แจกบทความฟรี
9 วิธี ลดความโมโห ในขณะขับรถ (วิธีที่ 7 ต้องอ่าน)
การขับขี่บนท้องถนนทำให้ผู้ขับรถต้องเผชิญกับผู้ขับขี่คนอื่น ๆ ซึ่งหลายครั้งมักมีเหตุให้อารมณ์เสียได้บ่อย ๆ กลายเป็นการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ใช้รถใช้ถนนแต่ละคน หลายครั้งหากผู้ขับขี่ไม่สามารถระงับอารมณ์ได้ก็จะกลายเป็นปัญหาบานปลายที่รุนแรง ก่อความเสียหายให้กับรถของตนเอง และรถของคู่กรณี กลายเป็นปัญหาทางคดีจนถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันเลยทีเดียว ร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำวิธีการระงับอารมณ์โมโหในขณะขับรถมาให้ท่านพิจารณาตามรายละเอียดต่อไปนี้
1.สูดลมหายใจเข้าออกช้า ๆ
การกำหนดลมหายใจเข้าออกนับเป็นวิธีการสร้างสมาธิง่าย ๆ อย่างหนึ่ง ดังนั้นหากรู้สึกว่ากำลังจะโมโหหรือขาดสติ ให้ลองหยุดนิ่ง ๆ แล้วหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ หยุดพักให้ลมหายใจหยุดนิ่งสัก 5 – 10 วินาที ก่อนผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ นาน ๆ ทำซ้ำสัก 5 – 6 ครั้ง รับรองได้เลยว่าอารมณ์ของคุณจะเย็นลง และยังรู้สึกสงบจิตสงบใจได้มากขึ้นอีกด้วย
2.นับเลขในใจ 1 – 10
การนับเลขในใจจะช่วยให้คุณไม่ต้องใช้สมองว่ากล่าวใคร หรือใช้สมองคิดทำร้ายใครได้ การนับเลขเพื่อบรรเทาความโกรธ ไม่ควรนับแบบเร็ว ๆ แต่ควรนับแบบช้า ๆ ทีละตัวเลข วิธีนี้จะช่วยสร้างสมาธิและลดระดับอารมณ์โมโหในใจของคุณให้ลดลงได้ และยังเป็นการย้ำเตือนให้คุณใช้สติให้ดีมากกว่าใช้อารมณ์ ความรู้สึกโมโหก็จะลดน้อยลงได้
3.ตระหนักรู้ในอารมณ์ของตนเอง
ตนเองคือผู้ที่รู้จักอารมณ์ของตนเองดีที่สุด ดังนั้นตัวคุณเองคือผู้ที่รู้ดีว่าร่างกาย สภาวะจิตใจ หรืออากัปกิริยาใด ๆ ที่บ่งบอกว่าตนเองกำลังรู้สึกโมโห อย่างอัตราการเต้นของหัวใจที่รัวและเร็วมากขึ้น ลมหายใจเริ่มรุนแรง หรือแม้แต่เสียงที่กำลังดังขึ้นของตนเอง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอารมณ์ร้ายของตัวคุณเอง และเมื่อรู้ตัวแล้วก็ควรหาทางระงับให้ได้ นับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการระงับความโกรธในขณะขับรถเป็นอย่างมาก
4.รักษาระยะห่างเอาไว้
ในขณะที่กำลังเกิดอารมณ์อยากเอาชนะผู้ร่วมทางคนอื่น ๆ ผู้ขับขี่มักพยายามเข้าใกล้รถของคู่กรณีให้ได้มากที่สุด ซึ่งนับเป็นช่วงอันตรายที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือก่อความเสียหายกับรถของคุณและคู่กรณีได้ ดังนั้น ก่อนที่จะปล่อยให้อารมณ์โมโหเข้าครอบงำ ให้ลองลดคันเร่งลง ทิ้งช่วงห่างออกมาจากรถคู่กรณี อาจปล่อยให้รถคู่กรณีผ่าน สัญญาณไฟจราจร ออกไปก่อน หรือให้รถคันอื่นขับเข้ามาแทรกกลางเพื่อให้มองไม่เห็นกันและลดปัญหาทางอารมณ์ให้ลดน้อยลง
5.หยุดความคิดร้าย ๆ ของตนเองเอาไว้
ในขณะที่กำลังถูกอารมณ์โมโหเข้าครอบงำ ผู้ขับขี่อาจมีความคิดวุ่นวายมากมายผ่านเข้ามาในสมอง ไม่ว่าจะเป็นการขับรถเฉี่ยวชนคู่กรณี การขับรถปาดหน้า รวมถึงการฝ่าฝืนกฎจราจรต่าง ๆ บีบแตรใส่ หรือตะโกนว่ากล่าวรถคู่กรณีด้วยถ้อยคำหยาบคาย ซึ่งผู้ขับขี่ควรเตือนสติตนเองให้หยุดการกระทำร้าย ๆ ดังกล่าวให้ได้ หากยากที่จะทำได้ อาจจอดรถใกล้ ป้อมตำรวจ เพื่อพักสงบสติอารมณ์ให้ใจเย็นขึ้นก็ได้
6.นึกถึงคนที่คุณรัก และรักคุณ
การตัดสินใจทำอะไรด้วยอารมณ์ชั่ววูบเพียงครั้งเดียว อาจก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงที่ไม่ได้กระทบแค่ตัวคุณเพียงลำพังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคนที่คุณรักหลาย ๆ คนได้ ดังนั้นหากคิดจะทำอะไรด้วยอารมณ์แล้ว ก็ขอให้ลองคิดถึงผลกระทบที่ตามมาที่จะมีต่อผู้คนรอบข้างคุณเหล่านี้ให้ดีเสียก่อน
7.ใช้คำว่าให้อภัยมาแก้อารมณ์บ้าง
การนำคำว่า “ให้อภัย” มาใช้บ้างจะช่วยให้คุณสามารถก้าวผ่านอารมณ์โมโหได้ง่ายมากขึ้น การให้อภัยจะทำให้คุณไม่ต้องเผชิญกับเรื่องร้าย ๆ และลดสิ่งที่คุณกำลังคิดร้ายต่อคู่กรณีได้ดี แม้ว่าในช่วงแรกที่อารมณ์กำลังพลุ่งพล่านจะเป็นเรื่องยากมาก จึงอาจต้องอาศัยการทำสมาธิ การนับเลขมาช่วยให้สามารถทำการให้อภัยเพื่อนร่วมทางที่คุณกำลังโมโหอยู่ลงให้ได้
8.ลองทำโยคะมือง่าย ๆ
การฝึกโยคะนอกจากจะเป็นการฝึกร่างกายเพื่อลดน้ำหนักแล้ว ยังเป็นการฝึกลมหายใจให้ร่างกายและจิตใจมีสมาธิได้ดี และแม้แต่การนั่งบนรถก็สามารถทำท่าโยคะอย่างง่ายเพื่อลดอารมณ์โมโหได้ อย่างการทำโยคะที่เรียกว่าโยคะมือ ด้วยการเหยียดกล้ามเนื้อที่ฝ่ามือให้สุด ค้างในท่าเดิม 2 – 3 วินาที ปล่อยมือแล้วงอนิ้วอื่น ๆ เข้ามายังฝ่ามือยันกับกับนิ้วหัวแม่มือที่ยืดออกมายันเอาไว้ ทำค้างเบา ๆ สัก 2 – 3 วินาที สะบัดข้อมือและนิ้วสักครู่
9.ลองหากิจกรรมง่าย ๆ ทำ
การกิจกรรมอื่น ๆ อาจช่วยให้คุณสามารถบรรเทาอารมณ์โกรธได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงเบา ๆ เย็น ๆ ฟัง การหาที่พักจุดจอดรถเพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เข้าห้องน้ำ หาอะไรกินเล่นให้ผ่อนคลายสบายใจ
ปัญหาอารมณ์บนท้องถนนจะลดน้อยลงมาก หากผู้ขับขี่ทุก ๆ คนปฏิบัติตามกฎจราจรและ ป้ายจราจร อย่างเคร่งครัด หยุดทันทีเมื่อเครื่องนับถอยหลังไฟจราจรขึ้นไฟเหลือง หรือนับถอยหลังเกือบจะหมดเวลาเสียแต่เนิ่น ๆ หากปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว ร้านไทยจราจรเชื่อว่าปัญหาจากอารมณ์โมโหที่เกิดขึ้นขณะขับรถจะลดน้อยลงและหายไปได้อย่างแท้จริง
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006