แจกบทความฟรี
10 กฎหมายแรงงานเรื่องความปลอดภัย ที่เจ้าของควรรู้
การจะเปิดบริษัทหรือโรงงานใด ๆ ก็ตามที่มีลูกน้องเข้ามาช่วยทำงานในส่วนต่าง ๆ สิ่งสำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่งที่เจ้าของทุกคนควรต้องรู้พร้อมทำความเข้าใจอย่างละเอียดมากที่สุดคือกฎหมายแรงงาน จะว่าไปกฎหมายแรงงานเองก็มีด้วยกันหลายประเภทแยกย่อยตามความเหมาะสมเพื่อให้พนักงานได้รับสิ่งที่เป็นธรรมมากที่สุด หนึ่งในประเภทของกฎหมายแรงงานซึ่งเจ้าของควรรู้ก็คือความปลอดภัย ร้านไทยจราจร จึงขอแนะนำให้รู้จักกับกฎหมายแรงงานตัวนี้ให้มากขึ้นเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม
1.ความปลอดภัยด้านความร้อน แสงสว่าง และเสียง
เป็นกฎกระทรวงที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2559 ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะชีวอนามัยของพนักงานคือสิ่งสำคัญมาก ๆ ต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา ไม่ว่าจะเรื่องเสียง แสงสว่าง และความร้อน ล้วนมีโอกาสสร้างปัญหาให้กับชีวิตเขาอย่างมาก เป็นเรื่องที่เจ้าของควรต้องรู้
2.ความปลอดภัยด้านสารเคมีอันตราย
เป็นกฎกระทวงที่กำหนดมาตรฐานเอาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งต้องยอมรับว่าเรื่องสารเคมีเป็นส่วนสำคัญในการผลิตสินค้าต่าง ๆ แต่ก็อย่าลืมว่าร่างกายของคนหากสัมผัสกับสารเคมีมาก ๆ โอกาสที่จะเกิดผลกระทบในอนาคตมีสูง อย่างน้อย ๆ หากมี หน้ากากป้องกันฝุ่น N95 ให้กับพนักงานก็ถือเป็นเรื่องดีที่เข้าใจกฎหมายข้อนี้
3.ความปลอดภัยเกี่ยวกับเรื่องของไฟฟ้า
กฎกระทรวงนี้ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2558 เรื่องไฟฟ้าเป็นเรื่องอันตรายที่คร่าชีวิตหรือทำให้เกิดความสูญเสียของพนักงานมาแล้วหลายราย ดังนั้นการรู้กฎหมายแรงงานความปลอดภัยในด้านนี้จะช่วยให้เจ้าของพึงระวังให้มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังเชื่อว่าจะทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน ช่วยสร้างกำลังใจที่ดีในการทำงานสำหรับคนที่ต้องอยู่กับเรื่องไฟฟ้า
4.ความปลอดภัยเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันอัคคีภัย
เป็นกฎกระทรวงที่กำหนดมาตรฐานเอาไว้เมื่อปี 2555 สำหรับความปลอดภัยในเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เจ้าของต้องรู้ไม่อย่างนั้นเวลาเกิดเหตุขึ้นมาอาจส่งผลกระทบได้มากกว่าที่คิดหลายเท่า ทั้งตัวบุคคลและทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างน้อยเมื่อเจ้าของรู้ก็เตรียมพร้อมในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยไว้ล่วงหน้า เช่น มีการติดตั้ง บันไดหนีไฟ หรือมี ป้ายตั้งถังดับเพลิง ติดเอาไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในโรงงาน เป็นต้น
5.เรื่องการอบรม ฝึกซ้อมหนีไฟในเบื้องต้น
เรามักสังเกตว่าหลาย ๆ บริษัทแต่ละปีจะมีการซ้อมหนีไฟกันตลอด ส่วนหนึ่งก็มาจากกฎกระทรวงเรื่องนี้ที่ได้ออกเอาไว้ตอนปี พ.ศ. 2556 ถือเป็นเรื่องดีเพราะเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ เราไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อให้รู้วิธีที่ถูกต้อง หากเกิดขึ้นจริงจะได้รับมือกับสถานการณ์ได้ทัน ซึ่งถือเป็นเรื่องดีและรอบคอบ
6.ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ
กฎกระทรวงได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้เมื่อปี 2552 ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พูดมานี้ล้วนเป็นอุปกรณ์อันตรายในการใช้งานทั้งสิ้น หากมีการผิดพลาดหรือประมาทเลินเล่อขึ้นมา โอกาสเกิดความสูญเสียมีสูงมาก ๆ ดังนั้นการออกกฎหมายเรื่องนี้จึงช่วยให้เจ้าของเองพยายามหาวิธีป้องกันกับคนทำงานในด้านนี้ให้มากที่สุด เช่น ต้องใส่ เข็มขัดพยุงหลัง ทุกครั้ง เป็นต้น
7.ความปลอดภัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
กฎกระทรวงฉบับนี้ออกมา 2 ฉบับ คือ พ.ศ. 2549 กับ พ.ศ. 2553 หลักใหญ่ใจความก็คือสภาพแวดล้อมภายในที่ทำงานจำเป็นต้องอยู่ในสภาพดี มีความพร้อม เป็นมิตรกับพนักงานทุกคนไม่ใช่ว่ามีแต่มลพิษหรือมีแต่ความสกปรก แบบนี้ไม่เหมาะสมกับการเข้าทำงานและอาจทำให้เจ้าของเจอกฎหมายเล่นงานเอาได้ง่าย ๆ เหมือนกันถ้าไม่มีการเอาใจใส่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
8.ตรวจสุขภาพและส่งผลการตรวจของพนักงานแก่ผู้ตรวจ
เป็นกฎหมายด้านความปลอดภัยในตัวบุคคล พ.ศ. 2549 ซึ่งพนักงานทุก ๆ คนควรได้รับสิทธิ์พื้นฐานระหว่างที่กำลังทำงานอยู่ในหน่วยงานแห่งหนึ่ง ตรงนี้เจ้าของจึงต้องให้สิทธิ์พวกเขาในเรื่องของการตรวจสุขภาพ มีการส่งผลตรวจไปยังเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจสำหรับช่วยวิเคราะห์กันต่อไปว่าเป็นอย่างไร พนักงานคนไหนควรต้องรักษาตัวเพื่อจะได้มีสุขภาพดีขึ้น
9.ความปลอดภัยของการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
พื้นที่เหล่านี้ถือเป็นจุดอันตรายมาก ๆ จึงเกิดกฎกระทวงนี้ขึ้นมาเมื่อปี 2547 อย่าลืมว่าหากพนักงานอยู่ในพื้นที่อับอากาศเหล่านี้เป็นเวลานานนอกจากเรื่องของสภาพร่างกายที่แย่แล้ว การทำงานที่ต้องใช้พละกำลังกับพื้นที่อากาศถ่ายเทได้ยากโอกาสเกิดปัญหา เช่น เป็นลม, หมดสติ, สมองขาดออกซิเจน มีสูง ท้ายที่สุดคือเสียชีวิตคงไม่มีใครอยากให้เกิดแน่ ๆ
10.ความปลอดภัยด้านการทำงานเกี่ยวกับรังสีไอออน
กฎหมายฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2547 โดยรังสีไอออนเป็นรังสีอันตรายเมื่อเข้าไปสะสมภายในร่างกายของคนเรามาก ๆ ย่อมส่งผลเสียในอนาคตได้อย่างเฉียบพลัน บางคนเสียชีวิตจากโรคที่มีต้นเหตุจากรังสีตัวนี้ก็มีให้เห็นบ่อย ๆ ดังนั้นการมีกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการสร้างความปลอดภัยที่เจ้าของต้องทำให้กับพนักงาน
กฎหมายแรงงานเรื่องความปลอดภัยที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นกฎหมายสำคัญที่ ร้านไทยจราจร ต้องการให้เจ้าของทุกคนได้รับรู้เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนเอง หากยังมีจุดไหนที่ผิดพลาดหรือไม่ทำตามความเหมาะสมก็รีบดำเนินการแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้ก่อนที่จะเกิดเรื่องไม่ดีจนกลายเป็นปัญหาต่าง ๆ อีกมาก
ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006