แจกบทความฟรี
รวม ป้ายจราจร คล้ายกันที่คนมักเข้าใจผิด เช็กให้ชัวร์ เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด
เคยไหมที่เวลาขับรถแล้วมั่นใจว่าตนเองขับรถถูกกฎจราจรตามที่ ป้ายจราจร กำหนดมา แต่ทำไมยังต้องโดนเจ้าหน้าที่คอยเรียกตรวจอยู่ตลอดเวลา นั่นเพราะ ป้ายเตือน และสัญลักษณ์จราจรบางป้ายมีความคล้ายกัน ถ้าเราไม่สังเกตและพิจารณาให้ดีในขณะที่รถจอดอยู่ก็จะทำให้ทำผิดกฎ ฝ่าฝืนป้ายสัญญาณได้ โดยในวันนี้จะมาแนะนำป้ายและสัญลักษณ์จราจรที่มีความคล้ายกัน จนทำให้หลายคนสับสนและทำผิดกฎจราจรอยู่บ่อยครั้ง
1. ป้ายจำกัดความเร็ว กับ ป้ายให้ใช้ความเร็ว
ลักษณะของ ป้ายจราจร ทั้ง 2 จะเป็นวงกลมเหมือนกัน มีตัวเลขกำกับความเร็วเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงสีขอบ สีพื้นและสีตัวเลข
- ป้ายจำกัดความเร็ว
เป็นรูปวงกลม สีพื้นสีขาว สีขอบสีแดงและสีตัวเลข สีดำ ความหมายคือ ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วไม่เกินกว่าที่กำหนด ตามตัวเลขที่ระบุไว้มีหน่วยเป็น กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น 90 ผู้ขับขี่จะต้องขับขี่รถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง หากเร็วเกินกว่าที่กำหนดจะต้องได้รับโทษปรับ
- ป้ายให้ใช้ความเร็ว
เป็นรูปวงกลม สีพื้นสีน้ำเงิน สีขอบสีขาวและสีตัวเลขสีขาว ความหมายคือ ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ตามตัวเลขที่ระบุไว้มีหน่วยเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น 50 ผู้ขับขี่จะต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง หากต่ำกว่า อาจโดนจับปรับได้
สำหรับป้ายจำกัดความเร็วจะพบเห็นโดยทั่วไป ในขณะที่ป้ายให้ใช้ความเร็วมักจะพบเห็นตามทางด่วนพิเศษ
2. ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน กับ ป้ายทางเดินรถสองทาง
ลักษณะของป้ายจะแตกต่างกันโดยป้ายให้รถสวนทางมาก่อนจะมีลักษณะวงกลม ในขณะที่ป้ายทางเดินรถสองทางจะเป็นสี่เหลี่ยม แต่มีรูปสัญลักษณ์ภายในเหมือนกัน
- ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน
จะเป็นป้ายวงกลม พื้นสีขาว สีขอบสีแดง มีรูปลูกศรชี้ลงสีดำและชี้ขึ้นสีแดง ความหมาย คือ หยุดรถตรงป้าย ให้รถที่กำลังวิ่งสวนทางมาก่อน จึงจะสามารถขับขี่ต่อไปได้
- ป้ายทางเดินรถสองทาง
จะเป็นป้ายสีเหลี่ยม มีพื้นสีเหลือง สีขอบสีดำ มีรูปลูกศรชี้ขึ้นและชี้ลงสีดำ ความหมาย คือ ป้ายเตือน ข้างหน้าเป็นทางรถสองทาง ให้ระวังรถที่สวนมา หรือขับช้าลง
โดยป้ายให้รถสวนทางมาก่อน มักพบเห็นบริเวณซอยแคบ หรือบริเวณทางแยกแคบ ๆ ในส่วนของป้ายทางเดินรถสองทางจะพบเห็นในถนนหลวงทั่วไป ที่มีช่องจราจรเพียง 2 ช่องเท่านั้น
3. ป้ายเดินรถทางเดียว กับ ป้ายให้ตรงไป
ลักษณะของ ป้ายจราจร ทั้ง 2 จะเป็นรูปวงกลม แตกต่างกันตรงสีพื้นและสีสัญลักษณ์
- ป้ายเดินรถทางเดียว
จะมีสีพื้นสีขาว สีขอบสีแดง มีสัญลักษณ์ลูกศรตรงไปสีดำ ความหมาย คือ เป็นทางที่ให้ผู้ขับขี่ขับไปตามทางที่กำหนด โดยจะไม่มีรถสวนทาง ซึ่งอาจจะเป็นทางแคบหรือทาง One Way
- ป้ายให้ตรงไป
จะมีสีพื้นสีน้ำเงิน เส้นของสีขาว สัญลักษณ์ลูกศรตรงไปสีขาว ความหมาย ให้รถขับตรงไปในทิศทางที่กำหนดเพียงอย่างเดียว ห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวาเป็นอันขาด
5. ป้ายจำกัดความสูง กับ ป้ายจำกัดความกว้าง
ป้ายทั้งสองจะมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเหมือนกัน มีสีพื้นสีเหลืองและตัวเลขเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยมขนาดเล็กที่อยู่บน-ล่างตัวเลขกับด้านข้างซ้าย-ขวาของตัวเลข
- ป้ายจำกัดความสูง
โดยจะมี 2 แบบ แบบแรก พื้นสีขาวเส้นขอบสีแดง ตัวเลขสีดำ อีกแบบพื้นสีเหลือง เส้นขอบสีดำ ตัวเลขสีดำและต้องมีสามเหลี่ยมกำกับบน-ล่างของตัวเลขที่ระบุความสูงที่จำกัดด้วย
- ป้ายจำกัดความกว้าง
โดยจะมี 2 แบบเช่นกัน แบบแรก พื้นสีขาวเส้นขอบสีแดง ตัวเลขสีดำ อีกแบบพื้นสีเหลือง เส้นขอบสีดำ ตัวเลขสีดำและต้องมีสามเหลี่ยมกำกับด้านข้างซ้าย-ขวาของตัวเลขที่ระบุความกว้างที่จำกัดด้วย
จะเห็นว่า เครื่องหมายจราจร ทั้งสองป้ายแทบจะไม่มีความแตกต่างอย่างเด่นชัด หากไม่สังเกตสัญลักษณ์สามเหลี่ยมที่กำกับตัวเลขให้ดี อาจทำให้รถประสบอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับเพดานจำกัดความสูงหรือขอบข้างทางเข้าก็เป็นได้
6. ป้ายบอกทางคดเคี้ยวทางซ้าย กับ ป้ายบอกทางคดเคี้ยวทางขวา
สำหรับป้ายทั้ง 2 เป็น ป้ายเตือน ที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าให้ระวังถนนลื่น แท้จริงแล้วให้ระวังทางที่คดเคี้ยวไปมา โดยทั้ง 2 ป้ายจะมีสีพื้นสีเหลือง เส้นขอบสีดำและมีรูปสัญลักษณ์สีดำทั้งคู่ แต่แตกต่างกันตรงการคดเคี้ยวของรูปสัญลักษณ์ โดยคดเคี้ยวซ้ายจะเบี่ยงไปทางซ้ายมากกว่า
ในขณะที่คดเคี้ยวขวาจะเบี่ยงไปทางขวามากกว่า ซึ่งจะพบเห็นได้บ่อยเวลาที่ต้องขับรถออกต่างจังหวัด ที่มีทางโค้ง ทางเลี้ยวจำนวนมาก เช่น ทางขึ้นเขา ลงเขา วิธีลดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง อย่าใช้ความเร็วที่มากเกินไป โดยเฉพาะคนนอกพื้นที่และไม่ชำนาญเส้นทาง เพราะอาจพลาดทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
7. ป้ายเตือนรถกระโดด กับ ป้ายเตือนทางขรุขระ
ทั้ง 2 ป้ายมีสีพื้นสีเหลือง เส้นขอบสีดำเหมือนกัน แตกต่างกันตรงภาพสัญลักษณ์ภายใน โดยป้ายเตือนรถกระโดดจะเป็นรูปเหมือนเนินชะลอความเร็ว คือจะเป็นเนินขึ้นมา 1 เนิน ในส่วนของป้ายระวังทางขรุขระ จะเป็นเนิน 2 เนิน ติดกัน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดและจำสับสน ป้ายเตือนรถกระโดดส่วนใหญ่จะติดตั้งบริเวณคอสะพาน
ในส่วนของป้ายเตือนทางขรุขระอาจติดตั้งบริเวณที่ถนนกำลังซ่อมแซม หรือแจ้งเตือนให้ระวังทางข้างหน้าเป็นทางลูกรัง เป็นต้น วิธีลดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเจอป้ายสัญลักษณ์ใดก็ตามผู้ขับขี่ควรชะลอความเร็วหรือลดความเร็วในการขับขี่ลง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ หากใช้ความเร็วสูง
8. ป้ายสำรวจทาง
สำหรับสายซิ่งที่ชอบขับรถเร็ว เวลาเจอด่านหรือจุดตรวจจับความเร็วมักจะกลัว เพราะตนเองขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อเจอ เครื่องหมายจราจร ดังกล่าว อาจตกใจและเข้าใจผิดได้ เพราะป้ายสำรวจทางจะมีพื้นสีส้ม เส้นขอบสีดำ มีรูปสัญลักษณ์เป็นรูปคนส่องกล้อง ทำให้เหมือนว่ามีเจ้าหน้าที่ใช้กล้องตรวจจับความเร็วอยู่ แต่ไม่ว่าจะมีความหมายอย่างไร ก็ควรลดความเร็วซึ่งเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่สำรวจที่กำลังปฏิบัติงาน
9. ป้ายทางโทเชื่อมทางเอกจากขวา กับ ป้ายทางโทเชื่อมทางเอกจากซ้าย
ลักษณะของป้ายเป็นรูปสีเหลี่ยม พื้นสีเหลือง เส้นของสีดำและมีรูปสัญลักษณ์สีดำ โดยลักษณะของป้ายจะเป็นทางที่เชื่อมเข้ามาหากัน ส่วนใหญ่จะพบเห็นบริเวณทางหลักที่มีทางคู่ขนานวิ่งร่วม โดยมีเกาะกลางกั้นเอาไว้ หลายคนคิดว่าสามารถขับขี่รถเชื่อมต่อระหว่าง 2 ทางได้ แท้จริงแล้ว เชื่อมต่อได้แค่ด้านใดด้านหนึ่ง และควรระวังรถที่เข้ามาจากทางเชื่อมที่เป็นทางโทเสมอ
หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ความปลอดภัย ถังขยะ ป้ายจราจร และอุปกรณ์จราจร เราขอแนะนำ ร้านไทยจราจร trafficthai.com ศูนย์รวมและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ความปลอดภัยและ เครื่องหมายจราจร ทุกชนิดแบบครบวงจร พร้อมทีมงานมืออาชีพ เปิดให้บริการมานานกว่า 40 ปี สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ trafficthai.com
ที่มาข้อมูล
- https://www.viriyah.com/article/detail/93-ดูให้ดี-16-ป้ายจราจรคล้ายกัน-ไม่อยากผิดกฎจราจร-ต้องมองให้ชัวร์
- https://car.kapook.com/view63172.html
- https://www.youtube.com/watch?v=YAPWfmxTi54
- https://trafficthai.com/shop/10-the-bus-stop-on-the-road/