แจกบทความฟรี
8 มาตรฐานการติดตั้งป้ายเซฟตี้ ในโรงงานอุตสาหกรรม
นอกจากเรื่องของการสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคและการคำนึงถึงสภาพสิ่งแวดล้อมจะเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกประเภทแล้ว เรื่องของความใส่ใจและความปลอดภัยของพนักงานในองค์กรก็ถือเป็นหัวใจหลักที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดข้อกำหนดหรือข้อกฎหมายมากมายที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของลูกจ้างหรือพนักงานมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันมีข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมพึงต้องปฏิบัติเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย แต่มาตรฐานที่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากกว่า 80% ให้การยอมรับและปฏิบัติ คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เป็นมาตรฐานที่มีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับวิธีการหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน
ซึ่งทาง ร้านไทยจราจร คิดว่าเรื่องของมาตรฐานการติดตั้งป้ายความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมควรจะให้ความใส่ใจ เพราะป้ายความปลอดภัยเหล่านี้จะสามารถช่วยลดหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้ในเบื้องต้น ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวประกอบไปด้วย
1.เครื่องหมายความปลอดภัย
เป็นเครื่องหมายที่มีไว้สำหรับการสื่อสารหรือสื่อความหมายไปยังผู้รับสาร จะแสดงออกในแบบของรูปภาพ สี หรือข้อความ ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการเตือนหรือป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งประเภทของเครื่องหมายมีการแบ่งออกไปอย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับมาตรฐานหรือข้อกำหนดแต่ละฉบับ แต่หลัก ๆ แล้วจะมีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ต้องใช้เป็นประจำจำนวน 4 ประเภท ได้แก่
– เครื่องหมายห้าม (Prohibition sign)
– เครื่องหมายบังคับ (Mandatory sign)
– เครื่องหมายเตือน (Warning sign)
– เครื่องหมายแสดงภาวะปลอดภัย (No danger sign)
2.สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัด
สีเพื่อความปลอดภัย คือสีที่ถูกกำหนดไว้เพื่อแสดงว่าบริเวณหรือพื้นที่ หรือวัตถุสิ่งของเหล่านั้นห้ามไม่ให้กระทำหรือสามารถกระทำการได้ ซึ่งมีข้อกำหนดไว้ทั้งหมด 4 สี ได้แก่
– สีแดง หมายถึง ป้ายห้ามหรือหยุดกระทำการใด ๆ อย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนอาจเกิดอันตรายได้
– สีเหลือง หมายถึง ป้ายเตือน ให้ผู้รับสารมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
– สีน้ำเงิน หมายถึง ป้ายบังคับ ให้ต้องปฏิบัติตาม เช่น การสวมใส่ชุดหรืออุปกรณ์ก่อนเข้าทำงาน
– สีเขียว หมายถึง ป้ายแสดงสภาวะหรือบริเวณพื้นที่ปลอดภัย
ส่วนเรื่องของสีตัด คือสีที่จำเป็นต้องใช้แสดงร่วมบนป้ายหรือสัญลักษณ์นั้น เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนไม่สับสน โดยกำหนดให้ป้ายสีแดง, น้ำเงิน และเขียว ให้ใช้สีขาวเป็นสีตัด เช่น ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ป้ายระวังอย่าเข้าใกล้ ป้ายทางออกฉุกเฉิน และส่วนป้ายสีเหลืองให้ใช้สีดำเป็นสีตัด เช่น ป้ายเตือนอันตรายจากสารเคมีหรือป้ายเตือนระวังพื้นลื่น เป็นต้น
3.รูปแบบเครื่องหมายความปลอดภัย
เป็นลักษณะของรูปร่างหรือรูปทรงที่ใช้ทำป้ายเพื่อความปลอดภัยต่าง ๆ ตามข้อกำหนดมาตรฐานได้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม และทรงสามเหลี่ยม
– ทรงกลม มีไว้สำหรับใช้ทำป้ายห้ามและป้ายบังคับ สำหรับป้ายห้ามมีข้อกำหนดเป็นป้ายวงกลมพื้นที่สีขาวส่วนเส้นขอบและเส้นคาดตัดขวางป้ายเป็นสีแดง และจะต้องมีพื้นที่สีแดงอย่างน้อยร้อยละ 35 ของพื้นที่เครื่องหมายทั้งหมด สำหรับป้ายบังคับมีข้อกำหนดให้เป็นป้ายวงกลมพื้นสีน้ำเงินอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเครื่องหมาย และมีภาพสัญลักษณ์เป็นสีขาวอยู่ตรงกลางเครื่องหมาย
– ทรงสี่เหลี่ยม มีไว้ใช้สำหรับทำป้ายแสดงสภาวะปลอดภัยหรือป้ายสีเขียว กำหนดให้เป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสีเหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด และแสดงภาพหรือข้อความสีขาว
– ทรงสามเหลี่ยม มีไว้ใช้สำหรับทำป้ายเตือน โดยกำหนดให้เป็นทรงสามเหลี่ยมพื้นสีเหลืองอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด มีขอบและสัญลักษณ์ภาพหรือข้อความเป็นสีดำ
4.ขนาดเครื่องหมายความปลอดภัย
หมายถึง ขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงของเครื่องหมายหรือป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย และหมายรวมถึงรูปภาพ หรือข้อความที่แสดงอยู่บนเครื่องหมายนั้น ๆ ด้วย โดยป้ายนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างความสูงของแผ่นป้ายและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหรือความสูงของสัญลักษณ์ที่ระบุบนป้าย
5.เครื่องหมายเสริม
เป็นเครื่องหมายอีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการช่วยขยายความเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การสื่อสารหรือการทำงานมีความสอดคล้องกันไปในทิศทางเดียวกัน เพราะสัญลักษณ์บางรูปแบบยังไม่อาจสื่อสารหรือทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้อย่างทันที โดยส่วนมากนิยมใช้งานร่วมกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในกรณีที่จำเป็น
6.สี รูปแบบ ขนาดและการจัดวางของเครื่องหมายเสริม
สีของพื้นเครื่องหมายเสริมให้ใช้ลักษณะเดียวกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย แต่จะแตกต่างกันตรงสีของข้อความที่กำหนดให้ใช้สีตัด หรือใช้เป็นสีพื้นสีขาวและสีข้อความเป็นสีดำ
ทั้งนี้ยังกำหนดให้ช่องไฟของตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10 ของข้อความทั้งหมด และตัวอักษรต้องเป็นแบบเรียบง่าย ไม่แรเงาหรือเพิ่มลวดลาย เรื่องของรูปแบบเครื่องหมายกำหนดให้ใช้เป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสำหรับขนาดให้ใช้มาตรฐานเดียวกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย ส่วนการจัดวางเครื่องหมายเสริมสามารถวางไว้ด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย หรือด้านขวาของเครื่องหมายความปลอดภัยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
7.เครื่องหมายร่วม
เครื่องหมายร่วม เป็นเครื่องหมายที่ใช้งานร่วมกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และเครื่องหมายเสริม โดยการแสดงภาพ สัญลักษณ์ หรือลูกศร เพื่อชี้นำทิศทางให้ขยายความได้เพิ่มมากขึ้น เช่น ป้ายทางออกฉุกเฉิน มีเครื่องหมายปลอดภัยเป็นสัญลักษณ์รูปคน ข้อความเขียนว่าทางออกเป็นเครื่องหมายเสริม และเพิ่มสัญลักษณ์ลูกศรกลายเป็นเครื่องหมายร่วม เป็นต้น
8.เครื่องหมายผสม
เครื่องหมายผสม เป็นเครื่องหมายที่แสดงทั้งเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและเครื่องหมายเสริมในแผ่นป้ายสัญลักษณ์เดียวกันมากกว่าหรือเท่ากับ 2 เครื่องหมาย ซึ่งเครื่องหมายประเภทนี้จะมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก ผู้ใช้งานจึงต้องมีความสามารถในการตีความหรือแปลเครื่องหมายให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
เรื่องของมาตรฐานการติดตั้งป้ายเพื่อความปลอดภัยที่เราให้ข้อมูลไปในข้างต้นยังไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ ยังคงมีเรื่องคุณสมบัติต่าง ๆ ของสี รูปแบบ และระยะการมองเห็น ที่ทางผู้ประกอบการควรลองศึกษาหาข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะเรื่องของอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดแต่ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ หากให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่ ด้วยความปรารถนาดีจากร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย ป้ายทางออกฉุกเฉิน และ ไฟฉุกเฉิน
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006