมีมากขึ้นตามไปด้วย
ทำให้การเดินทางเกิดความวุ่นวายและอุบัติเหตุมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเข้ามามีบทบาทในการกำหนดตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่จะเข้ามาควบคุมพฤติกรรมผู้ขับรถ จัดระบบระเบียบเส้นทางการเดินรถ เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางการจราจรและเพื่อสร้างความสงบสุขให้กับบ้านเมือง
หากเราออกเดินทางด้วยการคมนาคมทางบก ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งสาธารณะหรือโดยรถยนต์ส่วนตัว เราต่างก็ต้องใช้ถนนร่วมกัน แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยเห็นเส้นจราจรเส้นประ เส้นจราจรเส้นทึบ ลูกศร ทั้งสีขาวสีเหลือง กันมาจนคุ้นชินตา
พวกมันถูกเรียกรวม ๆ ว่า “เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางและเครื่องหมายนำทาง” สัญลักษณ์เหล่านี้ถูกวาดขึ้นบนถนนเพื่อเป็นการบอกทิศทางการเดินรถและบอกพฤติกรรมการขับรถที่สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ ช่วยให้คนตระหนักถึงอันตรายที่จะตามมาถึงตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่น ซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในข้อกำหนดกฎหมายที่จะช่วยให้การคมนาคมทางบกมีความเรียบร้อย
หนึ่งในสัญลักษณ์ที่อยู่บนพื้นถนนนั่นก็คือเครื่องหมายลูกศร เครื่องหมายลูกศรนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ลูกศรจราจร” ซึ่งมีหลากหลายรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไปตามเขตเส้นทางต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าใครที่ขับรถเป็นแล้ว จะต้องรู้ความหมายและหน้าที่ของมันเป็นอย่างดีแน่นอนก่อนที่จะได้ขับรถออกสู่ถนนจริง แต่ไม่ใช่ว่าคนที่ขับรถเท่านั้นที่ควรรู้จักเจ้าเครื่องหมายลูกศรจราจรนี้ หรือแม้แต่กระทั่งเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางอื่น ๆ
แต่คนทั่วไปก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักให้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะผู้คนหรือหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการคมนาคม ตั้งแต่ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนเส้นทางการจราจร ผู้ที่ติดต่อประสานงาน หรือแม้กระทั่งวิศวกร หรือช่างผู้ที่รับตีเส้นวาดลูกศรบนพื้นถนนด้วย เพราะถ้าหากผู้คนที่กล่าวมานี้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำก็จะทำให้มีผลกระทบต่อตัวผู้ใช้รถใช้ถนนรวมไปจนถึงการมีผลกระทบทางกฎหมายต่าง ๆ ด้วย ร้านไทยจราจรจึงจะขอกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลูกศรจราจรและ 6 มาตรฐานในการวางลูกศรบนถนน ดังต่อไปนี้
ลูกศรจราจร (Arrow Markings) มีลักษณะเป็นลูกศรสีขาวหรือเหลือง แต่โดยส่วนมากจะเป็นสีขาว มีขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามชนิดของถนน หน้าที่ของเครื่องหมายลูกศรจราจรคือการแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ว่า
1.ช่องจราจรที่รถของตนกำลังอยู่ในขณะนี้ มีทิศทางการสัญจรไปในทางใด
2.เมื่อเจอเส้นทางแยก ช่องจราจรที่รถของตนกำลังอยู่ในขณะนี้สามารถสัญจรไปในทิศทางไหนได้บ้าง เช่น ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย ตรงไปหรือเลี้ยวขวา เป็นต้น
3.เมื่ออยู่ในถนนที่มีช่องจราจรหลายช่อง ลูกศรจราจรจะทำหน้าที่บอกให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะรู้ได้ว่าควรจะขับไปอยู่ในช่องจราจรช่องใดจึงจะสามารถขับรถไปสู่ยังจุดหมายได้
ลูกศรจึงเป็นเครื่องหมายเชิงบังคับให้ผู้ขับขี่ยวดยานต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น และลูกศรจึงจำเป็นต้องมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลูกศรตรงไป ลูกศรเลี้ยวซ้าย ลูกศรเลี้ยวขวา ลูกศรตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย ลูกศรตรงไปหรือเลี้ยวขวา ลูกศรย้อนกลับ และลูกศรสองทิศทาง
6 มาตรฐานการวางตำแหน่งเครื่องหมายลูกศรตามระเบียบของกรมทางหลวงที่เราจะมาสรุปให้ได้อ่านกันคร่าว ๆ มีดังนี้
1.ลูกศรใช้กำกับช่องจราจรบริเวณก่อนเข้าทางแยกที่มีหลายช่องจราจร
ซึ่งปกติจะใช้ลูกศร 2 ถึง 3 ตำแหน่งในการกำกับเส้นทางเพื่อให้รถสามารถเตรียมตัวขับไปได้ถูกช่อง
2.ลูกศรควรมีระยะห่างที่พอเหมาะต่อการเตือน
ให้ผู้ใช้รถเตรียมตัวดังนี้คือ ลูกศรแรก ควรอยู่ห่างจากเส้นหยุดหรือแนวของเส้นหรือทางที่ขวางหน้า 15 ถึง 25 เมตร จากนั้นลูกศรที่สอง ควรถูกตีให้ห่างจากลูกศรแรก 25 เมตร และถ้าหากมีลูกศรที่สามก็ควรอยู่ห่างจากลูกศรที่สอง 50 เมตร
3.หากเป็นกรณีบนทางหลวง
ที่มีการบังคับให้ขับขี่ยวดยานพาหนะด้วยความเร็วสูง สามารถเพิ่มระยะห่างระหว่างลูกศรได้อีกร้อยละ 50
4.ห้ามไม่ให้ลูกศร 1 อันบอกทิศทางได้มากเกินสองทิศทาง
เพื่อความชัดเจนและป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ถนนเกิดความสับสน เช่น ถ้าเป็นทางแยกที่สามารถเดินรถไปได้ทั้งตรงไปและเลี้ยวซ้าย ลูกศรที่ใช้บอกทางเดินรถนี้ก็จะเป็นลูกศรบอก 2 ทิศทางที่ชี้ไปทางตรงและทางเลี้ยวซ้าย
5.ลูกศรต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับสัญญาณไฟจราจรด้วย
เช่น หากลูกศรบนถนนกำหนดทิศให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย สัญญาณไฟจราจรก็ต้องถูกเปิดในทิศทางตรงไปและเลี้ยวซ้ายด้วยเช่นกัน
6.เครื่องหมายลูกศรบนผิวทาง
ควรมีขนาดความยาว 5 เมตร เครื่องหมายลูกศรบนทางหลวงทั่วไป ควรมีขนาดความยาว 10 เมตร และสำหรับทางคู่ ควรใช้เครื่องหมายลูกศรยาว 20 เมตร
ในการจะวางลูกศรจราจรบนถนนนั้น ผู้ที่ออกแบบและทำหน้าที่วางควรคำนึงถึงตัวผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยว่าสัญลักษณ์นั้นเป็นการช่วยให้ผู้ขับขี่เข้าใจง่ายขึ้นหรือทำให้ผู้ขับขี่สับสนมากขึ้นกว่าเดิมกันแน่ ระยะในการวางลูกศรและขนาดของลูกศรเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะระยะในการวางลูกศรที่ดีจะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นได้ในชัดเจนและสามารถเตรียมตัวเปลี่ยนช่องจราจรได้ทันหรือชะลอรถได้ทัน ส่วนขนาดของลูกศรนั้นในถนนชนิดเดียวกันก็ควรใช้ลูกศรที่มีขนาดเดียวกันตามมาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสนได้
ร้านไทยจราจรมีเทปติดถนนชนิดลูกศรที่มีสี ขนาดและความหนาตรงตามมาตรฐานที่กรมทางหลวงกำหนด เรามั่นใจในคุณภาพสินค้าและประสบการณ์ในการทำงานที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน หากท่านใดที่สนใจใช้บริการของเราหรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์การจราจร ทางเรายินดีต้อนรับทุกท่านตลอดเวลาที่ www.trafficthai.com
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006