10 อุปกรณ์เซฟตี้ที่ต้องใช้ ป้ายเตือน และอันตรายที่ควรระวังในคลังสินค้า

safety equipment

                  คลังเก็บสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าต้องเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่มีเครื่องจักรทำงาน มีพื้นที่เก็บสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ไปจนถึงอาหาร ยา และวัตถุที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ต้องจัดการระบบควบคุมดูแลด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เตรียมพร้อมด้านอุปกรณ์เซฟตี้และ ป้ายเตือน ถึงอันตรายเพื่อให้ทำงานอย่างถูกวิธี วันนี้เราจะพาไปรู้จัก 10 อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในคลังสินค้าเพื่อความปลอดภัย ดังนี้

no person allowed
1.ป้ายห้ามเข้า

               การทำงานในคลังสินค้ารายล้อมไปด้วยวัตถุอันตรายทำให้ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยง ป้ายห้ามเข้าเป็นระบบความปลอดภัยด้านแรกที่ช่วยป้องกันอันตรายแก่พนักงานไม่ให้เข้าไปในพื้นที่อันตราย จัดเก็บวัตถุที่อาจลุกไหม้ เกิดระเบิด หรือพื้นที่ที่กำลังซ่อมแซม เพื่อบรรเทาและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

เพราะแม้จะเป็นพนักงานในโกดังแห่งเดียวกัน แต่ละแผนกต่างมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง ในพื้นที่อันตรายจึงมีข้อจำกัดห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปเพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในที่ทำงาน เช่น ไฟไหม้ หรือ สารเคมีรั่วไหล สามารถนำป้ายห้ามเข้ามาเตือนพร้อมกับทำรั้วกั้นพื้นที่อันตรายเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้

traffice cone
2.กรวยจราจร

                  เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่มีราคาย่อมเยา ทนทาน และเคลื่อนย้ายง่าย ใช้สีส้มสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ชัดทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ถือเป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ที่ประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ใช้ล้อมรอบอาณาเขตเพื่อกั้นปิดพื้นที่ห้ามเข้าซึ่งอาจมีสารเคมีหกรั่วไหล หรือวัสดุตกหล่นอยู่บนพื้น หรือใช้เตือนให้ระมัดระวังในการขับรถโฟล์คลิฟต์ซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญที่ขาดไม่ได้ มีรถขนของหลายคันวิ่งสวนกันไปมาภายในคลังสินค้า หาไม่จัดการจราจรให้ดีอาจมีปัญหาชนคนและชนสิ่งของก็ได้

สามารถใช้กรวยจราจรกั้นแทนช่องทางการจราจรของรถโฟล์คลิฟท์ ช่วยป้องกันความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกอาคารคลังสินค้า และไม่ควรไปใกล้บริเวณที่รถวิ่งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมี ตาข่ายพลาสติก ที่มีความเหนียว ทนทาน เหมาะสำหรับทำรั้วล้อมป้องกันไม่สินค้าที่ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้น ๆ หล่นจากชั้นวาง

3.ชุดกาวน์หรือยูนิฟอร์ม

                    การทำงานในคลังสินค้าเป็นสายงานเฉพาะที่พนักงานส่วนใหญ่จะมีชุดยูนิฟอร์มหรือชุดช่าง เลือกขนาดสวมใส่พอดีตัว สวมสบายไม่เกะกะและกีดขวางการทำงาน ในคลังสินค้ามีข้อควรระวังหลายอย่าง เจ้าของกิจการควรอบรมพนักงานให้แต่งกายเหมาะสมกับการทำงาน คือ สวมชุดที่รัดกุม ป้องกันไม่ให้ผิวหนังและอวัยวะในร่างกายสัมผัสสิ่งสกปรกหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย เสื้อผ้าไม่หลวมเกินไปจนเกี่ยวเข้ากับเครื่องมือหรือหลุดเข้าไปพันกับเครื่องจักร สวมถุงมือและถุงเท้าที่สวมสบายและทำงานอย่างกระฉับกระเฉง มีอุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นต้องใช้ครบถ้วนเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

life jacket
4.เสื้อชูชีพ

เสื้อชูชีพมีสายรัดอก รัดเอว เสื้อชูชีพไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะการลอยตัวในน้ำเท่านั้น แต่ภายในเสื้อยังมีแผ่นโฟมเป็นฉนวนกันความร้อนและทนต่อแรงกระแทกได้ดี ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถโฟล์คลิฟต์ชนหรือวัตถุตกหล่นใส่ตัว จะช่วยลดแรงกระแทกทำให้บาดเจ็บน้อยลง ชุดยูนิฟอร์มมีความทนทานต่อสะเก็ดไฟป้องกันอุบัติเหตุจากงานเชื่อมและงานช่างอื่น ๆ ได้

พนักงานควรใส่เสื้อแจ็คเก็ตชูชีพตลอดเวลาที่ทำงาน ปรับสายรัดให้กระชับแน่นกันสรีระร่างกายเสมอ สวมแล้วยังคงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ นอกจากสีส้มสะท้อนแสงยังสะดุดตามองเห็นได้จากระยะไกล เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ และป้องกันการถูกรถโฟล์คลิฟต์เฉี่ยวชนได้ด้วย

safety hat
5.อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันศีรษะ

ในคลังสินค้ามีชั้นวางของเรียงกันสูง มีโอกาสที่วัตถุสิ่งของหรือสินค้าจะหล่นจากชั้นวางลงมากระแทกศีรษะของพนักงานที่ทำงานอยู่บนพื้น หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์เซฟตี้สำคัญที่ช่วยลดแรงกระแทกทำให้ได้รับบาดเจ็บน้อยลง การสวมหมวกป้องกันไม่ให้เส้นผมหรือศีรษะเข้าไปติดกับสายพานลำเลียงซึ่งเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บร้ายแรงได้

safety gloves
6.ถุงมือนิรภัย

ทุกครั้งที่ทำงานในโกดังสินค้า พนักงานควรสวมถุงมือให้เหมาะสมกับงานตลอดเวลา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุขณะทำงาน ถุงมือที่ใช้งานส่วนใหญ่เป็นถุงมือผ้าที่ป้องกันการบาดเจ็บระหว่างยกของ ทั้งยังป้องกันสิ่งสกปรก เชื้อโรค หรือสารเคมี นอกจากการป้องกันภัยที่เกิดจากสารเคมีแล้ว ยังต้องเรียนรู้วิธีการจัดเก็บและการจัดการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมหากสารเคมีหกหรือรั่วไหลเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน

7.รองเท้านิรภัย

รองเท้าที่แข็งแรงทนทานเป็นอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อป้องกันวัตถุตกกระแทกให้เท้า ป้องกันการบาดเจ็บจากการเหยียบของมีคม ตะปู ป้องกันการลื่นหกล้มสามารถเดินบนพื้นเปียกได้ และป้องกันเชื้อโรคในบริเวณที่มีน้ำขังหรือต้องสัมผัสกับสารเคมี ในคลังสินค้าอาจเกิดปัญหาเนื่องจากการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ มีอุบัติเหตุจากการวางของมีน้ำหนักมากไว้ข้างบนทำให้หล่นลงมากระแทกศีรษะพนักงาน รวมทั้งฝุ่นบนทางเดินหรือพื้นเปียกน้ำทำให้ลื่น ผู้ประกอบการควรย้ำให้พนักงานเห็นความสำคัญของการใช้อุปกรณ์เซฟตี้เพื่อป้องกันอันตรายตลอดเวลา

ยางกันกระแทก
8.ยางกันกระแทก

เป็นวัสดุที่เป็นกันชนป้องกันบริเวณต่าง ๆ ในคลังสินค้า เช่น ติดบริเวณกำแพงป้องกันไม่ให้รถโฟล์คลิฟต์ถอยชนเข้ากับผนังหรือกำแพงของโกดัง ช่วยลดแรงกระแทกและป้องกันผนังชำรุด นอกจากนี้ยังแผ่นยางกันกระแทกติดกับเข้าขอบของชั้นวางของและบริเวณจุดขนถ่ายสินค้า ช่วยลดอุบัติเหตุและการสูญเสียสินค้า โดยเฉพาะคลังสินค้าที่จัดเก็บสินค้าอันตราย เช่น สารเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้า วัตถุที่เป็นเชื้อไฟ จำเป็นต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นกลายเป็นความสูญเสียมูลค่ามหาศาลได้

smoke detector
9.เครื่องตรวจจับควันไฟ

เป็นอุปกรณ์ป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ที่ตรวจจับได้ตั้งแต่ระยะแรกเพิ่งเริ่มมีควันและส่งสัญญาณเตือนพร้อม ไฟกระพริบ แจ้งเหตุไฟไหม้ รู้ทันก่อนไฟลุกลาม ช่วยให้ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ทันท่วงที ลำเลียงคนออกมาในที่ปลอดภัยอย่างรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้สินค้าและทรัพย์สินอื่น ๆ เกิดความเสียหาย โกดังสินค้าควรติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอุปกรณ์ครบครัน โดยเฉพาะเครื่องตรวจจับควันไฟเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่เหมาะกับโกดังที่จัดเก็บวัตถุอันตรายซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูง

Extinguisher
10.ถังดับเพลิง

สถานที่ทำงานทุกแห่งควรจัดเตรียมถังดับเพลิงไว้ใช้ยามฉุกเฉินตอนเกิดเหตุไฟไหม้ มีถังดับเพลิงหลายประเภทต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของเชื้อเพลิง เช่น เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เชื้อเพลิงของเหลวและแก๊สติดไฟ เพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ในโกดังสินค้ามีวัตถุเก็บไว้มากมาย จำเป็นต้องตรวจสิ่งที่จัดเก็บและจัดเตรียมถังดับเพลิง ต้องจัดอบรมพนักงานอยู่เสมอให้มีความรู้และทักษะเตรียมพร้อมรับมือกับไฟไหม้อย่างถูกวิธี

โกดังสินค้าเป็นสถานที่ที่เก็บสิ่งของจำนวนมากเรียงขึ้นไปบนชั้นวางสูง ๆ มีการขนถ่ายสินค้าตลอดเวลา มีพื้นที่เก็บสารเคมี ของเหลวที่เป็นเชื้อไฟ มีเครื่องจักรขนาดใหญ่และรถโฟล์คลิฟต์ที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ประกอบการควรจัดอบรมให้พนักงานรู้ถึงอันตรายที่ควรระวัง และจัดเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนตัวอย่างครบถ้วน สร้างแนวทางปฏิบัติและเรียนรู้ วิธีลดอุบัติเหตุ ระหว่างการทำงานไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าและเกิดอันตรายต่อพนักงาน สิ่งที่ควรปฏิบัติมีดังนี้

  • อบรมความรู้ด้านมาตรฐานความปลอดภัยและอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล จัดหาอุปกรณ์จำเป็นอย่างเพียงพอและครบถ้วนสำหรับพนักงานทุกคน 
  • ตรวจอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคลที่มีขนาดเหมาะกับตัว มีความแข็งแรงทนทาน ตรวจคุณภาพว่าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากชำรุดควรซ่อมแซมและเปลี่ยนใหม่ทันที
  • ตรวจเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานในโกดังสินค้าทุกวัน ตรวจสอบสภาพว่ามีความปลอดภัย มีวิธีการดูแลและบำรุงรักษาอย่างถูกต้องเพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ประเมินความเสี่ยงสม่ำเสมอทั้งเรื่องน้ำท่วมและไฟไหม้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีความผิดพลาดหรือเกิดเหตุร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าภายในโกดัง
  • การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยต่อพนักงานเพื่อให้ทำงานได้อย่างสบายใจ ไม่ทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย ตรวจความเรียบร้อยและติด ป้ายเตือน ห้ามเข้าใกล้ในจุดที่เสี่ยงอันตราย

               คลังสินค้าแต่ละแห่งต้องมีมาตรฐานด้านการบริการเพื่อให้ความมั่นใจกับลูกค้า ระบบการรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์เซฟตี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันความเสียหายของสินค้าและความปลอดภัยของพนักงาน ช่วยป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ทันเวลา ป้องกันอันตรายจากสารเคมี และอุบัติเหตุอื่น ๆ นอกจากจะเตรียมระบบความปลอดภัยให้พร้อมแล้ว ยังต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงและกล่องปฐมพยาบาลด้วย สนใจปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการความปลอดภัยในคลังสินค้า อุปกรณ์จราจร กรวยจราจร แผงกั้นจราจร อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในคลังสินค้า สอบถามข้อมูลได้ที่ ร้านไทยจราจร https://trafficthai.com/ 

 

ที่มาข้อมูล

  • https://trafficthai.com/
  • https://www.supakornsafety.com/article/3/อุปกรณ์เซฟตี้-ที่ต้องใช้-เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  • https://www.at-once.info/th/warehouse/blog/6-practical-ways-to-work-in-the-warehouse-safely
  • https://www.safetysure.com.au/what-types-of-safety-signs-do-i-need-for-my-warehouse/